สกิลจำเป็นเด็กไทยของผู้เรียนแต่ละสายและใช้ได้ในชีวิตจริง
น้อง ๆ เด็กไทยหลายคนต้องตั้งคำถามแน่นอนกับทักษะแห่งอนาคตที่ไม่รู้จะต้องมีอะไรบ้างเพราะมันเยอะแยะเต็มไปหมดถึงจะคุ้นชินกับเทคโนโลยีแต่ก็ยังกังวลจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์หรือเปล่านะ World Economic Forum 2020 ได้อธิบายเกี่ยวกับตลาดแรงงานว่ากว่า 97 ล้านตำแหน่ง จะต้องใช้ทั้งทักษะของมนุษย์ร่วมกับเทคโนโลยีและจากรายงานอาชีพแห่งอนาคต 2023 โดย World Economic Forum การเข้าใจปัญญาประดิษฐ์ และ ข้อมูลมหาศาล (Big Data) บริษัท องค์กรทั้งหลายต้องให้ความสำคัญและให้ความรู้เกี่ยวกับพนักงานในด้านนี้ถึงการมาของเทคโนโลยี กำลังจะเปลี่ยนแปลงโลกของเราไปทักษะที่พวกเราต้องสร้างเอง (Soft Skills & Hard Skills) ก็ยังจำเป็นขอแค่ปรับตัวเดินหน้าไปต่อกับการเปลี่ยนผ่านยุคที่ไวขึ้นกว่าเดิมรู้จักใช้เทคโนโลยีทำให้การเรียนรู้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นช่วยทุ่นแรงเมื่อก้าวเข้าสู่ชีวิตทำงานและชีวิตที่สะดวกสบายพร้อมอนาคตที่สดใสกว่าเดิม
วันนี้พี่ ๆ Starfish Labz สรุปมาให้ สกิลที่จำเป็นสำหรับเด็กไทย วัยรุ่นวัยเรียนแยกออกไปตามแต่ละสายแถมเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้ด้วยนะจากการศึกษาของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา อย่ารอช้ามาอ่านผ่านบทความนี้ไปพร้อมกัน
1. ภาคเกษตรกรรม
เกษตรกรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่าการใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่าง ๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมงและการป่าไม้ เด็กรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับอาชีพด้านนี้ไม่แพ้กับงานในสายอื่น ๆ เพราะได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติกลับมาพัฒนาธุรกิจที่บ้านรวมถึงสร้างงานสร้างอาชีพให้กับผู้คนจากการศึกษาของ สกศ. และวิจัยเรื่องทักษะของภาคเกษตรกรรมโดย Juhász and Horváth-Csikós คนที่อยากเติบโตในสายงานเกษตรกรรม จำเป็นต้องมีสกิลดังนี้โดยแบ่งออกเป็น สกิลพัฒนาตัวเอง ทางสังคมและความรู้เชิงวิชาการ
สกิลพัฒนาตัวเอง (Personal Skills)
- ไม่หยุดเรียนรู้ (Lifelong Learning) เช่น ศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เรียนคอร์สออนไลน์
- รู้จักหน้าที่ (Accountability) ต้องทำอะไรบ้าง 1 2 3 4 เป็นลำดับขั้นตอน
- กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง (Adabtability) เทรนด์อะไรมาใหม่ เฝ้าติดตาม
- พร้อมลุย อดทน (Persistence and Patience) เพราะต้องเจอแดด เจอลม คลุกคลีกับธรรมชาติ
- มุ่งมั่นทุ่มเท (Dedication) เลี้ยงสัตว์ต้องประคบประหงม ปลูกพืชผักก็ต้องใช้เวลา
สกิลทางสังคม (Social Skills)
- รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Awareness) ลดการเผาใบไม้และใช้วิธีรีไซเคิลแทนเพราะโลกกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก
- พบปะผู้คน (Networking) รวมกลุ่มด้านเกษตรกรรม พึ่งพาอาศัยกันได้
- ร่วมมือร่วมใจ (Collaborative Skills) ทำงานกับผู้อื่นไม่ขัดข้อง
- ปลอดภัยไว้ก่อน (Safety Awareness) เข้าใจปุ๋ย สารเคมี วัชพืช รวมถึงไม่เผาป่า
- อะไรดีบอกต่อ (Knowledge Sharing) การเกษตรเขาเปลี่ยนไปอย่างไรมีวิธีอะไรใหม่ ๆ ช่วยประหยัดเวลาบอกต่อคนในแวดวงเดียวกัน
สกิลความรู้เชิงวิชาการ (Methodical Skills)
- มีหัวต่อยอด (Applicability) เอาอุจจาระสัตว์ในฟาร์มไปทำผลิตภัณฑ์หรือประยุกต์ใช้ทุกส่วนของพืชในสวนให้ครบ
- ไอเดียบรรเจิด (Creative Thinking) เปลี่ยนสวนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวจัดสัมมนา แลกเปลี่ยนความรู้สำหรับบุคคลทั่วไป
- ตั้งรับทุกสถานการณ์ (Change Management) ฤดูหนาวเคยปลูกพืชชนิดนี้ได้แต่ด้วยสถานการณ์โลก อาจส่งผลให้ผลผลิตน้อยลงหรือผลผลิตไม่ออกเลยก็ต้องมีแผนสำรอง
- ธุรกิจของเราไปต่อหรือพอแค่นี้ (Business Improvement)จดบันทึกความเปลี่ยนแปลงศึกษาตลาดเข้าใจเรื่อง Marketing รวมถึง Data และการบริหารภาพรวม
- ปรับใช้เทคโนโลยี (Technology Adoption) นำโดรนพ่นปุ๋ยลดระยะเวลาเพิ่มประสิทธิภาพเอาบอทโรคข้าว (Rice Disease Bot) มาช่วยวินิจฉัยโรค แค่ถ่ายรูป ส่งผ่านไลน์และรอ AI หาสาเหตุพร้อมแนวทางแก้ไข ซึ่ง สวทช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้พัฒนา
2. ภาคอุตสาหกรรม
อีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญของประเทศไทยภาคอุตสาหกรรมเมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมหลายคนต้องนึกถึงโรงงานขนาดใหญ่ที่มีผู้คนเครื่องจักรทำงานและเจ้าของกิจการจ่ายค่าตอบแทนให้อุตสาหกรรมพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่ากิจกรรมที่ใช้ทุนและแรงงานเพื่อผลิตสิ่งของหรือจัดให้มีบริการ กรมโรงงานได้อธิบายเพิ่มเติม ภาคอุตสาหกรรม ช่วยลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศและเป็นเหมือนตัวชี้วัดศักยภาพ เทคโนโลยีภายในประเทศ ถ้าอยากทำงานในภาคอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นพนักงาน เจ้าของกิจการ นักวิชาการ และอื่น ๆ อีกมากมาย จากการศึกษาของ สกศ. คณะผู้วิจัยเห็นตรงกัน วัยรุ่นวัยเรียนที่อยากสำเร็จในภาคนี้ต้องมีสกิลเพื่อตัวเอง ทางสังคม และความรู้เชิงวิชาการ
สกิลพัฒนาตัวเอง (Personal Skills)
- เข้าใจหน้าที่ของตัวเอง (Accountability) พนักงานทำตามหน้าที่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้
- แยกออกผิดชอบชั่วดี (Good Work Ethics) ไม่เอารัดเอาเปรียบใคร เป็นเจ้าของกิจการไม่กดค่าแรงโหมพนักงานทำงานหนัก
- ความโปร ทำงานคล่องแคล่ว (Professionalism) ทุกภาคอุตสาหกรรมต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้า ก่อนสินค้าออกสู่ตลาด ต้องตรวจสอบคุณภาพก่อนเสมอ
- ทำงานได้สำเร็จ (Responsibility) รู้ว่าวันนี้ต้องผลิตอะไรส่งออกตอนไหนมีเป้าหมายชัดเจน
สกิลทางสังคม (Social Skills)
- ปลอดภัยชัวร์ (Safety Awareness) ในภาคอุตสาหกรรม มักมีเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ต้องระมัดระวัง พนักงานต้องช่วยกันสอดส่องรวมถึงเจ้าของกิจการเองควรทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
- ทำงานกับใครได้หมด (Collaborative Skill) ผลิตไปด้วยกัน ทำงานเป็นระบบ ไม่เกี่ยงไปมา ถ้าอะไรช่วยแล้ว ตัวเราไม่ลำบาก ก็แบ่งเบากัน
- อ่อนโยนต่อโลก (Environmental Awareness) โรงงานต้องไม่ปล่อยของเสียลงแหล่งน้ำ รู้จักกำจัดขยะแบบถูกวิธีและทำความเข้าใจ Carbon Footprint
- พูดตรงประเด็น (Communication) ในแต่ละอุตสาหกรรม มักมีคำศัพท์เฉพาะสื่อสารผิดอาจเกิดอันตรายหรือความไม่เข้าใจกัน
- เธอรู้ฉันรู้ (Coaching and Mentoring) เพื่อนร่วมงานไม่เข้าใจตรงไหนสอนนายจ้างคอยวัดผลตรวจสอบและชี้แจงส่วนที่ต้องแก้ไข
- ทีมเวิร์ก (Team Work) ตบไหล่รู้กันผลักดันการผลิตให้เสร็จทันเวลา
สกิลความรู้เชิงวิชาการ (Methodical Skills)
- วิเคราะห์เป็น (Analytical Thinking) รู้จักหาสาเหตุของปัญหาทำไมผลิตได้ล่าช้าคุณภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือเปล่า
- อ้าแขนรับความไม่แน่นอน (Change Management) ภาคอุตสาหกรรมมีเรื่องราว random เกิดขึ้นได้เสมอต้องพร้อมรับมือและมีสติ
- อ่านข้อมูลพร้อมตัดสินใจ (Data-driven Decision) แยกแยะข้อมูลได้ เอามาประกอบการตัดสินใจเพิ่มความแม่นยำ
- รีเช็กธุรกิจเสมอ (Business Improvement) หาหนทางพัฒนาให้ผลิตสินค้าได้ไวขึ้นกว่าเดิมในเวลาที่จำกัดอุดรอยรั่วในโรงงานทั้งการบริหารปัญหาพนักงานฝ่ายต่าง ๆ
- หัวคิดครีเอทีฟ (Creative Thinking) กล้าที่จะแตกต่างออกไลน์ผลิตใหม่
- ที่สุดแห่งนวัตกรรม (Innovative Thinking) ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงานในโรงงานหานวัตกรรมสร้างความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์
3. ภาคการบริการ
การบริการเป็นสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยใจ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่าการปฏิบัติรับใช้การให้ความสะดวกต่าง ๆ สำหรับภาคบริการตัวอย่างที่ชัดเจนและพวกเราทุกคนเห็นภาพ มักเป็นโรงแรม ร้านคาเฟ่ ร้านอาหาร แบงก์ หัวใจสำคัญของเด็ก ๆ วัยรุ่นที่อยากผันมาอยู่ภาคการบริการจำเป็นต้องมีคือ สกิลเพื่อตัวเองทางสังคมและเชิงวิชาการเพื่อให้การปฏิบัติงานไม่ติดขัดได้รับความประทับใจจากผู้คนพร้อมความเติบโตในหน้าที่การงาน
สกิลพัฒนาตัวเอง (Personal Skills)
- โกรธอยู่รู้ทัน (Emotional Control) ภาคการบริการมักเกี่ยวข้องกับผู้คนดังนั้นต้องตามอารมณ์ตัวเองให้ทันและยับยั้งให้ได้
- รู้จักวางตัว (Courteousness) มือไม้อ่อน สวัสดีทักทายยิ้มแย้มแจ่มใส
- จัดให้ตามที่สัญญา (Good Work Ethics) ไม่หลอกลวงลูกค้าบริการเหมือนที่แจ้งไว้ล่วงหน้า
- บริการสุดประทับใจ (Accountability) รู้ว่าภาคการบริการต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ให้ความสะดวกกับลูกค้าเต็มที่
- มายด์เซตดี (Positive Attitude) ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาปะปนกับงานหน้าที่ของเราทำให้ลูกค้าสบายใจ
สกิลทางสังคม (Social Skills)
- พูดคุยรู้เรื่อง (Communication) สอบถามข้อมูลจากลูกค้าได้สื่อสารสิ่งที่เราอยากแนะนำเขาเข้าใจตรงกัน
- ใจรักเซอร์วิส (Customer Services) จับสัญญาณจากสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้ไม่ปล่อยให้พวกเขารอนาน
- มีปฏิสัมพันธ์ (Interpersonal Skills) กล้าพูด กล้าคุย ใช้ท่าทางที่เหมาะสมสุภาพคำพูดน่าฟัง น้ำเสียงไพเราะ
- รับมือได้ทุกคน (Collaborative Skills) ทำงานร่วมกับทีมไหนก็ได้ พร้อมปรับตัว
- ส่งต่องานเป็น (Coordination Skills) ประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน ลูกค้าและบริษัทต่าง ๆ มีทักษะการติดต่อที่ยอดเยี่ยม
สกิลความรู้เชิงวิชาการ (Methodical Skills)
- รอบรู้ภาษา (Foreign Languages) ภาคบริการเจอผู้คนหลากหลายเชื้อชาติความรู้ด้านภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
- แบบนี้ก็มีด้วย (Creative Thinking) พลิกแพลงโจทย์ เซอร์ไพรส์ลูกค้าการบริการที่ลูกค้าไม่มีวันลืม
- ปัญหาแค่เรื่องจิ๊บ ๆ (Prolblem-solving) รับมือให้ทันทั้งคำติและชมแก้ไขสถานการณ์แบบเร่งด่วนไม่ให้ส่งผลกระทบภายหลัง
- จัดการอย่างดี (Management) ต้องพูดเชิญชวนแบบไหน บริการใครก่อนหลัง คิวรันถูกต้องหรือเปล่า ต้องขอโทษเมื่อผิด
- คิดอย่างพิจารณา (Critical Thinking) รวบรวมความเห็นจากเพื่อนร่วมงานก่อนก็ได้ เพื่อช่วยการตัดสินใจการบริการผิดพลาดตรงไหน
จะเห็นได้ว่าไม่ว่าน้อง ๆ จะสนใจอุตสาหกรรมไหนกำลังวางแผนเป็นเจ้าของบริษัท พนักงานหรืออยากทำอะไรก็ตามเราทุกคนต้องรู้หน้าที่ของตัวเองมาทำสิ่งนี้เพราะอะไรและต้องรู้สึกอยากขวนขวายตามทันโลกที่หมุนเปลี่ยนไปตลอดเวลา พร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ถ้าได้เอาทักษะที่พี่ ๆ Starfish Labz สรุปจากการศึกษาของ สกศ. ในวันนี้ไปใช้น้องจะรับมือการเรียนงานและชีวิตในอนาคตได้แน่นอน
ทั้งนี้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้ศึกษาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน (Soft Skill) จำนวนทั้งสิ้น 92 ทักษะสำหรับผู้เรียนในแต่ละภาคเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมาเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่โลกของการทำงานและร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไปพร้อม ๆ กัน
Download หนังสือฉบับเต็ม
>> รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน (Soft Skill)
Sources:
- ทักษะที่จําเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทํางาน (Soft Skill) สำหรับผู้เรียน: ผลการศึกษาและแนวทางการพัฒนา | สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- พจนานุกรม | พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔
- โครงการพัฒนาพื้นที่อย่างมีศักยภาพเพื่อรองรับการลงทุนในจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่น | Gisweb
- ‘บอทโรคข้าว’ แชตบอตวินิจฉัยโรคข้าวเพื่อชาวนาไทย | BCG
Related Courses
สพป. เชียงใหม่ เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เลขที่ 134 หมู่ 8 ถนน เชียงใหม่-ฮอด ตำบลสันกลางอำเภอสันป่าตอง จังห ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
สพป. เชียงใหม่ เขต 5
สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5 404 หมู่ 10 ฮอด-วังลุง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240