ไอเดียสำหรับการออกแบบการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 โดย ครูนจรส ศิริขรรแสง รองผู้อำนวยการโรงเรียนพนมทวนชนูปถัมภ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี
เนื้อความ
การจัดการเรียนรู้โดยชุมชนเป็นฐานจะมีความแตกต่างกันในแต่ละชนบท เพราะในแต่ละชนบทจะมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น สภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ อาหาร หรืออาชีพ เป็นต้น ซึ่งคุณครูและผู้ปกครองสามารถพานักเรียนและลูกหลานเรียนรู้เรื่องราวรอบตัวได้แต่การออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีด้วยกันอยู่ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1. สำรวจปัญหา ตั้งเป้าหมาย กำหนดปฏิทินการทำวิจัย/นวัตกรรม
- ปัญหาในชุมชนมีอะไรบ้าง
- จุดดี จุดเด่นในชุมชนคืออะไร
- ตั้งเป้าหมายว่าจะเลือกแก้ไขปัญหาใด
- กำหนดปฏิทินในการทำงาน
2. พัฒนาออกแบบงานวิจัย / นวัตกรรม
- ศึกษาหาความรู้
- ออกแบบข้อคำถาม
- ทำกิจกรรมสัมภาษณ์ Focus Group
3. ลงมือปฏิบัติ ทำวิจัยควบคู่ไปกับการสอน
- ทำควบคู่กับการสอน
- มองปัญหาในชั้นเรียน
- หาเครื่องมือในการแก้ปัญหา
- พัฒนาเครื่องมือในการแก้ปัญหา
- ทดลองใช้นวัตกรรมในชั้นเรียน
4. บันทึกผล ประเมินผล รายงานผลอย่างเป็นระบบ
- รายงานผลออกมาเป็นวิจัย 5 บท
5. เผยแพร่ผลงาน
- นำรายงานไปเผยแพร่
เส้นทางของการประเมินเกณฑ์ ด้าน 3 (คศ.4)
(ด้านที่ 3 ส่วนที่ 1 ครูเชี่ยวชาญ)
1. คุณภาพของผลงานทางวิชาการ (50 คะแนน)
- ความถูกต้องตามหลักวิชาการ (20)
- แสดงให้เห็นถึงการ “คิดค้น และปรับเปลี่ยน” (15)
- ความสมบูรณ์ของเนื้อหาสาระ (10)
- การจัดทำ การพิมพ์ และรูปเล่ม (5)
(ด้านที่ 3 ส่วนที่ 2 ครูเชี่ยวชาญ)
2. ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ (50 คะแนน)
- ประโยชน์ต่อผู้เรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา และชุมชน (25)
- ประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ การพัฒนาและปรับเปลี่ยนนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และเป็นแบบอย่างที่ดี (25)
โมเดล PKS Start UP นวัตกรรมเพื่อสร้างความเป็นนวัตกร
- P : Professional สร้างความเป็นมืออาชีพ
- K : Knowledge พัฒนาองค์ความรู้
- S : Skill เสริมสร้างทักษะ
- S : Strengths จุดแข็ง
- T : Target เป้าหมาย
- A : Aspiration แรงบันดาลใจ
- R : Risk ความท้าทาย
- T : Transformation การเปลี่ยนแปลง
- UP : Upgrade ยกระดับ
กระบวนการ START UP เพื่อสร้างนวัตกรรม
1. สำรวจจุดแข็งของเรา ขององค์กร (S)
- ชุมชน คุณครู นักเรียน มีจุดแข็งอะไร
- สิ่งที่เราทำได้
- ความถนัด ความสามารถ
- พรสวรรค์ (เอกลักษณ์)
- กำลังใจ ทัศนคติ
2. ค้นหา เป้าหมายของเรา ขององค์กร (T)
- ตั้งเป้าหมายการจัดการเรียนการสอน
- องค์กรมีเป้าหมายอะไร
- สิ่งที่อยากให้เห็นคืออะไร
- สิ่งที่อยากพัฒนาคืออะไร
- สิ่งที่อยากแก้ไขคืออะไร
3. ค้นหาแรงบันดาลใจของเรา (A)
- แรงบันดาลใจของครูคืออะไร
- สิ่งที่เคยพบ เคยเจอ และประสบความสำเร็จคืออะไร
- ศึกษาไอเดีย ตัวอย่าง ต้นแบบ
- ออกไปหาชุมชน และนำสิ่งที่ชุมชนมีเข้ามาในโรงเรียน
- การออกแบบชุมชน ลงพื้นที่จะทำให้ครูได้รับแรงบันดาลใจ
4. มองปัญหาเป็นความท้าทาย ( R)
- ปัญหาที่พบ คืออะไร
- จะป้องกัน แก้ไขปัญหานั้นอย่างไร
- บริหารจัดการความเสี่ยง
- น่าสนุด น่าเผชิญ น่าค้นหา น่าเรียนรู้
5. ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง (T)
- ยุคแห่งความสร้างสรรค์
- อย่าไปจมปักกับความเป็นชุมชนแบบเดิม
- สร้าง Storytelling แบบใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย และเพิ่มคุณค่าให้แก่เรื่องราว
6. ยกระดับคุณภาพ ทำอย่างไรให้ ว้าว (UP)
- ทำอย่างไรให้ว้าว
- ทำอย่างไรให้มีความเหมาะสม
- ทำอย่างไรให้มีความเป็นไปได้
- ทำอย่างไรให้มีความเป็นระบบ
- ทำอย่างไรให้มีความน่าเชื่อถือได้
- ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผล
ขั้นตอนของการสร้างนวัตกรรม
- ขั้นศึกษาสภาพ บริบท ปัญหา เป้าหมาย ข้อจำกัด (โดยการสำรวจ/ระดม/ระบุ)
- ขั้นพัฒนา ประดิษฐ์ คิดค้น นวัตกรรม (โดยการสนทนากลุ่ม/ตรวจสอบ/รับรอง)
- ขั้นทดลองใช้ (โดยการบันทึกผลการใช้)
- ขั้นประเมินผลนวัตกรรม (ความเหมาะสม / ความเป็นไปได้ / ความมีประโยชน์)
- เผยแพร่ (เมื่อแน่ใจแล้วว่ามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ คนนำไปใช้ได้)
4 คำถามชวนคิด (ชุมชนเป็นฐาน)
- ของดีในชุมชนของเรา คืออะไร
- ปัญหาในชุมชนของเรา คืออะไร โดยการเชื่อมโยงปัญหากับห้องเรียน และต้องมีวิธีการที่วัดได้
- ชุมชนเราเสียเปรียบเรื่องอะไร
- ชุมชนเราได้เปรียบเรื่องอะไร
4 คำถามที่สะท้อนความเป็น Community Based Learning
- P - Plan คือการวางแผน (ชุมชนของเรามีอะไร)
- D - Do คือ การปฏิบัติตามแผน (วิธีการเรียนรู้ทำอย่างไร)
- C- Check คือ การตรวจสอบ (วัดผลอย่างไร)
- A- Act คือ การรปรับปรุงการดำเนินการ (ได้ประโยชน์อะไร)
วิจัยคืออะไร
การวิจัย (Research) เกิดการรวบคำ 2 คำ คือ คำว่า RE+Search (RE แปลว่าซ้ำ, SEARCH แปลว่า ค้น) Research แปลว่า ค้นคว้าซ้ำแล้วซ้ำอีก
ปี คศ. 1961 ณ สหรัฐอเมริกาที่ประชุม Pan Pacific Science Congress โดยนักจิตวิทยาด้านการวิจัยได้ออกแบบแนวคิดอธิบายคำว่า “Research” โดยแยกเป็นอักษรอธิบายความหมายไว้
- R = การฝึกตนให้มีความรู้ รวมทั้งรวบรวมผู้ที่มีความรู้เพื่อปฏิบัติงานรวมกัน ติดต่อสัมพันธ์และประสานงานกัน
- E = ผู้วิจัยจะต้องมีการศึกษามีความรู้ และสมรรถภาพสูงในการวิจัย
- S = เป็นศาสตร์ที่ต้องมีการพิสูจน์ค้นคว้า เพื่อหาความจริงและผู้วิจัยต้องมีความคิดริเริ่ม กระตือรือร้นที่จะทำวิจัย
- E = รู้จักประเมินผลว่ามีประโยชน์สมควรจะทำต่อไปหรือไม่และต้องรู้จักใช้เครื่องมือต่างๆ ในการวิจัย
- A = มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่แน่นอนและมีทัศนคติที่ดีต่อการติดตามผลการวิจัย
- R = การวิจัยได้มาผลเป็นอย่างไรก็ตาม จะต้องยอมรับผลทางวิจัยนั้นอย่างดุษฎี และเป็นผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีระบบ
- C = ผู้วิจัยต้องมีความอยากรู้อยากเห็นมีความสนใจและชวนขวายในการวิจัยอยู่ตลอดเวลา
- H = เมื่อผลการวิจัยปรากฎออกมาแล้วย่อมทำให้ทราบและเข้าใจในปัญหาเหล่านั้นได้ เหมือนกับการเกิดแสงสว่างขึ้น แต่ถ้ายังไม่เกินแสงสว่างผู้วิจัยต้องดำเนินการต่อไปจนกว่าพบแสงสว่าง ในทางสังคมแสงสว่าง หมายถึงผลการวิจัยก่อให้เกิดสุขแก่สังคม
ประเภทของการวิจัย
- การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)
- การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
- การวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research)
- การวิจัยปฏิบัติการ (Action Research)
- การวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
ประเภทของนวัตกรรม
- นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product innovation) คือ การพัฒนาและนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี หรือวิธีการใช้ก็ดี รวมไปถึงการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
- นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) คือ การประยุกต์ใช้แนวคิด วิธีการ หรือกระบวนการใหม่ๆ ที่ส่งผลให้กระบวนการผลิต และการทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นวัตกรรมกระบวนการ เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือ กรรมวิธีการผลิต การจัดการหน่าย หรือรูปแบบการจัดการองค์การ เช่น เครื่องมือ กรรมวิธีการผลิต การจัดจำหน่าย หรือรูปแบบการจัดการองค์กร โดยมีเป้าหมายนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ให้ไปถึงมือผู้บริโภคหรือผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อองค์กรมากที่สุด
- ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา Educational Innovation
- นวัตกรรมด้านวิธีการสอน
- นวัตกรรมด้านสื่อการสอน
- นวัตกรรมด้านการวัดและประเมินผล
- นวัตกรรมด้านหลักสูตร
- นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา
วิจัย & การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
สรุปว่า การวิจัยกับการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เป็นการดำเนินการวิจัยเพื่อให้ได้วิธีการใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถนำมาใช้จัดการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้นและสามารถเผยแพร่ให้คนอื่นนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
ฝึกสร้าง Concept พัฒนานวัตกรรมการศึกษา
- เลือกว่าจะทำนวัตกรรมด้านใด
- สำรวจปัญหา / ตัวตน / สถานการณ์ / บริบท
- กระบวนการการสร้างนวัตกรรมแนวคิด ทฤษฎี ดำเนินการ
- ผลลัพธ์ที่ต้องการ
- ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นปลายทาง
เล่มวิจัย
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
ภาคผนวก
ตัวอย่างการฝึกเขียนกรอบแนวทางการวิจัย
- วัตถุประสงค์ของการวิจัย
- ตัวแปร ประเด็นที่มุ่งศึกษา
- แหล่งข้อมูล
- เครื่องมือและแนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูล
- แนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล
บทความใกล้เคียง
Goal เทคนิคให้คำปรึกษาวางเป้าหมายเพื่อพัฒนา
กระบวนการสร้างโรงเรียนต้นแบบ (โรงเรียนวัดบางพลัด Model) โดยมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ผ่านการจัดการเรียนรู้ Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process
Starfish Education กับภารกิจที่ไม่ใช่แค่ให้เด็กเข้าถึงการศึกษา แต่ต้องเป็น Meaningful Education
Related Courses
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...