ผลักดันการศึกษาไทย สู่การเป็น Soft Powerให้เทียบเท่า ประเทศชั้นนำของโลก!
การศึกษาสามารถเป็น Soft Power และส่งผลกระทบเชิงบวกให้กับประเทศไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำจำกัดความของ Soft Power นักวิชาการหลายท่าน ให้ความหมายในทำนองเดียวกันดังนี้ เป็นอำนาจที่อ่อนโยนใช้แสดงต่อประเทศทั่วโลกให้หันมาสนใจกับประเทศของตน Jonathan McClory อธิบายเสริมถึง Soft Power ในแง่มุมทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านธุรกิจและนวัตกรรม ด้านวัฒนธรรมด้านรัฐบาล ด้านการทูต ด้านการศึกษา บทความนี้มุ่งเน้นไปที่แง่มุมด้านการศึกษา สรุปจากรายงานองค์ความรู้ การใช้การศึกษาเป็น Soft Power ในการพัฒนาประเทศ กรณีศึกษาจากต่างประเทศจัดทำขึ้นโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมตัวอย่างประกอบ เพื่อให้นักการศึกษาได้นำไปต่อยอดองค์ความรู้ และผลักดัน Soft Power ด้านการศึกษาในประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก
การศึกษา สู่การเป็น Soft Power ขับเคลื่อนประเทศชาติ การศึกษาช่วยให้เปิดมุมมองใหม่ ๆ ได้เข้าถึงองค์ความรู้ เพื่อนำมาปรับใช้กับชีวิตของตน และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ประเทศที่นำการศึกษาเป็น Soft Power ทั้งทางตรงและทางอ้อม มี 5 ประเทศ ดังต่อไปนี้ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทั้งหมดที่กล่าวมาปฏิบัติออกมาได้อย่างดี มีกรณีศึกษาให้ทำตาม
1. สนับสนุนให้ทุนการศึกษา สร้างความใกล้ชิด ทั้งค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายส่วนตัว ที่ทางรัฐบาลหรือหน่วยงานจัดสรรให้ล้วนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ดึงดูด นักศึกษาต่างชาติ เลือกไปศึกษาต่อในประเทศของตน สหรัฐฯ เยอรมนี จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ล้วนใช้รูปแบบนี้ ผลักดันให้การศึกษาเป็น Soft Power เพราะคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนที่ได้ไปสัมผัสวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ อาหารการกิน รวมถึงผู้คน เมื่อพวกเขาพึงพอใจจึงเกิดการแนะนำ ส่งต่อสิ่งที่ได้รับมา ซึ่งกระตุ้นให้บุคคลอื่น อยากไปเผชิญด้วยตนเองบ้างสักครั้ง
2. บทความทางวิชาการนับล้านฉบับการศึกษาที่ทั่วโลกต่างยอมรับ ส่วนประเทศจีน มีความแข็งแกร่งด้านวิชาการ การเรียนที่เข้มข้น นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง แสดงให้เห็นผ่านบทความทางวิชาการ ที่ถูกตีพิมพ์หลายล้านฉบับ และจัดทำโดยคนในชาติ บ่งบอกถึงศักยภาพได้เป็นอย่างดี
3. วัฒนธรรมล้ำค่า เชิดชูภาษา และการเรียนรู้ การต่อยอดจากเรื่องราวที่ผู้คนคุ้นเคยอย่าง วัฒนธรรม อาหาร ศิลปิน ภาพยนตร์ แหล่งท่องเที่ยว จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จึงใช้เป็นใบเบิกทาง ให้ซึมซับจนถึงแก่นราก สร้างความกระหายในการเรียนรู้ ดังตัวอย่าง ประเทศจีน จัดตั้งสถาบันขงจื๊อกว่า 120 แห่งประเทศทั่วโลก ดำเนินการเรียนการสอนภาษาจีน รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ พร้อมมอบเกียรติบัตรรับรอง ซึ่งสามารถใช้คู่กับการขอทุน, ประเทศญี่ปุ่น นำโครงการแลกเปลี่ยนสำหรับเยาวชน ปลูกฝังให้เรียนรู้และเข้าใจภาษาญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ โชว์จุดเด่นด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น เมืองพาจู ครบครันพื้นที่ส่งเสริมสติปัญญา ห้องสมุด แกลเลอรี และพิพิธภัณฑ์ ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ ง่าย ถือเป็น Soft Power ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น
4. ปลุกปั้นสถาบันเฉพาะทาง เมื่อนักศึกษาทั่วโลก ได้ทราบถึงความเชี่ยวชาญของสถาบันในแต่ละประเทศย่อมสามารถดึงดูดพวกเขาให้เข้าไปศึกษาต่อ ซึ่งล้วนเป็นประโยชน์แก่ประเทศนั้น ๆ นอกจากในแง่ของการศึกษาที่เป็น Soft Power ภาษาและวัฒนธรรม นักศึกษาต่างชาติสามารถซึมซับกลับสู่พื้นถิ่น เช่น การศึกษาต่อด้าน MBA (ปริญญาโทบริหารธุรกิจ) ในสหรัฐฯ เป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ เพราะสถาบันล้วนเต็มไปด้วยบุคลากรที่มีความสามารถ และติดอันดับมหาวิทยาลัยที่เป็นเลิศด้านวิชาการ ตัวอย่างมหาวิทยาลัยชั้นนำ ด้านบริหารธุรกิจ The Wharton School of the University of Pennsylvania, Harvard University ส่วนการศึกษาในหลักสูตร Fashion Design มหาวิทยาลัย ณ ประเทศเกาหลีใต้วางรากฐาน มาอย่างดี จนเป็นที่รู้จักของนักศึกษาต่างชาติ อาทิ Hongkik Univerisity, Seoul National University Korea Advanced Institute of Science and Technology ซึ่งสามารถอนุมานผ่านแบรนด์ที่ถูกออกแบบโดยชาวเกาหลี อย่าง Acmè De La Vie (ADLV) เสื้อยืดขนาดใหญ่ พร้อมลายหน้าเด็กมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งในและนอกประเทศ รวมถึงการแต่งตัวของชาวเกาหลี ที่มีรสนิยมดี เสื้อผ้าที่สวมใส่มีการออกแบบที่เรียบง่าย แต่ยังคงความสวยงามพร้อมเอกลักษณ์เฉพาะตัว
5. ต้นแบบหลักสูตร ผลักดันพลังแห่งการเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญในระดับสากล วิชาการที่นานาประเทศต่างยอมรับ หลักสูตรการศึกษาจากสหรัฐฯ ที่ถูกนำไปใช้ในโรงเรียนนานาชาติ ซึ่งล้วนผ่านการรับรองจาก Western Association of Schools and Colleges (WASC), New England Association of Schools and Colleges (NEASC) ในเรื่องของคุณภาพ สามารถไว้วางใจได้ ส่วนแก่นสำคัญของหลักสูตร มุ่งเน้นด้านวัฒนธรรม ความหลากหลายเป็นหลักและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลองผิดลองถูก ค้นหาตัวเองเจอในสิ่งที่ชอบ ตัวอย่างโรงเรียนนานาชาติใประเทศไทย ที่ใช้หลักสูตรจากอเมริกา โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี, โรงเรียนนานาชาติ ISB, The American School of Bangkok (ASB), โรงเรียนนานาชาติเอกมัย
6. พันธมิตรกับนานาประเทศ เผยแพร่การศึกษา AFS โครงการแลกเปลี่ยนเพื่อการศึกษา ที่ก่อกำเนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้คนที่สนใจ ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ โดยมีครอบครัวอุปถัมภ์เป็นผู้ดูแลระหว่างใช้ชีวิต ในต่างแดน มีให้เลือกทั้งระยะสั้น และระยะยาว หากกล่าวถึง AFS ถือเป็นหนึ่งใน Soft Power ด้านการศึกษา ที่มีพันธมิตรอยู่หลายประเทศทั่วโลก และมีเครือข่ายที่หนาแน่น ทั้งศิษย์เก่า ศิษย์ใหม่พร้อมให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การศึกษาไทย กับแนวทางต่อยอด Soft Power ในเชิงวิชาการ จากตัวอย่างทั้ง 5 ประเทศ ที่ใช้ Soft Power พัฒนาประเทศ ด้านการศึกษา ในประเทศไทยมีศักยภาพเทียบเท่า และสามารถทำตามได้ เช่น การเผยแพร่อาหารไทย พร้อมสอดแทรกความรู้ เล่าประวัติศาสตร์ที่มา ซึ่งล้วนเป็นจุดประกายสำคัญ ให้ชาวต่างชาติหันมาสนใจ และอยากเรียนรู้ภาษาไทยมากยิ่งขึ้น หรือการศึกษาในแบบที่ครูชาวไทยออกแบบเอง ทั้งแบบฝึกหัด หนังสือ นำไปเสนอขายผ่านเว็บไซต์ หรือกลุ่มใน Facebook ให้ชาวต่างชาติได้เข้าถึงรวมถึงจัด Workshop แลกเปลี่ยน ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เริ่มจากจังหวัด ดังต่อไปนี้ เช่น กรุงเทพ, เชียงใหม่, ภูเก็ต, พัทยา สร้างชุมชนภาษาไทย เพื่อชาวต่างชาติ ให้แต่ละคนได้มาสัมผัส เรียนรู้ กับผู้ดำเนินกิจกรรม ที่เข้าใจภาษาไทยอย่างถ่องแท้ โดยใช้วัฒนธรรมเป็นจุดดึงดูด ลักษณะเดียวกับประเทศจีน และเกาหลี หลังจากนั้นค่อย ๆ สอดแทรกการศึกษา ภายในระยะเวลาอันใกล้ ประเทศไทยจะขึ้นสู่การเป็น Soft Power ด้านการศึกษา ในอันดับแนวหน้าอย่างแน่นอน สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดทำรายงานองค์ความรู้ การใช้การศึกษา เป็น Soft Power ในการพัฒนาประเทศ กรณีศึกษาจากต่างประเทศ มีรายชื่อดังนี้ สหรัฐอเมริกา, เยอรมนี, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และจีน ซึ่งล้วนดำเนินการออกมาได้เป็นอย่างดี ทั้งการให้ทุนการศึกษา, เชิดชูงานด้านวิชาการ, นำวัฒนธรรม อาหาร มาเป็นจุดดึงดูด, มีสถาบันเฉพาะทาง เช่น ด้านบริหารธุรกิจ, ด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ เป็นที่ยอมรับของผู้คนทั่วโลก, สร้างสรรค์หลักสูตรการศึกษาที่เข้มข้นและเผยแพร่, เป็นพันธมิตร ร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศ, จัดการเรียนการสอนภาษาของตนเอง สร้างศูนย์กระจายอยู่ในแต่ละประเทศ, และก่อตั้งโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม พร้อมเรียนรู้ภาษา
ดาวน์โหลด หนังสือฉบับเต็ม
>> https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/2056-file.pdf
Sources:
Related Courses
Micro Learning เรียนอย่างไรให้สนุกในยุคภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การเรียนรู้มีอยู่อย่างไม่จำกัดและหลากหลาย หากอยากจะเรียนรู้ไปพร้อมกับได้รับความสนุกนั้นต้องไม่หยุดเพียงรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งแต่ ...
Micro Learning เรียนอย่างไรให้สนุกในยุคภาวะการเรียนรู้ถดถอย
เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR
ผู้ที่สนใจในการสร้างเนื้อหาดิจิทัล และต้องการใช้ AR เพื่อเพิ่มมิติใหม่กับผลงานของตัวเอง โดยเฉพาะคุณครูอาจารย์ที่ต้องการสร้าง ...
เทคนิคการสร้าง AR Content อย่างง่ายด้วย MywebAR
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การสร้างความสุขในโรงเรียน
โรงเรียนแห่งความสุขนั้นไม่ได้อยู่ที่อาคารสถานที่ของโรงเรียนที่ใหญ่โต แต่การให้ความรักและเมตตาต่อทุกคนโดยทั่วถึงกัน ถือเป็นกา ...
สพป. เชียงใหม่ เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เลขที่ 134 หมู่ 8 ถนน เชียงใหม่-ฮอด ตำบลสันกลางอำเภอสันป่าตอง จังห ...