กระบวนการสร้างโรงเรียนต้นแบบ (โรงเรียนวัดบางพลัด Model) โดยมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ผ่านการจัดการเรียนรู้ Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process
เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โรงเรียนวัดบางพลัด (ป.สุวณฺโณ) นำโดยผู้อำนวยการ นางสาวณัฐชาฎา สุทธิสอาด ได้จัดงานเปิดบ้านวิชาการ เยี่ยมชมการจัดการเรียนรู้ Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process ให้แก่โรงเรียนเครือข่ายจำนวน 10 โรงเรียน แต่กว่าจะมาถึงการเปิดบ้านวิชาการในวันนี้ Starfish Labz ของพาผู้อ่านย้อนทวนที่มาที่ไปก่อนว่า โรงเรียนวัดบางพลัดกลายเป็นโรงเรียนต้นแบบได้อย่างไร เพื่อเป็นไอเดียให้กับโรงเรียนอื่นๆ ที่เริ่มต้นสนใจอยากจะกลายมาเป็นโรงเรียนต้นแบบที่ใช้ Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process ไปพัฒนาผู้เรียนด้วยเช่นกัน
- เริ่มต้นจากความตระหนักและต้องการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอนของผู้อำนวยการโรงเรียน
ในการณ์นี้ ผู้อำนวยการณัฐชาฎาได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญว่าการศึกษาจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เด็กๆ ควรได้รับการพัฒนาทักษะ ได้ฝึกประสบการณ์ให้ได้ลงมือทำจริง เพื่อการอยู่รอดของตนเองในอนาคต
- หาเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยและออกแบบแนวทางร่วมกัน
หลังจากตระหนักได้แล้ว ผู้อำนวยการจึงได้ลงมือทำ โดยได้เชิญคุณโยโกะ เตรูย่า รองประธานมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง ที่ปรึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม และผู้อำนวยการโรงเรียนในเครือข่ายสังกัดเขตบางพลัดมาร่วมพูดคุยถึง concept การจัดการเรียนรู้ Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพผลลัพธ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนร่วมกัน
- ประสานงานกับมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม เพื่อมาจัด Makerspace Day เป็นแนวทางให้คุณครูในโรงเรียนและโรงเรียนเครือข่ายได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางพลัดได้ประสานขอความอนุเคราะห์คณะโค้ชจากมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม เพื่อมาสาธิตการจัดการเรียนการสอน Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process และได้เชิญคุณครูในเครือข่ายจำนวน 10 โรงเรียน โดยมีครูระดับชั้นป.1 และป.4 มาร่วมสังเกตการณ์ จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญสำหรับการขยายผล เพราะการที่โรงเรียนต้นแบบได้เชิญโรงเรียนในเครือข่ายมาสังเกตการณ์ จะช่วยทำให้โรงเรียนที่จะนำองค์ความรู้ไปใช้ต่อนั้นได้เห็นภาพการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น เห็นพฤติกรรมของนักเรียนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากการเรียนในห้องเรียนธรรมดา
สามารถรับชมคลิปวิดีโอเพิ่มเติมงาน Makerspace Day : bit.ly/3FfjtYH
- ประสานกับมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม เพื่อมาจัดอบรมให้กับคุณครูในโรงเรียนอีกครั้ง
หลังจากที่เห็นตัวอย่างการออกแบบกระบวนการแล้ว ผู้อำนวยการมองเห็นว่าการพัฒนาคุณครูจะต้องพัฒนาเชิงลึกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้ประสานกับโค้ชมูลนิธิฯ เพื่อมาอบรมองค์ความรู้ และเสริมเครื่องมืออื่นๆ ที่จะช่วยให้ครูได้พัฒนาห้องเรียนมากยิ่งขึ้น
- พาดูงานจริงที่โรงเรียนบ้านปลาดาว
ผู้อำนวยการได้ใช้งบประมาณและกำลังของตนเอง เพื่อจะได้พาคุณครูเดินทางไปโรงเรียนบ้านปลาดาว อ.แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อที่จะได้เห็นกระบวนการการจัด Makerspace ด้วยกระบวนการ STEAM Design Process จากโรงเรียนบ้านปลาดาวที่เป็นต้นฉบับ และได้มีการสะท้อนผลการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
- หลังจากดูงานเสร็จแล้ว โรงเรียนจะต้องกลับมาทำตามบริบทที่เหมาะสมกับตัวเอง
โรงเรียนวัดบางพลัดได้จัดทีมระบบทีมโค้ชภายในโรงเรียน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน Makerspace โดย 1) กำหนดให้ 1 สายชั้นมีโค้ชจำนวน 3 คน ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นบัดดี้ (เพื่อนคู่คิด) ซึ่งกันและกัน และมีผู้อำนวยเข้าไปร่วมเป็นโค้ชด้วย 2) กำหนดวัน เพื่อใช้กระบวนการ PLC ในการพัฒนากิจกรรม Makerspace ตัวอย่างเช่นโรงเรียนวัดบางพลัด ผอ.กำหนดวันเพื่อรับการโค้ชชิ่งวันละ 2 สายชั้น จับเป็นคู่ เช่น อนุบาล 1 + อนุบาล 2 วันศุกร์ / วันจันทร์ ป.1+ป.2 เป็นต้น เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และให้เพื่อนบัดดี้ได้ฟีดแบ็กซึ่งกันและกัน
- หลังจากนั้น โรงเรียนวัดบางพลัดจึงจัดงานเปิดบ้านวิชาการในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลการจัดการเรียนสอน Makerspace และให้แนวทางการการจัดการเรียนรู้ให้แก่โรงเรียนเครือข่ายได้ลองนำไปใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของตัวเองสิ่งหนึ่งที่ท่านผู้อำนวยการ ณัฐชาฎาได้กล่าวกับโรงเรียนเครือข่ายทุกโรงเรียนว่า “การลงมือทำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถึงแม้กระบวนการที่เราเริ่มทำ เราอาจจะยังไม่แม่น และไม่ชำนาญมากนัก ก็ไม่เป็นไร ทุกโรงเรียนสามารถเรียนรู้และไปนำปรับใช้ตามบริบทของตัวเองได้ ผ่านการใช้กระบวนการพัฒนาวิชาชีพครู หรือ PLC เพราะสุดท้ายผลลัพธ์ใหม่ที่ดีขึ้นจะเกิดแก่ผู้เรียน”
องค์ความรู้ทิ้งทาย
กระบวนการ STEAM Design Process ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ เริ่มต้นกระบวนการขั้นที่ 1 ถาม (Ask) เป็นการฝึกฝนให้นักเรียนตั้งคำถาม กระตุ้นความคิด เพื่อเป็นทบทวนความรู้ประสบการณ์เดิมของนักเรียนต่อมาขั้นที่ 2 จินตนาการ (Imagine) เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ระดมความคิดหาไอเดียในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลายอย่างสร้างสรรค์ ขั้นที่ 3 วางแผน (Plan) ฝึกให้นักเรียนคิดกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน หลังจากนั้นมาถึงขึ้นที่ 4 สร้างสรรค์ (Create) ปล่อยให้นักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงานตามขั้นตอนแผนที่ได้วางไว้ และสุดท้ายขั้นที่ 5 คิดสะท้อนและออกแบบใหม่ (Reflect & Redesign) หลังจากที่นักเรียนได้ลงมือทำแล้ว คุณครูฝึกให้นักเรียนได้มีการสะท้อนคิดในการสร้างสรรค์ผลงานพร้อมทั้งสรุปองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ร่วมกันของครูและนักเรียน
บทความใกล้เคียง
แชร์ไอเดียการสอนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ง่ายๆ สไตล์โรงเรียนบ้านปลาดาว
Starfish Education กับภารกิจที่ไม่ใช่แค่ให้เด็กเข้าถึงการศึกษา แต่ต้องเป็น Meaningful Education
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
Related Courses
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอการเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญ การปฐมพยา ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว ต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่อนาคต
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
Google Sites ช่วยทำเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องรู้วิธีเขียนโค้ด และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์โดยไม่ต้องมีความรู้มากในด้าน ...
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
ต้องใช้ 100 เหรียญ