คาดหวังลูกมากเกินไป ดีหรือไม่ดีต่อลูกอย่างไร
คงเป็นเรื่องปกติมากๆ ที่พ่อแม่อยากที่จะให้ลูกคนหนึ่งประสบความสำเร็จ และเป็นเด็กที่สมบูรณ์แบบ ไปซะทุกๆ เรื่อง ซึ่งพ่อแม่แต่ละคนก็มีความคาดหวังที่ไม่เท่ากัน ยิ่งลูกโตขึ้นความคาดหวังของพ่อแม่ก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งการคาดหวังของพ่อแม่นั้นหากมากเกินไปมันจะส่งผลดีผลเสียยังไงกับลูกบ้าง และแบบไหนที่เรียกว่าพอดี วันนี้ทางผู้เขียนจะมาบอกถึงข้อดีและข้อเสียกัน ไปดูกันเลย
เรามาดูกันก่อนนะคะว่า พ่อแม่แบบไหนที่แสดงให้เห็นว่าเป็น “คุณพ่อคุณแม่ที่คาดหวังลูกมากเกินไป” ซึ่งได้แก่
- พ่อแม่ที่ติมากกว่าชม : เพราะพ่อแม่บางคนรับไม่ได้กับความผิดหวังหรือผิดพลาดของลูก ทำให้เมื่อไหร่ก็ลูกทำไม่ดีขึ้นมาพ่อแม่ก็คอยจะติ ซึ่งการที่ลูกเผชิญกับคำติที่มากเกินไป มันจะกลายเป็นเรื่องที่เลวร้ายกับตัวเด็กได้ เพราะฉะนั้นควรมองด้านดีของลูกและแสดงคำชื่นชมกับเขา ดีกว่ากดดันเขาด้วยคำพูดที่ติดลบค่ะ
- พ่อแม่ชอบเปรียบเทียบ : ซึ่งข้อนี้ถือว่าไม่ดีมากๆ เพราะการตอกย้ำในบางเรื่องจะทำให้เด็กๆ ต้องกดดันและพยายามแข่งขันด้วยการเอาชนะอยู่ตลอดเวลา หากพลาดขึ้นมาเขาก็อาจจะเสียใจมากหรือไม่ทำในสิ่งนั้นอีกเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นพยายามสอนให้ลูกแข่งขันกับตัวเองมากกว่าที่จะเอาลูกไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ สอนให้เขาใช้ทักษะด้วยการฝึกฝนโดยไม่ต้องสนใจคนรอบข้างและเอามาเป็นข้อเปรียบเทียบกับเขานั่นเองค่ะ
- คาดหวังลูกจนอารมณ์เสียบ่อย : การกดดันลูกไม่ใช่เพียงแค่ลูกจะรับรู้ความรู้สึกได้เพียงคนเดียวนะคะ พ่อแม่ก็รู้สึกกดดันในความคาดหวังด้วย เมื่อไหร่ที่ลูกทำไม่ได้ดั่งใจ พ่อแม่ก็จะรู้สึกหงุดหงิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หากพ่อแม่คนไหนเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าคุณเป็นคนที่ชอบกดดันและคาดหวังลูกจนไปนั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นการกดดันไม่ใช่ทางออกที่คุณหรือว่าลูกจะประสบความสำเร็จหรอกนะคะ มันจะทำให้แย่ลงต่างหาก ทางที่ดีควรหาความพอดี และสอนลูกให้ทำให้ดีที่สุดโดยไม่ต้องคาดหวังจะดีกว่าค่ะ
- พ่อแม่ที่คอยควบคุมทุกอย่าง : เพราะการคาดหวังก็มักจะมาพร้อมกับการควบคุม และการควบคุมก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่ยิ่งเสี่ยงที่จะเป็นพ่อแม่ที่กดดันและชอบคาดหวังลูกสูงเกินไปนั้นเอง โดยเรื่องที่จะควบคุมง่ายๆ อย่างเช่น บังคับให้ทำการบ้าน งานบ้าน ขนาดเล่นก็ต้องบังคับ เพื่อให้เป็นดั่งใจที่พ่อแม่หวัง ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้เด็กๆ รู้สึกอึดอัดและไม่เป็นอิสระ จะทำอะไรก็ทำอย่างไม่มั่นใจ บางทีคุณพ่อคุณแม่เองก็ควรจะให้เขาได้ลองผิดลองถูกจะดีกว่านะคะ ลองให้เขาได้เห็นผลลัพธ์ในสิ่งที่เขาทำ ทั้งเรื่องดีและไม่ดี เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับลูกในทางที่ดีต่อๆ ไปนั่นเองค่ะ
ควาดหวังแบบไหนถึงเรียกว่าพอดี
1. ต้องคาดหวังให้ตรงกับศักยภาพของลูก
พ่อแม่เองต้องคอยหมั่นสังเกตว่าลูกชอบหรือถนัดอะไรเป็นพิเศษ และคอยสนับสนุนเขาในด้านนั้นๆ แทนการบังคับหรือกดดัน เพียงเพราะความคาดหวังของเรา เพราะการคาดหวังในสิ่งที่ลูกไม่ถนัดนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเด็กแต่ละคนก็มีความถนัดเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป หากพ่อแม่ทราบว่าลูกถนัดอะไร จุดด้อยจุดเด่นคืออะไร ก็คอยส่งเสริมให้ถูกทางจะดีกว่าค่ะ เพราะสิ่งที่ลูกทำนั้นหากเป็นสิ่งที่ลูกชอบหรือรัก เชื่อเลยว่าสิ่งนั้นจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
2. ต้องคาดหวังแบบร่วมด้วยช่วยกัน
ข้อนี้ถือว่าต้องใช้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายเลย ระหว่างลูกและผู้ปกครอง เพื่อตัดสินใจในแนวทางและความคาดหวัง ถือแม้ว่าเรื่องที่ลูกคาดหวังอาจจะเป็นไปได้อยาก แต่ก็อยากให้พ่อแม่ลองเปิดใจรับฟังไว้เสียก่อน ให้เขาได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น จะทำให้เด็กๆ เข้าใจเหตุผลของพ่อแม่ในการตัดสินใจมากขึ้น และเด็กๆ จะยินดีที่จะปฏิบัติตามที่เราบอก โดยเป็นแนวทางที่ถูกคนลงความเห็นด้วยกันแบบไม่ต้องบังคับ กดดัน วิธีนี้ถือว่าจะช่วยลดความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับเด็กได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ
3. ต้องคาดหวังแบบไม่น้อยและไม่มากเกินไป
พ่อแม่ที่คาดหวังมากไป ก็จะทำให้เด็กมีปฏิกิริยาต่อต้าน และส่งผลต่อจิตใจเด็กเมื่อเขาผิดหวัง แต่หากน้อยเกินไปหรือไม่คาดหวังเลย ก็จะทำให้เด็กๆ ขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย ในการทำสิ่งต่างๆ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเดินทางสายกลาง โดยการคาดหวังที่พอดีไม่กดดันจนลูกรู้สึกแย่ หรือเรียกว่า เอาใจใส่ลูกมากกว่าที่จะกดดันหรือคาดหวังลูกจะดีกว่า คอยอยู่เคียงข้างเขาให้เขาได้ลองทำในสิ่งต่างๆ แบบที่มีเราคอยเป็นเทรนเนอร์ที่ดีจะดีกว่าค่ะ
เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญเลยสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่คาดหวังลูกมากเกินไปนั้น ก็คือ การวางความคาดหวังไว้บนความต้องการของลูก และพร้อมที่จะผลักดันและเป็นกำลังใจให้ลูกมากกว่าที่จะเป็นคนที่คอยคาดหวัง ลองให้อิสระในความคิดและชีวิตของลูก และคอยเป็นสิ่งที่ช่วยดึงเมื่อลูกล้ม ก็เพียงพอที่จะทำให้ลูกกลายเป็นเด็กที่ไม่กดดัน และเราเองก็จะเป็นพ่อแม่ที่ไม่คาดหวังจนลูกกลายเป็นเด็กที่อมทุกข์ตลอดไปนั่นเองค่ะ
Related Courses
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...