Data Analysis Skill คืออะไร? ทำความเข้าใจทักษะแห่งยุคใหม่ฉบับเจาะลึก
หากพูดถึงทักษะอาชีพที่ได้รับความสนใจและมาแรงที่สุดในปัจจุบันนี้ หนึ่งในทักษะที่ไม่พูดถึงคงไม่ได้เลยก็คือ Data Analysis Skill หรือทักษะการเชื่อมโยงข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลที่เข้ามามีความสำคัญและบทบาทอย่างยิ่งในหลากหลายพื้นที่การทำงาน Data Analysis Skill คืออะไร? การทำงานในฐานะ Data Analyst ต้องทำอะไรกันบ้าง? ตาม Starfish Labz มาหาคำตอบกันในบทความนี้เลย
Data Analysis - Data Analysis Skills คืออะไร?
Data Analysis หรือ Data Analysis Skill คือชื่อของทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผู้มีทักษะหรือความเชี่ยวชาญมักใช้เพื่อนำมาหาข้อสรุปและต่อยอดออกมาเป็นผลงานหรือการตัดสินใจต่างๆ
กระบวนการ Data Analysis คือนำข้อมูลที่ได้มาเข้าสู้กระบวนการแสดงค่า หาความหมาย และสรุปผลออกมาเป็นรายงานที่สามารถเป็นประโยชน์ในเชิงธุรกิจ สามารถนำมาใช้เพื่อคาดการณ์อนาคต เพื่อตัดสินใจ เพื่อออกแคมเปญหนึ่งๆ หรือสร้างผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งๆ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมง่ายๆ อย่างการดูว่าควรจะโพสต์คอนเทนต์ Social Media วันไหน การใช้กระบวนการ Data Analysis ก็สามารถช่วยให้เรามองมองเห็นกลยุทธ์ที่ใช่หรือดีทีที่สุดได้เช่นกัน โดยนอกเหนือจากการใช้ศาสตร์ทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว ปัจจุบัน ความรู้ทางด้าน Data Analysis ยังมีการเติบโตและถูกผนวกหรือบูรณาการเข้ากับศาสตร์อื่นๆ โดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี หรือ AI อีกด้วย ซึ่งก็คือกระบวนการในการใช้ AI เข้ามาช่วยประมวลผลหรือสร้างระบบ Algorithm เพื่อจัดเรียงข้อมูลและแสดงผลให้เราสามารถมองเห็นอย่างเป็นระบบและชัดเจน
องค์ประกอบของข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งจนในปัจจุบันมีคำกล่าวที่ว่า ‘ข้อมูลน่ะคือน้ำมันใหม่แห่งยุคนี้เสียแล้ว’ ซึ่งหมายถึงในยุคนี้ซึ่งเป็นยุคที่ข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่สามารถช่วยให้เกิดมูลค่ามหาศาล กลายมาเป็นอาวุธสำคัญที่แต่ละองค์กรหรือบริษัทใช้ในการแข่งขัน ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมในการทำงาน และตำแหน่งที่มีความสำคัญในสานงาน Data Analysis ก็คือ Data Analyst หรือนักวิเคราะห์ข้อมูลนั่นเอง
ประโยชน์ของ Data Analysis
Data Analysis มีประโยชน์ที่แสนหลากหลาย อาทิ
ช่วยทำให้สามารถวางแผนหรือตัดสินใจในด้านต่างๆ ได้อย่างมีกลยุทธ์และประสิทธิภาพ
การทำ Data Analytics ทำให้ทราบข้อมูลเชิงลึกที่ซับซ้อนและได้ผลลัพธ์ของข้อมูลที่สามารถนำมาทำนาย คาดการณ์ และตัดสินใจก่อนลงมือทำได้เป็นอย่างดี อาทิ การนำมาใช้ในแง่ของการทำการตลาดเพื่อการวางแผนและออกแคมเปญ การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย หรือการศึกษาลักษณะการจับจ่ายของผู้บริโภค
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมขององค์กร
กระบวนการ Data Analysis โดยส่วนใหญ่แล้วอาจมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการทำธุรกิจหนึ่งๆ แต่ในตัวกระบวนการแล้ว สามารถช่วยให้องค์กรเป็นระเบียบมากขึ้นอย่างมาก รวมถึงลดกระบวนการทำงานต่างๆ ที่ซับซ้อนและความผิดพลาดในการทำงานด้านต่างๆ เมื่อมีความสามารถในการแปรเปลี่ยนข้อมูลออกมาเป็นการตัดสินใจต่างๆ ที่ดี การทำงานโดยรวมภายในองค์กรก็มีลื่นไหล มีความคล่องตัวและยังสามารถกลับมาเช็กได้อย่างง่ายว่าแผนนี้ เราใช้ข้อมูลหรือลักษณะการตัดสินใจแบบใด ถ้าหากไม่ดี ก็สามารถนำมาเป็น Case Study ในการพัฒนา ต่อยอด เปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต
ช่วยสร้างบริการและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ได้ดีขึ้น
Data Analysis เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการลองนำมาใช้เพื่อสร้างระบบ CRM ที่ดี ข้อมูลในด้านต่างๆ ของลูกค้า อาทิ ข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย และความต้องการของลูกค้าหรือประวัติการใช้บริการต่างๆ สามารถนำมาวิเคราะห์ให้เกิดเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์และตอบโจทย์ลูกค้า
ตัวอย่างการใช้ Data Analysis ในภาคธุรกิจ
ตัวอย่างการใช้งาน Data Analysis ในภาคธุกิจมีมากมาย แต่หนึ่งใน Case Study ที่เรียกได้ว่าอาจช่วยให้เราเห็นภาพได้อย่างชัดเจนที่สุดก็คือการใช้งาน Data Analysis ของ Netflix
บริษัทเพลตฟอร์ม Streaming ด้านภาพยนตร์/ซีรีส์ชื่อดังระดับโลกที่มีการพัฒนาตัวแพลตฟอร์มมาอย่างต่อเนื่องผ่านการใช้ Data Analysis Skill
กระบวนการ Data Analysis ของ Netflix คือการรวบรวมข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้งาน ตั้งแต่อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับชมภาพยนตร์และพฤติกรรมการดูต่างๆ ประเภทภาพยนตร์ที่ชอบจนถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และนำมาวิเคราะห์จนสามารถพัฒนา Algorithm ในการแนะนำภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้อย่างแม่นยำตลอดจนการพัฒนาหน้าตาการใช้งานแพลตฟอร์มให้ตอบโจทย์ เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้งานโดยรวม กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์ม Streaming ด้านภาพยนตร์/ซีรีส์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก
ส่งท้ายเรื่องราวของ Data Analysis กับ Data Analyst ตำแหน่งนี้ เขาต้องทำอะไรกันบ้างนะ?
ขึ้นชื่อว่า Data Analyst แล้วแน่นอนว่าเขาก็คือนักวิเคราะห์ข้อมูล หรือคนที่นำทักษะ Data Analysis มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดเล็กหรือใหญ่ (Big Data) มาให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำข้อมูล (Data) ต่างๆ ผ่านกระบวนการเริ่มต้นอย่าง Data Wrangling, Data Transformation และ Data Cleaning เพื่อให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน จากนั้นจึงนำมาวิเคราะห์และประมวลผลให้กลายเป็น
‘ข้อมูลเชิงลึก’ (Insight) ที่พร้อมต่อการนำมาตัดสินใจหรือตอบคำถามต่างๆ ให้แก่บริษัทหรือองค์กร ซึ่งนอกเหนือจากทักษะทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูลแล้ว Data Analyst ที่ดีโดยส่วนใหญ่จึงควรมีพื้นฐานความรู้หรือความเข้าใจทางด้านธุรกิจด้วย ตลอดจนทักษะอาชีพในด้านอื่นๆ ต่างๆ อาทิ ทักษะการตลาด กล่าวคือนอกเหนือจากทักษะทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ตำแหน่ง Data Analyst ยังถือเป็นอีกหนึ่งที่อาจต้องมีบูรณาการความรู้ในด้านอื่นๆ เข้ามาช่วยด้วยเพื่อให้ผู้วิเคราะห์มองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับการนำไปใช้ในแขนงหรือส่วนหนึ่งๆ ทางธุรกิจได้อย่างจริงๆ เป็นต้น
และนี่ก็คือเรื่องราวฉบับครบ รอบด้านของ Data Analysis ที่วันนี้ Starfish Labz ได้นำมาฝากกัน ถือว่าเป็นสายงานสุดคูลและขุมพลังที่ยิ่งใหญ่ของแต่ละองค์กรหรือบริษัทอย่างแท้จริง เชื่อแล้วว่านี่แหละคือน้ำมันยุคใหม่แห่งศตวรรษ ยิ่งสามารถวิเคราะห์อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ยิ่งสามารถแปรผลต่างๆ ออกมาให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
กลยุทธ์การใช้ Padlet "ขั้นสูง" เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้แบบร่วมมือ Update AI and New Feature (2024)
5 เคล็ดลับ การพัฒนาทักษะเด็กออทิสติก ทั้งทางร่างกายสู่ทางปัญญา
อาณาจักรการเรียนรู้ดิจิทัลของนักเรียนในสถานศึกษา
Related Courses
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...