สอนลูกให้รู้จักแยกแยะว่าอะไรถูกหรือผิดได้อย่างไร
เรื่องความถูกความผิด หากเป็นเด็กเชื่อเลยว่าเขามักจะไม่ทราบหรอกว่าอะไรคือสิ่งที่ดีหรือไม่ดี และเขาควรทำอย่างไรถึงจะถูก ดังนั้นสิ่งที่พ่อแม่ควรสอนและควรจะสอนตั้งแต่ยังเล็กนั้นก็คือ การสอนลูกให้รู้จักแยกแยะสิ่งที่ถูกและผิด เพื่ออนาคตในภายภาคหน้าของลูกน้อย และให้รู้จักสำนึกในสิ่งที่ตัวเองได้ทำลงไป
เนื่องจากช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่จะเห็นว่า ข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวกับวัยรุ่นที่กระทำความผิดก็มีให้ดูมากมาย ซึ่งบางคนเรียกว่าอายุยังน้อยอยู่เลย ทำให้สิ่งเหล่านี้แหละค่ะ หากเราปลูกฝังตั้งแต่ยังเล็กจึงเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งสิ่งที่จะสอนวันนี้จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
เด็กที่ไม่รู้จักถูกผิดจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง
1. ทำผิดแต่ไม่รู้จักสำนึก
2. ไม่ยอมรับผิดทุกกรณี
3. ชอบกระทำความผิดเสมอเพราะพ่อแม่มักให้ท้าย
4. ไม่ยอมพูดขอโทษเมื่อทำผิด
หากลูกไม่รู้จักแยกแยะสิ่งที่ถูกที่ผิดและไม่รู้จักสำนึกผิดแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่เองจะทำอย่างไรบ้างล่ะ
1. เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ผลการกระทำ
ในการที่ให้ลูกได้ลองรู้สึกถึงผลของการกระทำ จะทำให้เด็กเข้าใจกว่าการสอนปากเปล่า เช่น เมื่อลูกไล่แม่ ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ถือสาอะไร แต่หากอยากให้ลูกเข้าใจ เราอาจจะสอนลูกว่า “หนูไล่แม่แบบนี้ แม่เสียใจนะ” หรือทำท่าทีต่างไปจากเดิม เช่น ทำหน้าเศร้าเพื่อบอกให้รู้ทราบว่าเราเสียใจและทำท่าทีแตกต่างไปจากเดิม จะทำให้ลูกสัมผัสถึงผลการกระทำของตัวเองได้แน่นอน
2. ไม่โอ๋หรือห้ามลูก
ในที่นี้หมายถึงขณะที่สอนเราไม่ควรห้ามโอ๋หรือห้ามลูกเลย เพราะจะทำให้เด็กๆ สับสนว่าจะเชื่อใครดี เพราะฉะนั้นควรสอนลูกในทางเดียวกัน แบ่งบทบาทให้ชัดเจน เช่น เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เป็นหน้าที่แม่ หากเป็นเรื่องใหญ่ๆ ก็ให้พ่อตัดสินใจ สิ่งนี้จะทำให้ลูกเข้าใจในสิ่งที่เราสอนได้มากกว่าและประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกได้มากกว่า
3. เป็นตัวอย่างที่ดีของพ่อแม่
อย่างเช่น หากเราทำผิดกับลูก เราก็ขอโทษลูกได้ สิ่งนี้บางคนคิดว่ามันจะทำลายความน่าเชื่อถือแต่จริงๆ แล้วไม่ได้ทำลายความน่าเชื่อถือของเราเลยค่ะ มันจะทำให้ลูกรู้สึกว่าครอบครัวเรานั้นน่ารักใครทำผิดก็รู้จักขอโทษ เด็กๆ ก็จะได้ตัวอย่างจากเราไปได้ด้วย
4. ไม่รักลูกจนเกินไป
เพราะบางครอบครัวที่รักลูกมากเกินไป เวลาลูกทำผิดก็มักจะไม่กล้าสอนลูกหรือว่าลูกเพราะกลัวลูกเสียใจ จนทำให้เด็กบางคนคิดว่าหากเราทำผิดก็คงไม่เป็นไร เพราะพ่อแม่รักเรา ไม่ว่าเราแน่นอน ซึ่งสิงนี้จะทำให้ลูกนั้นสำลักความรัก จนกลายเป็นเด็กไม่น่ารักสำหรับใครๆ ได้ เพราะฉะนั้นควรเลี้ยงลูกให้อยู่ในความพอดี รักด้วยความพอดี ถูกว่าไปตามถูก ผิดก็สอนให้เขายอมรับผิดและยอมรับในผลของการกระทำนั้นๆ ตีบ้างนานๆ ที อย่างกลัวที่จะลูกไม่รักก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ
5. คอยตั้งกฎกติกาให้ลูกได้เรียนรู้
อาจจะกำหนดบทลงโทษเล็กๆ น้อยๆ เมื่อลูกทำผิด โดยต้องเป็นกฏกติกาที่รับรู้ร่วมกันระหว่างครอบครัว เมื่อลูกทำผิดทุกคนต้องปฏิบัติตามที่วางไว้ อีกทั้งก่อนจะทำโทษลูกต้องไม่ควรใช้อารมณ์ในการลงโทษ พ่อแม่ต้องรู้จักเก็บอารมณ์ของตนเองก่อน อีกทั้งต้องดูช่วงอายุในการทำโทษด้วยค่ะ แต่ในทางกลับกัน หากเด็กๆ ทำได้โดยไม่ผิดกติกาก็ต้องมีคำชมหรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เขามีกำลังใจในการทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปนั่นเอง
6. เมื่อลูกทำผิดหรือแยกแยะไม่ออกก็ควรรับฟังในมุมมองเหตุผลของลูก
บางครั้งเราก็ไม่รู้เลยว่าเด็กๆ คิดอะไรอยู่ในหัว ซึ่งบางครั้งเขาอาจจะไม่รู้จริงๆ ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี หากเขาทำผิดเราเองอาจจะต้องมองลูกในทางสายกลาง อย่างเพิ่งมองเขาว่าเป็นเด็กที่โกหก หรือดุเขาทันทีที่เขาทำผิด ลองเปิดใจรับฟังลูกก่อน ให้เขาได้มีพื้นที่ในการอธิบายเหตุผลของการกระทำนั้นๆ แต่หากเราทำในทางตรงข้าม จะทำให้เขาต่อต้านกว่าเดิมและคิดว่าเราไม่มีเหตุผลได้ด้วยค่ะ
7. ไม่ปล่อยให้ลูกทำผิดจนเป็นนิสัย
ยิ่งปล่อยละเลยไปก็จะยิ่งทำให้เด็กรู้สึกชิน และทำผิดจนเป็นนิสัยโดยที่เด็กๆ คิดว่ามันเป็นเรื่องปกติ เพราะฉะนั้นพ่อแม่เองควรสสังเกตและดูลูกอย่างใกล้ชิด คอยบอกเขาว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี หากลูกทำผิดก็ควรสอนเขาและบอกถึงผลของการกระทำด้วย ไม่ใช่ปล่อยละเลยไป เพราะทำให้นิสัยเสียๆ ติดตัวลูกไปในภายภาคหน้าได้นั่นเอง
Related Courses
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...