Shaping the Future of Work การเปลี่ยนแปลงและโอกาส
วันที่ 8 ตุลาคม 2566 งานเทศกาลการศึกษา FutureEd Fest 2023 มีกิจกรรม Panel Discussion ที่น่าสนใจเพราะเชิญผู้เชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตดังรายละเอียดหัวข้อการแลกเปลี่ยนช่วงที่ 2 ต่อไปนี้
“Shaping the Future of Work: การเปลี่ยนแปลงและโอกาส”
โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ รศ.ดร.สมเกียรติ อินทสิงห์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ คุณภฤศ วรรัตนวงศ์ กรรมการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษากรุงเทพมหานครและกรรมการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษากรุงเทพมหานครชวนพูดคุย โดย คุณดนู สิงหเสนี (ดีเจตั้ม)
คำถามที่ 1: เราจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
คุณสมเกียรติ : เราเข้าสู่โลกดิจิทัลและตลาดแรงงานได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมีการใช้ปัญญาประดิษฐ์ต่างๆ ดังนั้น ทักษะทางด้านเทคโนโลยีมีความสำคัญมากและ Soft Power ก็เป็นเรื่องที่มาแรงเช่น 5F ได้แก่ อาหาร (Food) ภาพยนตร์ (Film) เทศกาลต่างๆ (Festival) แฟชั่นเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (Fashion) ศิลปะการต่อสู้ (Fighting) เป็นธุรกิจที่มาแรงดังนั้น โรงเรียนจะต้องตอบโจทย์เรื่องนี้มากขึ้นและอีกมิติหนึ่งคือภาครัฐจะต้องทำอะไรให้เร็วขึ้นเพื่อส่งเสริมซึ่งกันและกันในส่วนของโรงเรียนเราจะต้องพัฒนาสมรรถนะครูให้มีการ Reskill และ Upskill ระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่เข้าด้วยกัน
คำถามที่ 2: การขับเคลื่อนในมุมมองการศึกษาของกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไรบ้าง
คุณภฤศ : Skill ที่สำคัญที่สุดคือ Resilence เด็กต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเด็กๆ ต้องได้ลองทำไปเรื่อยๆ ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบยังไม่ต้องสนใจว่าอาชีพนี้จะหายไปหรือไม่หายกลับบ้านไปขอให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องไปลองทำ เช่น ไปหาค่ายส่วนคุณครูก็ไปเปิดโอกาสให้เด็กได้ลองทำเลยเพราะน้องจะได้ทักษะของการตั้งคำถามและแก้ปัญหาได้อีกอย่างหนึ่ง คือ ทักษะการเป็น Care Giver การดูแลผู้สูงอายุเพราะเมืองไทยของเรากำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ หรือ การเป็นเมืองท่องเที่ยวเรามาสร้างให้น้องมีทักษะนี้ได้เลยเรียนได้ตั้งแต่วันนี้ได้เลย
คำถามที่ 3 : Shaping the Future อย่างไรดี
คุณสมเกียรติ : คนหนึ่งคนสามารถประกอบอาชีพได้หลายอาชีพและความสามารถด้านหนึ่งจะไปสนับสนุนทักษะอีกด้านหนึ่งและเชื่อมไปสู่การประกอบอาชีพที่ทำได้หลายอย่างองค์ประกอบของคนยุคใหม่ คือ ต้องทำได้หลายอย่าง (Multitaking) และเราอย่าหยุดการเรียนรู้ต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) และให้โอกาสตัวเองได้ทดลองสิ่งใหม่ๆมากยิ่งขึ้น เช่น เรื่องหลักสูตรต้องลดเนื้อหาให้น้องๆ ได้มีพื้นที่ในการค้นหาตัวเองใช้หลักคิดของ Work-Based Learning ที่มากขึ้นเพื่อให้น้องๆ สามารถเข้าถึงอาชีพได้เร็วขึ้นเพราะโลกแห่งการทำงานในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วดังนั้นครูและผู้บริหารจึงจำเป็นต้อง 4 เปิด เปิดหู เปิดตา เปิดใจและเปิดโลกการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างสมรรถนะในการเรียนและการทำงานให้กับผู้เรียนได้อย่างมีนวัตกรรม
คุณภฤศ : ฝึกการเตรียมตัวตามช่วงอายุ เช่น เมื่อเข้าสู่วัยเด็กประถม ต้องเรียนรู้เรื่อง EF น้องต้องสามารถตั้งเป้าหมาย แก้ปัญหาและวางแผนเป็นและ Self คือการมีตัวตนและเมื่อเข้าสู่วัยมัธยม คือ การได้ลงมือทำการตั้งโจทย์ให้แก่ตัวเองและการแก้ปัญหารอบตัวเพื่อตัวเองและคนอื่น สุดท้ายเมื่อเข้าสู่วัยทำงานคือ ทดลองเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เพื่อการเปิดโลกความสามารถของตนเอง
จากกิจกรรม Panel Discussion ในช่วงที่ 2 ในหัวข้อ “Shaping the Future of Work: การเปลี่ยนแปลงและโอกาส” ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้มุมมองที่ชัดเจนมากขึ้นว่าเราจะต้องพัฒนาตนเองอย่างไรบ้างเพื่อก้าวเข้าสู่โลกอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความใกล้เคียง
Related Courses
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ชุมชนการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการพัฒนา
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้บุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้แ ...