การประเมินผลสมรรถนะ และการพัฒนาคุณครูในประเทศเกาหลีใต้
วันที่ 17 สิงหาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ได้จัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพครู OTEPC International Forum on Teaching Profession Developmemt 2023 การประเมินผลการปฏิบัติงานของครูและการพัฒนาคุณภาพการสอนสู่ความสำเร็จของผู้เรียน (Teacher Performance Appraisal and Teaching Quality Development:The Making of Successful Learners)
Starfish Labz จึงได้ถอดองค์ความจากเวทีการประชุมนานาชาติ ฯ ในช่วง Keynote Address โดย Professor Chan Lee จาก Seoul National University, South Korea มาบรรยายพิเศษเรื่องการพัฒนาและประเมินสมรรถนะครูในประเทศเกาหลีใต้ โดยมี 3 ประเด็นหลักต่อไปนี้
- ประเด็นที่ 1 : การประเมินสมรรถนะครูในประเทศเกาหลีใต้
แต่ละประเทศมีระบบการประเมินครู เพื่อปรับปรุงระบบการศึกษา เน้นเรื่องสมรรถนะของครูที่แตกต่างกัน เช่น ประเทศอังกฤษ จะมีการทำงานวิจัยในการพัฒนาแรงจูงใจที่ให้ครูพัฒนาตัวเองได้ ประเทศเยอรมันจะมีนโยบายตนเอง เช่น เรื่องระบบการประเมินครูของแต่ละรัฐ ประเทศจีน จะมีเรื่องผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งแต่ละประเทศจะมีนโยบายที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้นในฐานะครู จึงไม่ใช่แค่การประเมินผลสมรรถนะของครูอย่างเดียว แต่ต้องดูที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนด้วย เพราะสิ่งนี้คือหลักฐานที่ชัดเจนที่สุด
ระบบการประเมินผลที่เกาหลี ตั้งแต่ 1962 ประมาณ 61 ปีที่แล้วที่เริ่มต้นประเมิน ได้มีการพัฒนาและทบทวนระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่มีระบบใดที่สมบูรณ์แบบ โดยมีการร่วมมือกันของผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ คุณครู และผู้ปกครอง แต่ไม่ว่าระบบการประเมินผลจะดีเพียงใด แต่ถ้าหากขีดความสามารถของครูไม่ได้ถูกพัฒนา ผลลัพธ์ก็อาจจะไม่เป็นผล
ในระบบเกาหลีใต้ เด็กมัธยมปลายส่วนใหญ่จะไปเรียนศึกษาศาสตร์ และครุศาสตร์ นักเรียนที่เก่งอยากเป็นครู เพราะอะไร ? เงินเดือนสูง หรือภาคเรียนที่หยุด หรือ มีอายุเกษียณอายุ 62 ปี หรือเพราะ ความมั่นคงทางวิชาชีพ ดังนั้น เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผล ซึ่งแต่เดิมคือ ครูใหญ่ หรือผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้ประเมินคุณครูเท่านั้น แต่ปัจจุบัน ได้มีการปรับปรุงการประเมินผลคุณครูใหม่ โดยให้มีการ
1) ครูประเมินกันเอง
2) นักเรียนประเมินครู
3) ผู้ปกครองประเมินครู
แต่ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ประเทศเกาหลีได้ตัดการประเมินผลของเพื่อนครูด้วยกันเองออกไป เพราะไม่ได้สอนแบบเจอกัน เมื่อครูประเมินกันเอง อาจจะไม่ได้เป็นหลักประกันที่ดีที่สุด แต่ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องความหลากหลายของครู ความเห็นของพ่อแม่ และเด็กนักเรียน เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณมาก จึงต้องมีการสร้างเกณฑ์ที่แน่นอน
ระบบการประเมินผลของเกาหลีใต้ ให้พ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินครู โดยเข้าสู่ระบบในการประเมินคุณครูได้ แต่ข้อด้อย คือ ครูไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ประเมินตนเอง อาจจะได้อ่านความเห็นที่ไม่เป็นประโยชน์บ้าง แต่นั่นก็เป็นจริงที่จำเป็นต้องทำ
ขั้นตอนในการประเมินพัฒนาสมรรถนะครู
1) ติดตั้งข้อมูลโรงเรียน เช่น ชื่อผู้อำนวยโรงเรียน หรือ ข้อมูลโรงเรียนอื่นๆ
2) ติดตั้งข้อมูลครู เช่น วิชาที่ครูสอน ห้องเรียน การให้คะแนนต่างๆ
3) กำหนดผู้ประเมิน เช่น จะรวมนักเรียน หรือพ่อแม่ด้วยก็ได้
4) กำหนดขอบเขตของการประเมิน องค์ประกอบและค่าคะแนน
5) กำหนดเกณฑ์การประเมิน เช่น คำถามที่จะใช้ในการประเมิน และผู้ประเมิน
6) กำหนดช่วงเวลาของการประเมิน
7) เริ่มต้นการประเมินจากนักเรียนและผู้ปกครอง
8) จบกระบวนการประเมิน
- ประเด็นที่ 2 : ครูประเมินตนเอง และการประเมินจากเพื่อนครู (Teacher Self-Assessment and Peer Reviews
ถึงแม้เราจะมีผลการประเมินจากผู้ปกครอง และนักเรียนแล้ว เรายังจำเป็นต้องมีการที่ครูประเมินครูด้วยกระบวนการ Micro Teaching คือ การสอนแบบจุลภาค วิธีการคือ
1) กระบวนการ สอน 5-20 นาที
2) มีการบันทึกวิดีโอในจุดต่างๆ ทั้ง 4 จุด โดย เห็นหน้านักเรียน เห็นกระดานของคุณครู เห็นภาพมุมกว้างด้านหลัง และภาพมุมกว้างด้านหน้า และมีการสะท้อนการเรียนรู้ โดยมีการประเมินจากภายนอก และคุณครูด้วยกันเอง ตัวอย่างในวิดีโอ : คุณครูสะท้อนการเรียนรู้จากเห็นตัวเอง คือ ตัวเองมีความเข้มงวดมากเกินไป และได้มีการเขียนบันทึกสะท้อนการสอนของตัวเอง
3) มีการ Coaching เพื่อเป็นการทำให้ครูมีความสามารถมากขึ้น
4) ครูปรับปรุงการสอนของตัวเอง เช่น ครูท่านเดิมได้มีการปรับเรื่องการแสดออกทางความรู้สึกของตัวเอง จนนักเรียนสะท้อนว่าเข้าใจครูมากขึ้น
สรุป คือ การสอนแบบ Micro Teaching ทำให้คุณครูเห็นตัวเอง และสิ่งที่สำคัญคือการยอมรับผลสะท้อนของนักเรียน และเพื่อนครู จะทำให้ครูพัฒนาขึ้น
- ประเด็นที่ 3 : นัยยะที่มีผล
ในคลิปวิดีโอบรรยาย ได้มีการแสดงให้ภาพการสังเกตการสอนของห้องเรียน ซึ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ในห้องเรียนไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร แต่เมื่อคุณครูให้นักเรียนได้ทำกระบวนการกลุ่ม ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดีขึ้น จึงได้มีการนำผลลัพธ์มาสะท้อนการเรียนรู้ในวงประชุม (เรียกว่าการเปิดชั้น Open-Class) ทำให้เกิดแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป ดังนั้น นวัตกรรมในชั้นเรียนจะเกิดขึ้นได้ หากคุณครูทำงานร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีก่อนที่จะสอนใหม่อีกครั้ง
กระบวนการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสอนและการเรียนรู้ เพื่อสร้างขีดสมรรถนะ
ขั้นที่ 1 : แลกเปลี่ยนทัศนคติจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
ขั้นที่ 2 : ใช้ช่วงเวลาปิดภาคเรียนในการพัฒนาตนเองของคุณครู การทำวิจัย และทำกระบวนการ Micro Teaching และเปิดชั้นเรียน
ขั้นที่ 3 : การออกแบบการเรียนการสอนมาจากฐานการทำงานจริงของครู เช่น ข้อค้นพบระหว่างการสอน บทเรียนใดที่ประสบความสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ และหลังจากนั้น ครูจึงออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับความต้องการของผู้เรียน
Related Courses
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ
สพป. เชียงใหม่ เขต 5
สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5 404 หมู่ 10 ฮอด-วังลุง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...