ผู้บริหารจะตั้งคณะกรรมการประเมิน PA ยังไง ลองเช็กลิสต์ 4 ข้อนี้ดู
การตั้งคณะกรรมการประเมินข้อตกลงฯ PA รายปี เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการช่วยกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะเป้าหมายของการตั้งคณะกรรมการ #เน้นที่การประเมินเพื่อพัฒนา ซึ่งต้องการบุคคลที่สามารถช่วยผู้บริหารในการมาเป็นโค้ช มาเป็นร่วมทำ PLC และมาร่วมสร้างกระบวนการพัฒนาร่วมกันได้
มาดูกันว่า 4 Checklist ที่ควรคำนึงถึงเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ และเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ควรจะต้องมีอะไรบ้าง ?
Checklist 1 ผู้บริหารควรคำนึงถึง ‘ความสามารถในการมีส่วนร่วม’ ของผู้ที่จะถูกแต่งตั้ง
- มีส่วนร่วมกับเราอย่างสม่ำเสมอ
- มีความพร้อมที่จะเข้ามาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
- สามารถมาพบปะ พูดคุยกันได้ ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์
- มีการแบ่งปันเวลาให้กันอย่างมีคุณภาพ ปรึกษาหารือกันได้
*ไม่สำคัญว่าจะต้องเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน แต่บุคคลนั้นคือผู้ที่พร้อมจะเข้ามาช่วยกันเหลือซึ่งกันและกันได้เสมอ
เพราะถ้าหากผู้ที่ถูกแต่งตั้งไม่สามารถเข้ามาส่วนร่วม หรือไม่มีเวลาในการที่จะมาดูห้องเรียน หรือไม่เคยเห็นห้องเรียนเลย ก็อาจจะไม่สามารถช่วยผู้บริหารประเมินการพัฒนาของคุณครูได้
Checklist 2 ผู้บริหารควรคำนึงถึง ‘ความสัมพันธ์’ ของผู้ที่จะถูกแต่งตั้งกับโรงเรียน หรือชุมชน
- มีความรู้สึกเป็นเจ้าของ (Sense of belonging) กับโรงเรียนหรือชุมชนของเรา
- มีความรู้สึกว่าตัวเองมีบทบาทสำคัญกับโรงเรียน หรือชุมชน สามารถเป็นที่พึ่งพาของชุมชนได้
- มีความเชื่อใจให้กันและกัน (Trust) ไม่จ้องจับผิด
- มีความเชื่อ มีความศรัทธาในโรงเรียน หรือชุมชน
ความสัมพันธ์ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเป็นความสัมพันธ์เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่กัน แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ผู้ถูกแต่งตั้งจะต้องเข้าใจบริบทของชุมชน เข้าใจบริบทของห้องเรียนที่คุณครูอยากพัฒนา ไม่ใช่ว่าจะเอาใครก็ได้มาประเมินโรงเรียนทั้งที่ไม่ได้มีความเข้าใจบริบทของโรงเรียน อาจทำให้การประเมินนั้นเป็นการ ‘จ้องจับผิด’ แทน มีแต่คำแนะนำให้ทำหลาย ๆ อย่างอย่างไม่ถูกจุด
อีกทั้ง ถ้าการประเมินมาจากฐานคิดของการเข้าใจบริบทชุมชนแล้ว จะทำให้การประเมินนั้นเป็นไปเพื่อพัฒนาชุมชน พัฒนาห้องเรียน พัฒนาเด็ก และเป็นการประเมินอย่างตรงจุด
Checklist 3 ผู้บริหารคำนึกถึง ‘วิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจ’ ต่อโรงเรียนและชุมชนของผู้จะถูกแต่งตั้ง
- มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจ
- มีความเข้าใจในบริบท และปัญหาของโรงเรียน
จะต่อเนื่องกับข้อที่ 2 หากผู้ถูกแต่งตั้งไม่เข้าใจ หรือไม่เคยมีส่วนร่วมในการออกแบบ และรับฟังว่าโรงเรียนมีวิสัยทัศน์ และเป้าหมายอย่างไร ผู้นั้นก็อาจจะมีแว่นตาในการประเมินที่หลุดกรอบจากเป้าหมายของโรงเรียน
เพราะฉะนั้นผู้ถูกแต่งตั้ง ควรมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของโรงเรียน อาจจะไม่ต้องรู้ในรายละเอียดมาก แต่รู้ว่าโรงเรียนมีเป้าหมายในการพัฒนาไปในทิศทางไหน ประเด็นท้าทายของคุณครูต้องการจะแก้ไขเรื่องอะไร แล้วมันตรงกับทิศทางในการพัฒนาโรงเรียนหรือเปล่า เป็นต้น
Checklist 4 ผู้บริหารควรคำนึงถึง ‘บทบาทหน้าที่’ ของผู้ที่จะถูกแต่งตั้ง
- บุคคลที่จะถูกแต่งตั้ง ได้ทำบางอย่างหรือมีบทบาทบางในชุมชน หรือโรงเรียนของเราอย่างชัดเจน เช่น มีการร่วมกันทำงาน เพื่อเป้าหมายเดียวกัน หรือมีความเข้าใจเรื่องการประเมินนี้เป็นไปเพื่อการพัฒนาห้องเรียน
บทบาทหน้าที่ในที่นี้ อาจจะเป็นได้ทั้งบทบาทก่อนที่จะถูกแต่งตั้ง และหลังจากการแต่งตั้งแล้ว เพราะการที่ผู้บริหารสังเกตว่า ผู้ถูกแต่งตั้งมีบทบาทหน้าที่อะไรในชุมชนที่ชัดเจน เช่น เคยช่วยเหลือชุมชนในด้านใดบ้าง เคยทำโครงการพัฒนาด้านการศึกษามาก่อนหรือเปล่า ก็อาจจะเป็นตัวชี้วัดนึงได้ว่า เขามีประสบการณ์ และมีทักษะเพียงพอในการมาช่วยทำหน้าที่เป็น ‘ทีม’ ทำงานของโรงเรียน
ส่วนการให้บทบาทหลังการแต่งตั้ง เช่น การสละเวลามาร่วมกันเป็นโค้ชของโรงเรียน หรือการมอบหมายหน้าที่ให้เป็นเพื่อน Buddy กับครู จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณครูและผู้ที่ถูกแต่งตั้งให้มาประเมิน เมื่อมีปัญหาก็จะสามารถช่วยกันแก้ไขได้ทันท่วงที
อ้างอิงจาก
West, R. E. & Williams, G. (2018). I don’t think that word means what you think it means: A proposed framework for defining learning communities. Educational Technology Research and Development
บทความใกล้เคียง
เพราะ วPA ไม่ใช่ตัวร้าย ถ้าครูทำแบบเข้าใจ
แชร์ TIP เขียน วPA จากโรงเรียนนำร่อง
4 เรื่อง ที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ วPA
Related Courses
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)