7 สัญญาณที่พ่อแม่ต้องรู้ ว่าลูกอาจถูกทำร้ายที่โรงเรียน
เชื่อแน่ว่าข่าวฮอตฮิตช่วงนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องของครู ที่ทำร้ายนักเรียนอย่างแน่นอนค่ะ เพราะนอกจากจะฉีกทุกกฎของความเชื่อที่ว่าครูต้องเป็นผู้คุ้มครอง และดูแลนักเรียนแล้ว ยิ่งเกิดกับนักเรียนชั้นเล็กมากอย่างเด็กอนุบาลอีกด้วย เรียกได้ว่าทำร้ายจิตใจคนเป็นพ่อแม่ได้มากเลยทีเดียว
และจากกระแสนี้เองวันนี้เรามีวิธีสังเกตสัญญาณเกี่ยวกับลูกมาบอกกันค่ะ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ได้ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ที่ลูกไม่อยากไปโรงเรียนนั้นไม่ได้แปลว่าลูกขี้เกียจซะทีเดียว เขาอาจจถูกทำร้ายที่โรงเรียนก็เป็นได้
1. บาดแผลตามร่างกาย
เริ่มจากสิ่งที่ชัดเจนกันก่อนเลย รอยแผลที่เกิดจากการถูกทำร้ายบางครั้งอาจจะเป็นรอยช้ำนิดหน่อย แต่เป็นรอยฟกช้ำที่ดูผิดปรกติ เช่น รอยถูกหยิก หรือหูที่บวมแดง รอบบวมตามแขน ขา หรือแม้แต่รอยบาด อาจจะไม่ใช่บาดแผลใหญ่อะไร จนบางครั้งก็ถูกละเลย เพราะคิดว่าเกิดจากการเล่นกันของเด็ก ๆ หรืออุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละวัน แต่เราขอให้ดูร่วมกับอาการทางกายอื่น ๆ ร่วมด้วยค่ะ เพราะการที่ลูกมีแผลเต็มตัวจากการไปโรงเรียนนั้นไม่ใช่เรื่องปกติแน่ ๆ
หากเป็นกรณีที่เด็กถูกทำร้ายทางเพศ เด็กเล็ก ๆ อาจจะไม่รู้การจะสื่อสารบอกอย่างไร เนื่องจากเขาไม่เข้าใจพฤติกรรมนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจะต้องคอยสอบถามและสังเกตอาการลูก หากลูกบ่นว่าปัสสาวะแล้วเจ็บ ปวด หรือปวดท้องบ่อย ๆ อาจจะต้องพาไปตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
อาจเปลี่ยนจากที่เคยร่าเริง อาจเงียบไป หรือมีพฤติกรรมที่ผิดแปลกจากเดิม ตกใจง่าย มีปัญหาการเข้ากับเพื่อน หรือไม่ยอมไปโรงเรียน เพราะที่โรงเรียนนั้นกลายเป็นที่ ๆ น่ากลัวสำหรับเขาไปเสียแล้ว ในเด็กเล็กที่ไม่กล้าเล่า อาจจะเกิดการเก็บเอาความคับข้องใจนั้นแล้วสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การนอนสะดุ้งจากฝันร้าย หรือกลับไปฉี่รดที่นอนอีกครั้ง
3. ความเงียบไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป
เด็กหลายคนที่ถูกทำร้ายเลือกที่จะเงียบมากกว่าโวยวาย เพราะเด็กกลัวว่าเขาจะถูกทำร้ายมากขึ้น หรือแม้แต่กลัวว่าจะเข้ากับสังคมที่โรงเรียนไม่ได้ การที่ผู้ปกครองไปมีเรื่องกับครูที่โรงเรียนเด็กจะถูกเพื่อนตั้งแง่ทันที เด็กส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะเงียบ เมื่อลูกเกิดเงียบจนผิดปกติ คุยน้อยลงจนน่าแปลกใจ หรือถามคำตอบคำแทนที่จะร่าเริง ให้คิดว่าอาจจะเกิดเรื่องขึ้นได้
4. อารมณ์รุนแรง
การถูกทำร้ายร่างกายนั้นส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก ๆ ค่ะ เรื่องของอารมณ์ก็เช่นกัน ไม่เฉพาะกับเด็ก ๆ ที่ร่าเริงแล้วเปลี่ยนเป็นซึมเศร้าลงเท่านั้น แต่ยังอาจจะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น เหม่อลอย ขี้ลืม สมาธิสั้น โกรธโมโหง่าย ฉุนเฉียวง่าย ที่อาจจะเกิดจากความคับข้องใจที่ต้องการระบาย บางคนแสดงออกด้วยความก้าวร้าว ต่อต้าน
5. เริ่มมีการใช้ความรุนแรง
ปฎิเสธไม่ได้ว่าเด็ก ๆ ยิ่งในช่วงวันอนุบาล และประถมนั้นเป็นวัยแห่งการเลียนแบบและเรียนรู้พฤติกรรม จึงไม่น่าแปลกใจเลยหากลูกจะมองเห็นว่าการใช้ความรุนแรงอย่างการทำรายร่างกายทำให้เกิดผลดีได้ เช่น การที่เห็นเพื่อนโดนครูตีแล้วหยุดดื้อ หรือการที่เพื่อนโดนครูหยิกแล้วหยุดคุยกัน ทำให้เด็กแปรผลของพฤติกรรมทางลบนั้นเป็นเรื่องบวก ทำให้เกิดการเลียนแบบโดยใช้ความรุนแรงนั่นเอง เพราะเขามองว่าความรุนแรงยุติปัญหาได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ๆ
6. ขาดความมั่นใจ
ถ้าอยู่ ๆ ลูกเคยทำอะไรได้ แต่กลับไม่กล้าทำ คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเอะใจสักนิดว่าเกิดอะไรข้นที่โรงเรียนหรือไม่ เช่น ลูกเคยทำการบ้านวิชาหนึ่งได้ตลอด อยู่ๆ คิดผิดคิดถูก ไม่กล้าใส่คำตอบ ไม่กล้าเขียนลงไป อาจจะเป็นเพราะลูกเคยถูกดุ ถูกว่า หรือถูกทำร้ายในห้องเรียนเมื่อทำโจทย์ข้อนั้นผิดหรือเปล่า? อาจจะต้องใช้วิธีให้กำลังใจก่อนจะค่อย ๆ ถามว่าเกิดอะไรขึ้น พร้อมกับให้แนวคิดว่าการทำการบ้านผิด ไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่เป็นการดีเสียอีก ที่จะสะท้อนให้ครูรู้ว่าลูกยังไม่เข้าใจ จะได้เรียนเรื่องนี้เพิ่มเติม
7. การกินและการนอนที่เปลี่ยนไป
เด็กที่ถูกทำร้ายอาจจะส่งผลต่อพฤติกรรมหลายอย่าง บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่าเป็นเพราะนิสัยลูกเปลี่ยนไปตามวัย แต่เรื่องการนอน และการกินนั้นสามารถเห็นได้ชัด เพราะอารมณ์นั้นส่งผลต่อร่างกาย เด็กอาจจะเศร้าจนกินได้ไม่มากเท่าเดิม หรือนอนฝันร้าย นอนสะดุ้ง ฉี่รดที่นอน เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณที่คุณพ่อคุณแม่ต้งเอะใจว่าอาจจะเกิดเรื่องไม่ดีที่โรงเรียนอย่างแน่นอน
เมื่อสังเกตุแล้วรู้สึกว่าลูกอาจจะถูกทำร้ายร่างกายจากที่โรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายจากครู เพื่อน หรือแม้แต่รุ่นพี่ที่โรงเรียน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการสอบถาม เมื่อลูกเริ่มเล่าให้ฟัง ให้เปิดใจ และลองเชื่อสิ่งที่เขาเล่าก่อน ให้เขารู้สึกได้ว่ามีคนที่เชื่อและพร้อมรับฟังเขา จากนั้นให้เก็บรายละเอียดจากสิ่งที่ลูกเล่า ใครเป็นผู้กระทำ กระทำอย่างไร ที่ไหน กี่ครั้งแล้ว หากเด็กกลัว หรือตกใจมากจนไม่สามารถเล่าเหตุการณ์ได้อาจให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้ามาช่วย เช่น จิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา
การตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในวัยเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องเล็ก หลายคนคิดว่าโตขึ้นเด็กคงลืมได้ แต่แท้จริงแล้วความรุนแรงนั้นจะแฝงอยู่จนเมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้น พวกเขาจะเลือกใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหา เพราะเรียนรู้ในวัยเด็กว่า ความรุนแรงนั้นยุติปัญหาได้จริง คุณพ่อคุณแม่คงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นแน่นอน ดังนั้นจึงขอให้สังเกตลูกตามสิ่งที่เรากล่าวไป ไม่ต้องกลัวว่าจะดูเป็นกระต่ายตื่นตูมจนเกินไป เพราะแท้จริงแล้วการป้องกันไว้ก่อนนั้นดีกว่ามาตามแก้เสมอค่ะ
Related Courses
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...
Collaborative classroom design
เรียนรู้ทักษะความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership) หลักการออกแบบกิ ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...