Goal เทคนิคให้คำปรึกษาวางเป้าหมายเพื่อพัฒนา
สำหรับการศึกษา การตั้งเป้าหมาย (GOAL) คือสิ่งที่คณะผู้บริหารและครูในโรงเรียนต้องการไปให้ถึงจุดมุ่งหมายที่ได้วางแผนไว้ โดยเป้าหมายนั้นมาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการที่ปรารถนาพัฒนาผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น แต่ต้องอยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ
บทความนี้ Starfish Labz มีข้อมูลเกี่ยวกับ Goal เทคนิคให้คำปรึกษาวางเป้าหมายเพื่อพัฒนา ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์จากนักพัฒนาการศึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ที่จะมา บอกเล่าเรื่องราวของเทคนิคที่ดี ตรงตามสภาพจริงในเรื่อง การวางเป้าหมายเพื่อให้บรรลุกับ
จุดประสงค์ที่วางไว้มาฝากกันค่ะ
ความสำคัญของการวางเป้าหมายที่ดี
โค้ชสมศรีมองว่าการวางเป้าหมายเป็นพื้นฐานที่สำคัญทุกกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโรงเรียนหรือพัฒนาผู้เรียน โครงการ หรือการจัดการเรียนในห้องเรียน เพราะการวาง เป้าหมายจะทำให้มีทิศทางแนวทางการทำงานที่ชัดเจน แต่การวางเป้าหมายที่ดี อย่างแรก คือ จะต้องเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของผู้ได้เสียในโครงการ
การวางเป้าหมายจะต้องผ่านเครื่องมือที่ช่วยคิดวิเคราะห์ถึงความซับซ้อนของปัญหา จะทำให้เราเห็นถึงโครงสร้างของปัญหาถึงจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด หรือหาแนวทางที่จะนำมาแก้ไข และส่งเสริมสิ่งที่อยากพัฒนา ซึ่งนำไปสู่การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนนั่นเอง นอกจากนี้การตั้ง
เป้าหมายโดยอิงตามบริบทของโรงเรียน ก็ยังทำให้เกิดการพัฒนาที่ตรงจุดตามความต้องการของโรงเรียน โค้ชมองว่า เป้าหมายที่ดีควรเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่โรงเรียนทำได้ด้วย
วิธีส่งเสริมเป้าหมายของโรงเรียนให้สำเร็จ
โค้ชจะช่วยเหลือให้คำแนะนำโรงเรียนเรื่องของการออกแบบการทำกิจกรรม (Act) ว่าทำอะไรบ้าง ช่วยแนะนำส่งเสริมต่อยอดจากฐานที่โรงเรียนมี นอกจากนี้อาจจะต้องหาเครื่องมือมาช่วยแนะนำโรงเรียนเพิ่มเติม รวมไปถึงการแนะนำแนวทางการแก้ไข ร่วมกันหาทางออกก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้โรงเรียนสามารถทำงานได้สำเร็จ
หากเกิดความท้อแท้ในการทำงาน โค้ชจะเป็นผู้คอยให้กำลังใจ ชื่นชมเพื่อเสริมพลังบวก สิ่งเหล่านี้โค้ชมองว่าสำคัญ ไม่แพ้การแนะนำเครื่องมือช่วยทำงานต่าง ๆ ดังนั้น การส่งเสริมโรงเรียนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และบริบทของโรงเรียน ที่สำคัญคือ โค้ชจะต้องปรับตัวเอง ยืดหยุ่นในเรื่องการทำงาน เพื่อให้เข้าทำงานได้ ทุก ๆ สถานการณ์
เมื่อโรงเรียนได้ทำตามเป้าหมาย
การที่โรงเรียนสามารถตั้งเป้าหมายของตนเองได้ชัดเจน โค้ชมองว่ามันเหมือนมองเห็น เส้นชัย หรือความสำเร็จอยู่ตรงหน้าแล้ว ดังนั้นความรู้สึกของโรงเรียนที่จะตามมาก็คือ รู้สึกภูมิใจถ้าหากสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นได้จริงและก็ตามมาด้วยความรู้สึกท้าทายว่าทำอย่างไรดีเพื่อให้ เป้าหมายที่วางไว้ประสบความสำเร็จ
จากบทสัมภาษณ์: นายสมศรี หล้าบุดดา (โค้ชสมศรี) นักพัฒนาการศึกษา
มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
มีเทคนิคในการส่งเสริมให้โรงเรียนวางเป้าหมายตามอัตลักษณ์ของโรงเรียนได้อย่างไร
โค้ชดานำกระบวนการของโครงการคือ Developmental Evaluation (DE) เป็น “การประเมินเชิงพัฒนา” มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการผ่านการตั้งเป้าหมายร่วมของสมาชิกและกำหนดแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้โครงการพัฒนาการศึกษาในแต่ละพื้นที่ประสบความสำเร็จได้ มาใช้ในการวางแผนพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบโดยเริ่มจาก
- กระบวนการ DE ต้นน้ำ ชวนโรงเรียนตั้งเป้าหมายระยะสั้นภาพความสำเร็จที่อยากให้เกิดขึ้นจริงใน 1 ปี ผ่านการตั้งคำถามชวนคิดง่าย ๆ เพื่อช่วยให้โรงเรียนมีเป้าหมายที่ชัดในการพัฒนา โดยกำหนดเป็นเป้าหมายวิสัยทัศน์หลักของโรงเรียน
กระบวนการ DE กลางน้ำ เป็นเครื่องมือติดตามความก้าวหน้าในการตรวจเช็คเป้าหมายของโรงเรียนตนเอง เพื่อช่วยให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
- กระบวนการ DE ปลายน้ำ ทบทวนเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ ว่ากลุ่มใดที่เราควรพัฒนา ยกระดับในปีต่อไป ช่วยให้โรงเรียนเห็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของการดำเนินงาน 1 ปีที่ผ่านมาได้ชัดขึ้น ซึ่งเป็นเรียนรู้ผ่านการปฏิบัตินั่นเอง
สิ่งที่โค้ชดาคอยให้คำแนะนำโรงเรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยส่วนใหญ่จะเป็นการ ใช้คำถามเพื่อเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียน เกิดกระบวนการคิดและนำไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาต่อไป
ผลที่เกิดขึ้นเมื่อครูและโรงเรียนได้ทำตาม
เป้าหมายที่วางไว้ จากการถอดบทเรียนร่วมกับครูในโรงเรียนที่โค้ชดูแล ได้รับผลการสะท้อนการนำกระบวนการ DE ไปใช้ในระดับโรงเรียน คือได้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
ของโรงเรียน ผู้อำนวยการ ครู ผู้เรียน และชุมชน ได้รู้จักบริบทของโรงเรียนตนเองมากขึ้นนำไปสู่ การกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์เพื่อการพัฒนาโรงเรียนที่ตรงกับสภาพจริงมีกรอบการดำเนินงานและการประเมินที่ชัดเจน
เกิดการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ทุกคนได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในหลายมิติ ได้สะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงทำให้มองปัญหาได้กว้างขึ้น ทุกคนมองเห็นภาพความสำเร็จ สภาพปัญหาในทิศทางเดียวกัน และร่วมกันออกแบบวางแผนพัฒนาโรงเรียนอย่างชัดเจน ตลอดจนทราบบทบาทของผู้มีส่วนร่วม และไม่สับสนมีการแบ่งหน้าที่ชัดเจน
จากบทสัมภาษณ์: นางสาวลัดดา กุลพรพิพัฒน์ (โค้ชดา) นักพัฒนาการศึกษา
มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
บทความใกล้เคียง
กิจกรรม Online PLC Leader ครั้งที่ 1 โครงการ สนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
ผู้บริหารจะตั้งคณะกรรมการประเมิน PA ยังไง ลองเช็กลิสต์ 4 ข้อนี้ดู
สร้างเครือข่าย ปรับโฉมโรงเรียน โดยพหุปัญญาเสริมศักยภาพผู้เรียน
Related Courses
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การพัฒนาทักษะการอ่าน
หนังสือเปรียบเสมือนคลัง ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่างๆ มากมาย การพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านจึงมีความสำคัญเป็น ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...