6 ขั้นตอนการฝึกเป็นผู้บริหารที่ได้ใจครู (ที่ไม่ใช่แค่หัวหน้า)
ผู้นำ คือ คนสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย และในขณะเดียวกันก็ต้องสนับสนุนผู้อื่นไปด้วย เพราะฉะนั้นผู้นำจึงมีความแตกต่างจากการเป็นหัวหน้า ซึ่งถ้าผู้บริหารสถานศึกษาท่านใดที่ต้องการจะเป็นผู้นำที่ได้ใจครู ไม่ใช่แค่การเป็นหัวหน้าที่ใช้วิธีการสั่งการเท่านั้น ขอให้ลองฝึกฝนตาม 6 ขั้นตอนต่อไปนี้
1.ฝึกฝนวิธีการสื่อสาร หัวหน้า มักจะเป็นผู้สื่อสารทางเดียวพวกเขามักจะออกคำสั่ง หรือบอกให้คุณครูทำตามสิ่งที่ตนเองต้องการ แต่เมื่อเกิดปัญหาที่ขัดใจ หัวหน้ามักจะไม่เข้าใจและมักจะไม่อยากรับฟัง และจะแสดงอารมณ์โกรธ หรือไม่พอใจขึ้นมา แต่ในขณะเดียวกัน ผู้นำจะให้ความสำคัญกับบทสนทนา มักจะรับฟังและเก็บข้อมูลจากคุณครู เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาในทันที ดังนั้น คุณครูจะรู้สึกได้รับการสนับสนุนจากผู้นำ ถึงแม้จะอยู่ในภาวะกดดัน ผู้นำก็จะสามารถจัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ และมุ่งไปสู่ทางออกได้ในที่สุด
2.ฝึกฝนวิธีการตอบสนองต่อความผิดพลาด ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ และเกิดขึ้นได้เสมอ แต่หัวหน้ามักจะตอบสนองต่อความผิดพลาดเหมือนกับว่าความผิดพลาดไม่เคยเกิดขึ้นเลย หัวหน้ามักจะอารมณ์เสียและทำให้คุณครูรู้สึกแย่ต่อการทำงานของตนเอง แต่ในขณะเดียวกัน ผู้นำจะความเข้าใจความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และมองว่าความผิดพลาดเป็นบทเรียนที่จะช่วยให้เราเติบโตขึ้น ผู้นำจะตอบสนองต่อความผิดพลาดอย่างเข้าใจ และทำให้คุณครูรู้สึกสบายใจที่จะพูดถึงความผิดพลาด เพราะไม่กลัวที่ถูกตำหนิ อีกทั้ง ผู้นำจะก้าวเข้ามารับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และขอความช่วยเหลือจากคุณครู เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น
3.ฝึกฝนวิธีการมอบหมายงานให้คนอื่น หัวหน้ามักจะปกป้องอำนาจของตนเอง โดยพยายามตัดสินใจให้มากที่สุด แต่เมื่อจำเป็นต้องมอบหมายงาน เขาจะใช้วิธีการสั่งการ และไม่แสดงการขอบคุณ อีกทั้งยังไม่สนับสนุนการทำงานของคุณครู และยังมีวิธีการสั่งการแบบไมโคร คือ มีการติดตามงานอย่างเจ้ากี้เจ้าการ ไม่ได้แสดงความเชื่อใจเมื่อได้มอบหมายงานไปแล้ว แต่ในขณะเดียวกัน ผู้นำจะสนใจว่าพนักงานสามารถรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้หรือไม่ เนื่องจากผู้นำจะใส่ใจเรื่องความเชี่ยวชาญและจุดแข็งของทีมเป็นหลัก นอกจากนี้ ผู้นำจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณครูและปล่อยให้คุณครูได้กำหนดเวลาในการทำงานให้สำเร็จ โดยที่ตนเองจะไม่เข้าไปบงการการจัดการของคุณครู และเตรียมตัวเองให้พร้อมที่จะช่วยเหลือคุณครูในโครงการต่างๆ
4.ฝึกฝนพัฒนามุมมองตนเองต่อทีม หัวหน้ามักจะมองตัวเองว่าเป็นบุคคลพิเศษขององค์กร พวกเขาจะบริหารด้วยการใช้อำนาจ และมองว่าปัญหาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยภายนอก โดยที่ไม่มองกลับเขามาด้านในตนเอง แต่ในขณะเดียวกัน ผู้นำมองตนเองเท่ากับทีม มองเรื่องงานเป็นเรื่องของการพัฒนาศักยภาพของทีม และมีความเคารพกติกาขององค์กร นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนเมื่อพวกเขาเผชิญกับปัญหา พวกเขาจะกลับเข้าไปมองที่ตนเองก่อนที่จะโทษปัจจัยภายนอก
5.ฝึกฝนสร้างความสัมพันธ์กับคุณครู หัวหน้าบางคนไม่คิดจะสร้างความสัมพันธ์กับคุณครูเลย หรือหากต้องการสร้างความสัมพันธ์ ก็เพื่อต้องการการตอบสนองจากพนักงานเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน ผู้นำจะมองว่าการสร้างความสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของทุกคน ผู้นำเชื่อว่าการจะได้รับการเคารพจากคุณครู เขาจะต้องให้ความเคารพคุณครูก่อน ผู้นำสนใจว่าคุณครูแต่ละท่านมีแรงบันดาลใจอะไร มีความสนใจเรื่องอะไร เพื่อที่จะสนับสนุนการเติบโตของเขา
6.ฝึกฝนการให้ฟีดแบ็กซึ่งกันและกัน หัวหน้ามักจะเป็นผู้พูด และไม่ยอมรับฟังฟีดแบ็กจากเพื่อนร่วมงาน แต่ผู้นำมักจะชื่นชอบการให้ฟีดแบ็กและรับฟีดแบ็กจากเพื่อนร่วมงาน เพราะเชื่อว่าฟีดแบ็กจะช่วยให้องค์กรเติบโตได้ โดยการสร้างบรรยากาศเชิงบวกที่ให้คุณครูกล้าแสดงความคิดเห็น แทนการกลัวที่จะพูด นอกจากนี้ ผู้นำยังชอบเก็บฟีดแบ็กของคุณครูเพื่อให้นำมาปรับปรุงทั้งตัวพนักงานและตัวองค์กรเองด้วย
หวังว่าทั้ง 6 ขั้นตอนจะช่วยให้การเป็นผู้บริหารโรงเรียนเห็นความแตกต่างระหว่าง “หัวหน้า” และ “ผู้นำ” ได้อย่างชัดเจนขึ้นเพื่อการพัฒนาตนเองต่อไป
แปลและอ้างอิง
6 Steps to be a leader and not a boss (Key Differences with Example)
Related Courses
รอบรู้เรื่องการเงินฉบับรวบรัด
อยากเก็บเงินได้ มีเงินใช้ครบเดือน และมีชีวิตที่ดีตอนเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มทำอย่างไร Starfish Labz มีคำตอบให้คุณกับคอร์ส ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...