วิธีป้องกันโรคยุงลายที่มากับหน้าฝน ให้ลูกน้อยได้ปลอดภัย
ช่วงหน้าฝนแบบนี้นอกจากจะต้องพกร่มเวลาไปไหนมาไหนแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องระวังโรคภัยที่จะมาพร้อมหน้าฝนด้วย อย่างโรคยุงลายที่เรียกได้ว่ามันจะเพิ่มมากขึ้นในช่วงนี้แหละค่ะ และการเพิ่มขึ้นของมันก็เป็นอันตรายกับเด็กๆ ด้วย เพราะเจ้ายุงลายมันยังเป็นพาหะนำโรคนี้นั่นเอง
ทำให้คุณพ่อคุณแม่อย่างเราๆ ก็ต้องคอยเฝ้าระวังกันไป ซึ่งวันนี้ทางผู้เขียนเองจึงอยากที่จะให้วิธีการป้องกันหรือเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่ได้รับทราบกัน เพื่อเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ ในช่วงนี้ ตามไปดูกันเลย
สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ควรทราบเกี่ยวกับไข้เลือดออกนั่นก็คือ อาการของโรคค่ะ ซึ่งอาการต่างๆ ของโรคไข้เลือดออกนี้สามารถแบ่งได้ 3 ระยะด้วยกัน ได้แก่
1. ระยะแรก (ระยะไข้สูง)
ระยะนี้คุณพ่อคุณแม่มักจะไม่ค่อยทราบหรอกค่ะว่าลูกของเราเป็นไข้เลือดออกหรือเปล่า เพราะอาการของเขาจะยังไม่ค่อยชัดเจน เด็กจะมีไข้สูงและเป็นหลายวัน สัก 5 - 6 วันค่ะ จะมีอาการเป็นหวัด ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ซึ่งถ้าเด็กๆ บ้านไหนเป็นช่วงฤดูฝนแบบนี้ เรียกได้ว่าเป็นหลายวัน ก็ควรที่จะนึกถึงโรคไข้เลือดออกไว้เลยค่ะ แล้วก็พาลูกไปหาคุณหมอโดยเร็วไว หลีกเลี่ยงยาลดไข้ประเภทแอสไพรินและไอบูโพรเฟน เพราะมันจะทำให้เด็กๆ ระคายเคืองกระเพาะอาหารและเกิดปัญหาเลือดออกในกระเพาะอาหารได้ หากเป็นรุนแรงก็อาจจะทำให้ถึงขั้นข็อกได้เลยนะคะ
2. ระยะวิกฤติ (ระยะ 3 วันอันตราย)
ระยะนี้เรียกได้ว่าต้องเฝ้าระวังมากๆ เลยนะคะ เพราะเด็กๆ อาจจะมีอาการเสี่ยงต่อการช็อกได้เลย ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นระยะนี้ผู้ป่วยมักมีไข้มาแล้วหลายวันค่ะ อาการของผู้ป่วยจะดูอ่อนเพลียมากขึ้น รวมถึงการปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ผิวหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้าดูแดงๆ ในช่วงนี้ อีกทั้งหากเด็กๆ เป็นในระยะนี้ก็ต้องคอยตรวจชีพจรและความดันโลหิตเป็นช่วงๆ อีกทั้งยังต้องดูปริมาณน้ำและอาหารที่รับประทานเข้าเทียบกับปริมาณปัสสาวะที่ออกมาในแต่ละช่วงวันด้วยค่ะ
แต่เด็กๆ บางรายก็มีอาการท้องอืดมากขึ้น กระสับกระส่าย ปลายมือปลายเท้าเย็น ร่วมกับไข้ที่ลดลงเป็นอุณหภูมิปกติ ซึ่งช่วงนี้ก็อาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดว่าเด็กๆ กำลังจะหายป่วยจากการเป็นไข้เลือดออกแล้ว แต่แท้จริงแล้วเด็กๆ กำลังจะเข้าสู่ระยะช็อกที่มันจะรุนแรงได้นั่นเองค่ะ
3. ระยะฟื้นตัว
เรียกว่าเป็นระยะหลังไข้ลดลงโดยไม่มีอาการช็อก โดยระยะนี้เป็นระยะที่เกล็ดเลือดจะเริ่มกลับสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตเริ่มคงที่ ปัสสาวะเริ่มออกมากขึ้น การไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองเริ่มกลับเข้าสู่ระบบการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้อวัยวะต่างๆ เริ่มกลับมาทำงานเป็นปกตินั่นเองค่ะ จากนั้นอีก 48-72 ชั่วโมงต่อมาจะเรียกได้ว่าเข้าสู่ระยะหายเป็นปกติค่ะ
รู้ระยะที่สำคัญของโรคไข้เลือดออกกันไปแล้ว เรามาดูวิธีป้องกันโรคยุงลายกันค่ะ ถ้าหากไม่อยากให้ลูกต้องเจ็บป่วยก็ต้องปฏิบัติดังนี้
1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ลูกอายุ 9 ปี จนถึง ผู้ใหญ่อายุ 45 ปี
2. คุณพ่อคุณแม่ต้องกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ปิดฝาในภาชนะเก็บน้ำ ใช้ทราบกำจัดลูกน้ำยุงลาย หรือปล่อยปลากินลูกน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่
3. หากป่วยไข้ควรพาเด็กๆ ไปพบแพทย์ และติดตามอาการ และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอเป็นอย่างดี
อาการที่สังเกตได้หากลูกเข้าข่ายเป็นไข้เลือดออก
- ไข้ลดลง หรือไข้สูงเฉียบพลันประมาณ 2-7 วัน
- เบื่ออาหาร
- อ่อนเพลีย อาเจียน
- ปวดท้องมาก
- กระหายน้ำตลอดเวลา
- ตัวเย็น ผิวคล้ำลง หรือตัวลาย
- มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน ถ่ายเป็นสีดำ
- ปัสสาวะน้อยลง ไม่ขับถ่ายนานเกิน 4-6 ชั่วโมง
- ปวดศีรษะ หน้าแดง
- ช็อก กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย หรือร้องกวนมากในเด็กเล็ก
- เพ้อ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง เช่น พูดจาไม่รู้เรื่องราว
Related Courses
สุขภาพเด็กวัยเรียนสำคัญอย่างไร
การเรียนรู้เกี่ยวกับสุขภาพของเด็กในวัยเรียนที่ครูและผู้ปกครองสามารถเรียนรู้ พร้อมนำไปปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับเด็ก ในด้านก ...
ออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพ
การเรียนรู้เรื่องการออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เริ่มต้นออกกำลังอย่างไรให้ถูกต้อง ประเภทการออกกำลังกา ...
เจลล้างมือมีความจำเป็นอย่างไร
การเรียนรู้ 7 ขั้นตอนล้างมือด้วยสบู่เมื่อเด็กๆอยู่ที่บ้าน ความจำเป็นที่ต้องใช้เจลล้างมือ ขั้นตอนการผลิตเจลล้างมือแบบง่ายๆ และประ ...
แนะนำหลักสูตร well being
คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...