อาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนในสถานศึกษา
ปัจจุบันทั่วทุกมุมโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งหมายถึงยุคที่ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001-2100 กล่าวได้ว่าเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีอย่างเป็นพลวัตร ครูผู้สอนจึงมีความจำเป็นจะต้องปรับรูปแบบการสอน และเรียนรู้การนำองค์ความรู้ใหม่ๆ มาถ่ายทอดให้ผู้เรียน ซึ่งวิจารณ์ พานิช (2556) กล่าวว่า ศตวรรษ ที่ 21 นั้น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเกิดการค้นพบองค์ ความรู้ใหม่ตลอดเวลา ส่งผลให้การเรียนการสอนและผู้เรียนในปัจจุบันต้องมีการเปลี่ยนแปลง ไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จำเป็นต้องมีทักษะในการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้น ทักษะในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 หมายถึง ผู้เรียนจะต้องมีทักษะในการเรียนรู้ 3R ซึ่งได้แก่ อ่านออก (Reading), เขียนได้ (Writing) และคิดเลขเป็น (Arithmetic) และ 7C ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ทักษะด้าน ความเข้าใจต่างวัฒนธรรมต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้ (Career & learning skills) ซึ่งทักษะ 3R 7C ดังกล่าวนั้น จะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนรู้ในยุค ศตวรรษที่ 21 จะต้องตระหนัก ใส่ใจ ให้ความสำคัญและผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยืดหยุ่นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง (Trilling & Fadel, 2009) นอกจากนี้ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ (2554) ได้กล่าวว่า ผู้เรียนใน ศตวรรษที่ 21 จะต้องมีคุณสมบัติที่เรียกว่า CCPR model ประกอบไปด้วย 1) การคิด วิเคราะห์ (Critical mind) 2) การคิดสร้างสรรค์ (Creative mind) 3) การมีผลผลิต (Productive mind) และ 4) การมีความรับผิดชอบ (Responsible mind) ซึ่งนักเรียนใน ศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการมีคุณธรรมและจริยธรรม ต่อไป สรุปได้ว่า ทักษะในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21 ประกอบไปด้วย 3R 7C ซึ่งทักษะดังกล่าวนั้น จะส่งผลทำให้นักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีและพร้อมที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องมีการนำสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนการสอนและทิศทางการศึกษาในปัจจุบันโดยสื่อการเรียนรู้นั้นจำเป็นจะต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ สามารถพัฒนาตนเองได้ อย่างต่อเนื่อง โดยครูผู้สอนจะต้องทำหน้าที่จัดกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ให้นักเรียนเพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่ทำให้มีการพัฒนาความ มีสามารถในการคิดวิเคราะห์ และนักเรียนมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้ทุกสถานการณ์
สถานโลกในปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามาส่วนเกี่ยวข้องการส่งเสริมคุณภาพการศึกษาให้มีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าทุกๆ ปี โดยเฉพาะระบบข่าวสารและการสื่อสารต่างๆ โดยมีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางที่ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้สื่อต่างๆได้ด้วยตนเอง และนักเรียนสามารถสื่อสารถึงกันได้ ทั่วโลก และเป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นยุคที่โลกไร้พรมแดน นักเรียนมีอิสระได้อย่างกว้างขวาง ทำให้การสื่อสารไร้ขีดจำกัด ใน เรื่องของระยะเวลาและระยะทาง การเรียนรู้ดิจิทัลเป็น เครื่องมือในการสร้างสรรค์และส่งผ่านองค์ความรู้ ในรูปแบบการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่ผู้วิจัยและครูผู้สอนร่วมกันสร้างองค์ความรู้ให้อยู่ในระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล เมื่อครูผู้สอนจะเป็นผู้เรียนรู้การใช้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลอย่างถ่องแท้แล้วโดยครูผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดการใช้เครื่องมือไปยังผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกันให้ได้รับความรู้ ทักษะและร่วมกันกระบวนการเรียนรู้จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาอย่างเหมาะสม โดยที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ความถนัดและ ความสามารถของตนเอง ผู้วิจัยได้สร้างและพัฒนาระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีปฏิสัมพันธ์ ไม่ว่าจะ เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเอง จึงทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น และครูผู้สอนจะเป็นผู้ที่เป็นผู้ทำการจัดการเรียนการสอนมีลักษณะคล้ายกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีการปฏิสัมพันธ์กันของผู้สอนและผู้เรียน รูปแบบของ ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลจะเป็นการเรียนรู้โดยครูผู้สอนจะให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยนักเรียนเป็นผู้ใช้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล ครูเป็นแค่ผู้แนะนำการใช้ โดยส่งเสริมทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนตลอดระยะเวลาการเรียนรู้เนื้อหาที่มีอยู่ในระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนโดยนำระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล มาเป็นเครื่องมือที่สำคัญมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ถือเป็นการนำความสามารถของเทคโนโลยีและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้า มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนการสอนในปัจจุบันไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนอยู่ ห้องเรียนเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้เรียนสามารถที่จะเรียนที่ไหนและเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ และเป็นนวัตกรรม มาเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้อย่างมีระบบ ผู้สอนและผู้เรียนผ่านมีปฏิสัมพันธ์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงถึงกัน ก่อให้เกิดประโยชน์ ในการเรียนการสอน นอกจากนี้ การเรียนการสอนในระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามเวลาที่สะดวก ไม่ต้องมีใครบังคับ ไม่ว่าผู้เรียนจะเรียนช้าหรือเร็วก็อยู่กับความรู้พื้นฐานและความสามารถของผู้เรียนเอง ผู้เรียนที่เก่งอาจ เลือกบทเรียนที่สูงๆ ขึ้นไป โดยไม่จำเป็นที่จะต้องมาย้อนกลับไปทำเนื้อหากับบทเรียนที่ตัวเองเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องนั้นๆ ก็จะ ได้ทบทวนบทเรียนซ้ำได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง จนสามารถเรียนรู้ได้ทันผู้อื่น อีกทั้งผู้เรียนที่อ่านบทเรียนแล้วเกิดข้อสงสัยสามารถสอบถามหรือทำงาน ตามที่บทเรียนแต่ละหัวข้อกำหนดส่งมาให้ครูผู้สอนได้
จากรายงานการจัดประชุมระดมความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูชำนาญการ คณะครูและคณาจารย์ นักวิชาการและตัวแทนจากสถานศึกษาเขตพัฒนาพิเศษชายแดนใต้เกี่ยวการเรียนรู้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อการพัฒนาทักษะที่จำเป็นใจศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15 อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ผู้วิจัยได้ทำการสรุปประเด็นปัญหาการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนของครูผู้สอน ประเด็นที่สำคัญ พบว่า การเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ มีเนื้อหาในการเรียนการสอนเป็นทฤษฎีและปฏิบัติ นักเรียนไม่ค่อยให้ ความสนใจในบทเรียนโดยวิธีการบรรยายและการทำแบบฝึกหัดด้วยการทำรายงานและทำแบบฝึกในแต่ละบทเรียน ส่งครูผู้สอนด้วยการจดในสมุดส่งครูผู้สอนในแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้ประกอบกับผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถ ในการเรียนรู้แตกต่างกัน ทำให้ครูผู้สอนไม่สามารถที่จะอธิบายให้กับผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ทันกับเวลาในการสอน รวมทั้งผู้เรียน บางคนไม่กล้าที่จะถามผู้สอนในส่วนที่ไม่เข้าใจ ทำให้การเรียนการสอนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เท่าที่ควร ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนที่ได้เรียนผ่านสื่อการเรียนรู้นี้ เพื่อพัฒนา ทักษะความรู้ทักษะการคิดและวิเคราะห์ นอกจากนี้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัล จะทำให้นักเรียนทุกคนยังสามารถเข้าไปเรียนรู้ได้ตลอดเวลา และสามารถใช้ศึกษาเรียนรู้ที่ใดก็ได้ ที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ปัจจุบันด้านการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา มีนโยบายที่จะนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน นักศึกษา เช่น การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สำหรับการฝึกปฏิบัติ การจัดเตรียมสื่อการเรียนในรูปแบบ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสื่อการเรียนการสอนรูปแบบใหม่แทนที่เอกสารหรือหนังสือ ที่ผู้วิจัยใช้ชื่อเรียกว่า ระบบอาณาจักรดิจิล โดยที่นักเรียนสามารถเรียนรู้เข้าถึงระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบการเรียนที่ให้นักเรียนนักศึกษาเข้าถึงเนื้อหารายวิชาได้ ผ่านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ตนั้น ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาระบบการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการสื่อสารแบบดิจิทัล เพราะสามารถบริหารทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน สามารถสร้างสภาพแวดล้อมเสมือนกับ การเรียนปกติได้ เช่นสามารถตรวจสอบการเข้าเรียน การเข้าถึงเนื้อหา การแลกเปลี่ยนความคิด และการประเมินผล
การศึกษาผลของการใช้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อเป็นการให้การใช้ระบบอาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในครั้งนี้เกิดประโยชน์สูงสุด เผยแพร่ให้ได้มากที่สุด มีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาให้ดีขึ้น และสุดท้ายก็เพื่อให้อาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลนี้สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ ทั้งทักษะความรู้ ทักษะในการประกอบอาชีพ และเพิ่มทักษะการเรียนรู้และส่งเสริมการให้นักเรียนมุ่งสู่การเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สำคัญทำระบบการศึกษาของประเทศไทยส่งเสริมให้เยาวชนสามารถมีศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป
Link งานวิจัยฉบับเต็ม so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_research/article/view/235211
Related Courses
การเขียนโปรแกรม ด้วย SCRATCH
Scratch (อ่านว่า: สะ - แครช) เป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับเด็กในวัย 8 ถึง 16 ปี แต่คนทุกเพศทุกวัย ...
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...