สอนลูกเรื่องสิทธิมนุษยชนง่ายนิดเดียว
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไรกันนะ?
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร หรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าคุณจะมีความเชื่ออะไร หรือใช้ชีวิตแบบไหนก็ตาม สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปได้ แต่บางครั้งสิทธิมนุษยชนอาจถูกจำกัด เช่น ถ้าคุณทำผิดกฎหมาย หรือกระทำการที่อาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ
ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณค่าความเป็นมนุษย์ เช่น ความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ความเคารพ และความเป็นอิสระ นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนนั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่แนวคิดที่เป็นนามธรรมเท่านั้นเพราะสิทธิมนุษยชนคือแนวคิดที่ได้รับการนิยาม และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ปี 2491
นับตั้งแต่มีการกำหนดปฏิญญานี้ขึ้นเมื่อเจ็ดสิบปีที่แล้ว ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้ถูกใช้เป็นรากฐานของกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทุกฉบับ
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
สิทธิมนุษยชนมีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งได้รับการยอมรับโดยประชาคมโลก ดังนี้
มีความเป็นสากล: สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน
พรากไปไม่ได้: สิทธิมนุษยชนไม่สามารถถูกพรากไปจากเราได้
ไม่สามารถแบ่งแยกได้ เพราะสิทธิทุกสิทธิล้วนเกี่ยวข้องกัน: รัฐบาลไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน
ทำไมเราต้องสนใจสิทธิมนุษยชน?
สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมาย แต่สิทธิมนุษยชนคือการตัดสินใจ และสิ่งที่เราประสบพบเจอในแต่ละวัน
สิทธิมนุษยชนไม่ได้เป็นเพียงแค่กฎหมาย แต่สิทธิมนุษยชนคือการตัดสินใจ และสิ่งที่เราประสบพบเจอในแต่ละวันการโพสต์ความไม่พอใจต่างๆลงบนอินเทอร์เน็ตอาจดูไม่มีความหมาย แต่มันคือสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก
โดยส่วนใหญ่แล้วคนจะไม่ให้ความสำคัญเมื่อมีการเคารพสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น เด็กๆ หลายคนไม่ยอมตื่นนอนไปโรงเรียนทั้งๆ ที่พวกเขาได้รับสิทธิในการศึกษา แต่เด็กๆที่ต้องอพยพออกจากประเทศตัวเอง และถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการศึกษาคงมีความสุขที่ได้ไปโรงเรียนทุกวัน
เห็นแล้วใช่ไหมคะ ว่าสิทธิมนุษยชนนั้นมีความสำคัญต่อประเทศ และ โลกใบนี้มากเพียงใด ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำ 3 วิธีง่าย ๆ ที่เราจะทำให้ลูก ๆ ได้เข้าใจ และรับรู้ถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชนกันค่ะ
1. กลับมามองที่ตัวหนู
หากเราอยากที่จะให้เด็ก ๆ เข้าใจในสิทธิต่าง ๆ เราอาจจะไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่องทั้งหมดเพราะอาจจะเข้าใจยากเกินไป แต่เพียงแค่สะท้อนเรื่องราวเหล่านั้นกลับมาที่ตัวของเขาเอง ให้เขาเข้าใจในเสรีภาพ สิทธิในการที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งของตนเอง ว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เขาทำได้หรือไม่ และสิ่งไหนคือสิ่งที่พึงกระทำได้ และเข้าใจขอบเขตของสิทธิมนุษยชนในชีวิตประจำวัน
2. พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือสิ่งที่เกิดไปแล้ว
ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเสรีภาพในเชื้อชาติ การชุมนุมเรียกร้องมากมายของชาว LGBTQ+ หรือการเรียกร้องให้บางประเทศมีเสรีภาพในการแสดงออก มีให้เราพบเจอผ่านอินเทอร์เน็ต และ ข่าวสารที่หลั่งไหลเข้ามามากมาย ลองพูดคุย วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกับเด็ก ๆ หรือลองค้นหาต้นตอของปัญหาต่าง ๆที่เกิดขึ้น ว่าทำไมถึงเกิดเหตุการณ์นี้
3. ให้เกียรติผู้อื่น
รับฟัง และถกเถียงด้วยข้อมูลต่าง ๆ ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน และ ปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเท่าเทียม
หากเป็นไปได้ ลองฝึกให้ลูกของคุณเอาใจเขามาใส่ใจเรา เคารพในจุดยืน หรือความเชื่อ รวมถึงสิ่งที่คน ๆ หนึ่งเลือกที่จะเป็น หรือทำ ซึ่งเป็นสิทธิ์ของพวกเขาเหล่านั้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถอยู่ในสังคมที่หลากหลายได้อย่างมีความสุข และอยู่บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน และ ความเท่าเทียมของมนุษย์
ขอบคุณข้อมูลจาก
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...