โรงเรียนยุคใหม่ เติบโตก้าวไกล เพราะใส่ใจสุขภาพจิต
หลังจากสถานการณ์โควิดผ่านไป แต่สิ่งที่ผู้บริหาร บุคลากร และนักเรียน ต้องเจอคือ ปัญหาสุขภาพจิต ทั้งความเครียด ความกดดัน และกังวลกับอนาคต ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นอีก ที่น่ากังวลไปกว่านั้น พวกเขาไม่รู้วิธีการจัดการ ซึ่งถ้าหากปล่อยไว้ จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ผู้บริหารเอง กับบุคลากร ถ้าเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต การทำงานจะไม่ได้ประสิทธิภาพ และอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ ส่วนนักเรียน การเรียนอาจแย่ลง ไม่สามารถจดจ่อกับคุณครูในชั้นเรียน หรือมีปัญหาการเข้าสังคม บทความนี้จึงรวบรวม วิธีส่งเสริมสุขภาพจิตภายในโรงเรียน เพื่อผู้อำนวยการนำไปประกอบ กับแผนการดำเนินงาน และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้ตามทันเหตุการณ์
1. เสริมความรู้เรื่องสุขภาพจิต
จัดการอบรมเรื่องสุขภาพจิต ให้ทุกคนในโรงเรียนได้เข้าใจและเรียนรู้อารมณ์ของตนเองผ่านกิจกรรมที่หน่วยงาน เตรียมไว้ให้ พร้อมย้ำถึงความปกติของโรคทางจิตเวช ที่เกิดขึ้นเพราะสุขภาพจิต และขอความร่วมมือคุณครูประจำชั้น สอบถาม พูดคุย กับนักเรียน ให้รู้ความเป็นไป หากมีเหตุฉุกเฉินจะสามารถช่วยได้ทันเวลา เมื่อทุกฝ่ายในโรงเรียน มีความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพจิตในขั้นพื้นฐาน การดูแลซึ่งกันและกันจะง่ายขึ้น เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
2. จับมือกับผู้ปกครอง
แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เรื่องสุขภาพจิต วิธีสังเกตพฤติกรรม และความผิดปกติต่าง ๆในขณะที่นักเรียนอยู่บ้าน เพราะเด็กบางคน อาจไม่พร้อมที่จะบอกปัญหา หรือรู้แล้วว่าเกิดอะไรกับตนเอง แต่ไม่กล้าแจ้งผู้ปกครอง การให้ผู้ปกครองคอยสอดส่องเด็ก ๆ จะช่วยลดผลกระทบที่จะตามมาภายหลัง และสามารถส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญ ช่วยดูแลปัญหาใจของพวกเขาได้
3. เพิ่มบทเรียน mindfulness
Mindfulness การฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน ผู้อำนวยการสามารถ เพิ่มคลาสเรียนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น โยคะ กิจกรรมฝึกดูลมหายใจ หรือการอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ สัมผัส และโอบกอดสิ่งมีชีวิต ทำให้นักเรียนรู้สึกตัว อยู่กับปัจจุบัน ได้โฟกัสลมหายใจ รวมถึงรู้สึกผ่อนคลายผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อไหร่ก็ตาม นักเรียนเริ่มเครียดหรือไม่โอเคกับอะไรบางอย่าง เขาจะได้ใช้ทักษะจากสิ่งที่เรียน ช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น
4. ใช้แอปพลิเคชัน หรือ สมุดโน้ต
ผู้อำนวยการ บุคลากร และนักเรียน หมั่นจดบันทึกลงสมุด หรือใช้แอปพลิเคชัน how we feel สำรวจอารมณ์ว่าตอนนี้ รู้สึกอย่างไร เครียดเรื่องไหนบ้าง จะได้ตามทันอารมณ์ ทุกช่วงขณะ เมื่อเรียนรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของมัน พอถึงเวลาต้องจัดการ ก็จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป สามารถเข้าใจตัวเอง และการติดตามอารมณ์ยังทำให้ทุกคน ได้มีช่วงเวลาอยู่กับตนเอง
5. สร้างสัปดาห์ของใจ
สัปดาห์วิชาการเสริมความรู้ ส่วนสัปดาห์ของใจ เพิ่มการรับรู้เรื่องสุขภาพจิต Worth-it วิสาหกิจเพื่อสังคม ของสหราชอาณาจักร แนะนำให้ทางโรงเรียน ทำกิจกรรมโหลแก้วใส่คำขอบคุณ โดยให้นักเรียนเขียนสิ่งที่อยากขอบคุณ เรื่องอะไรก็ได้หย่อนลงโหลแก้ว และแข่งกัน ชั้นเรียนไหน ภายใน 1 อาทิตย์ โหลเต็มก่อน เป็นผู้ชนะ อีกหนึ่งกิจกรรมคือ คุณครูสุ่มแจกรายชื่อนักเรียนในชั้น ใครได้ชื่อคนไหน ต้องปฏิบัติตัวกับคนนั้นอย่างอ่อนโยน เป็นการฝึกให้นักเรียนใจดีกับผู้คน รู้จักความเมตตา
6. จัดตารางนอกเวลา
ให้นักเรียนและคุณครู ได้มีกิจกรรมร่วมกัน นอกจากการเรียนในห้อง เช่น สำรวจธรรมชาติรอบโรงเรียน คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ เกิดการพูดคุย ช่วยแก้ปัญหาซึ่งกันและกัน สัปดาห์ละครั้ง 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เนื่องจากการมีส่วนร่วม ได้ทำอะไรบางอย่าง ช่วยส่งเสริมพลังบวกให้กับจิตใจ การสื่อสาร การแลกเปลี่ยน หรือจดบันทึก ขณะที่ทำกิจกรรมก็ลดความเครียดที่เกิดจากสิ่งรอบตัว
7. พิจารณานักจิตประจำโรงเรียน
บทสัมภาษณ์ของนักจิตวิทยารายหนึ่ง อธิบายว่า การที่โรงเรียนมีบุคคลที่เชี่ยวชาญ และพร้อมให้คำปรึกษา เป็นผลดีกับคุณครู ในเรื่องของการป้องกันความเครียด การจัดการปัญหาต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบถึงด้านอื่นส่วนตัวนักเรียนเอง มีเซฟโซน จะพูดหรือเล่าอะไร ก็มั่นใจ และไม่ต้องกลัวการตัดสินเมื่อนักเรียนกล้าพูด ปัญหาจะสามารถคลี่คลายได้เร็ว ไม่ก่อให้เกิดแผลในใจ
8. สอดแทรกในชีวิตประจำวัน
ห้องสมุด ควรมีมุมให้ความรู้ และรวบรวมหนังสือ เกี่ยวกับสุขภาพจิต โดยเฉพาะ ทุกชั้นเรียน คุณครูพูดคุยเรื่องนี้ เหมือนกับหัวข้อทั่วไป มีโปสเตอร์การ์ตูนเรื่อง inside out พร้อมภาพ ที่อธิบายถึงอารมณ์ของมนุษย์ เพราะนักเรียน หรือคนบางกลุ่ม ยังกลัวคำว่าสุขภาพจิต และมองเป็นเรื่องไกลตัว การแทรกในชีวิตประจำวัน จะทำให้พวกเขาเข้าใจมากขึ้น
ทั้งหมด 8 ข้อด้านบน เป็นแนวทางให้ผู้อำนวยการ ส่งเสริมเรื่องสุขภาพจิตภายในโรงเรียน เพื่อการรับรู้ที่มากขึ้นในเรื่องนี้ พร้อมกับความเข้าใจต่ออารมณ์ของบุคลากร และนักเรียน เมื่อเกิดเหตุอะไรขึ้น ทุกคนจะพร้อมช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพราะปัญหาสุขภาพจิต สำคัญไม่แพ้เรื่องวิชาการ
Sources:
- Mental Health Issues: Strategies for Principals | NASSP
- Why Principals Need to Make Student Mental Health a Priority | Edweek
- How to Promote Positive Mental Health in Schools | High Speed Training
- ส่องประเด็น Mental Health ของเด็กๆ รวมถึงบทบาทของนักจิตวิทยาในโรงเรียนที่ไทยควรเริ่มมีแล้ว | กสศ.
- 7 ways schools can help teens suffering with mental health issues | Greatschool
- Opinion: poor youth mental health is costing Thailand | สหประชาชาติใน ประเทศไทย
- 5 Practical and Meaningful Activities for Children's Mental Health Week
- สุขภาพจิตโรงเรียน : แนวทางการส่งเสริมสุขภาพจิตวัยรุ่น (School Mental Health: Guideline for Mental Health Promotion in Adolescents) | Digitalcarchula
Related Courses
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model เป็นแนวทางสำคัญของครูที่จะช่วยลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรี ...
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
รอบรู้เรื่องการเงินฉบับรวบรัด
อยากเก็บเงินได้ มีเงินใช้ครบเดือน และมีชีวิตที่ดีตอนเกษียณ แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มทำอย่างไร Starfish Labz มีคำตอบให้คุณกับคอร์ส ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...