บทบาทผู้อำนวยการสนับสนุนสถานศึกษาในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) Inskru Eduzone และ Starfish Labz ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วPA ของตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในหัวข้อ “ผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลง”
โดย Starfish Labz ขอนำความรู้จากการบรรยายในหัวข้อย่อย “บทบาทผู้อำนวยการสนับสนุนสถานศึกษาในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง” โดยรศ.ดร.ธีรภัทร กุโลภาส มาเผยแพร่ให้ชาว Starfish Labz ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ผู้อำนวยการโรงเรียน มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนขนาดไหน ?
- ผลงานวิจัย ชื่อว่า How Principals Affect Students and Schools มีผลวิจัยออกมาว่าผู้อำนวยการโรงเรียนมีอิทธิพลต่อผู้เรียน เช่น สิ่งที่ผู้อำนวยการทำต่อครู ส่งผลต่อห้องเรียน (ทางอ้อม) ส่วนทางตรงอย่างเช่นโรงเรียนเล็กที่ผู้อำนวยการจะต้องสอนหนังสือเองด้วย
- ถ้าผู้อำนวยการเก่งสามารถพลิกฟื้นโรงเรียนได้เทียบเท่ากับครูที่เก่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงห้องเรียนได้
- ในบริบทท้าทาย ผู้อำนวยการมีผลต่อการเรียนรู้นักเรียนมากกว่าโรงเรียนในเมือง
- การลงทุนพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จให้ผลที่คุ้มค่าไม่น้อยกว่าการลงทุนพัฒนาระบบการศึกษาด้านอื่น
ทำไมผู้อำนวยการสถานศึกษาจึงต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลง ?
“เพราะโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปตลอดถ้าหยุดเรียนรู้เพียงเสี้ยววินาทีเดียว เราจะตามคนอื่นไม่ทัน” ตัวอย่างคำตอบ
- การปรับตัวกับแนวโน้มทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลง
- การเตรียมผู้เรียนเพื่ออนาคต
- การสนองความต้องการที่จำเป็นที่เปลี่ยนแปลงของผู้เรียน
- การพัฒนาทางวิชาชีพครู เช่น วPA
- การร่วมมือรวมพลังกับผู้ปกครอง ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การปฏิบัติตามนโยบายกฎหมายและการรับผิดชอบ
มาตรฐานตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา
- ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ
- ด้านการบริหารการจัดการสถานศึกษา
- ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม
- ด้านการบริหารวิชาการชุมชนและเครือข่าย
- ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง VS ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง
- หนังสือที่แนะนำให้อ่านทั้งหมด 3 เล่ม ได้แก่ Leading Change โดย John Kotter Leading In A Culture of Change โดย Michael Fullan และคู่มือการพัฒนาผู้บริหารของรัฐมินิโซต้า
- บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความแตกต่างกับผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง โดยผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะมีหน้าที่ดังนี้ 1. สร้างความรู้สึกเร่งด่วน 2. ร่วมพัฒนาและสื่อสารวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและจับใจ 3. สร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติงาน 4.เข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลง 5. กระจายความสำเร็จ 6. สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร 7. พัฒนาภาวะผู้นำตนเอง
- บทบาทผู้บริหารการเปลี่ยนแปลง มีหน้าที่ดังนี้ 1. การสร้างทีมและร่วมมือรวมพลังกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 2. การออกแบบและนำแผนสู่การปฏิบัติ
- การบริหารการเปลี่ยนแปลงไม่เพียงที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงจะต้องเพิ่มการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วย
บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง “การเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ ต้องใช้ทั้งการบริหารและภาวะการเป็นผู้นำ ความล้มเหลวในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากภาวะผู้นำที่ผิดพลาดมากกว่าการบริหารที่ไม่ดี” Randy Pennington
- สร้างความรู้สึกเร่งด่วน (Create Sense of Urgency) เป็นการระบุปัญหาหรือภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นด้วยการใช้ข้อมูลสนับสนุน (สถิติ/ผลวิจัย) / สื่อสารและหาแนวร่วม เพื่อให้ครูและนักเรียน ผู้ปกครองเข้าใจในผลที่ตามมา (การเรียนรู้ถดถอย-นักเรียนลด) / เล่าเรื่องราวด้วย Story telling เพื่อให้ครูเกิดแรงบันดาลใจ
- ร่วมกันระบุปัญหาของสถานศึกษา เพื่อตอบว่าทำไมโรงเรียนจึงจำเป็นที่ต้องปรับแนวทางปฏิบัติอย่างเร่งด่วน / ครูผู้นำส่วนใหญ่ต้องเชื่ออย่างจริงใจว่าไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด / ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระบุปัญหา เนื่องจาก ผู้บริหารไม่ได้เข้าใจปัญหาทั้งหมดไม่มียารักษาทุกโรคบางคนต่อต้าน
- ร่วมพัฒนาและสื่อสารวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและจับใจ คุณสมบัติวิสัยทัศน์ที่มีประสิทธิภาพ 6 ประการได้แก่ 1.โรงเรียนจะเป็นอย่างไรเมื่อการเปลี่ยนแปลงสัมฤทธิ์ผล 2.มีพลัง 3.มีความเป็นไปได้วัดได้และทำได้ 4.มีจุดเน้น อยู่ในเป้าหมายที่จัดการได้และสอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร 5.มีความยืดหยุ่น 6.ง่ายต่อการสื่อสารไปยังคนทุกระดับในสถานศึกษา
- สื่อสารวิสัยทัศน์ ได้แก่ 1. สื่อสารความจำเป็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง 2. จัดการกับข้อกังวลและการคัดค้าน 3. สร้างความเป็นเจ้าของร่วม มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันและจัดทรัพยากรและหน้าที่ไปในทิศทางเดียวกัน 4. สื่อสารอย่างต่อเนื่องและใช้ช่องทางที่หลากหลาย 5. ผู้นำต้องพบเห็นได้ เปิดเผย เปิดใจและรับฟังความคิดเห็นเพื่อตอบสนองการต้องการของเขาได้และสื่อสารในแง่ของการพัฒนาโรงเรียนเพราะต้องการครูที่เก่งไม่ใช่ครูสอนไม่เก่ง / บอกผลดีที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนอื่นที่ประสบความสำเร็จ / แนวทางในการตัดสินใจและลำดับความสำคัญของกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน
- สร้างความสอดคล้องในการปฏิบัติงาน (Create Coherent) ทำได้ด้วย 1.สร้างความเชื่อมโยงระหว่างงาน และโครงการต่างๆ ในโรงเรียนกับเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง 2.วิเคราะห์นโยบายต้นสังกัดกับเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง 3.นำเป็นตัวอย่าง (เทคโนโลยี, วPA) 4. ครูและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจและนำสู่การปฏิบัติของตน
- เข้าใจผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อผู้อื่น โดยการ 1.เข้าใจและรับรู้ถึงปฏิกิริยาของครูและบุคลากรต่อการเปลี่ยนแปลงและสนองอย่างสุขุม 2.ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการออกแบบการนำแผนการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิบัติ 3.ให้เวลาและพื้นที่ในการปรับตัวและทบทวนการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ
- กระจายความสำเร็จ โดยการ 1) มองหาครูแกนนำ 2) เฉลิมฉลองให้กับการเปลี่ยนแปลงระยะสั้น 3) สื่อสารกับครูที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง โดยคุณสมบัติของผู้นำการเปลี่ยนแปลง 1. เชื่ออย่างแท้จริงว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกอย่างยั่งยืน 2. สามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ได้อย่างน่าเชื่อถือ และมีพลัง 3. มีทักษะด้านบุคคลรู้ลึกเรื่องโรงเรียนสามารถทำงานให้สำเร็จ “รู้ลึกมีประสบการณ์สายปฏิบัติ”
- สร้างชัยชนะระยะสั้น โดยการ 1) รับทราบและยอมรับความสำเร็จ 2) ให้ข้อเสนอแนะในเชิงบวก 3) เฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญ 4) แบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จ 5) ให้รางวัลที่เป็นทางการ มีระบบและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน 6) ตอบสนองและมองหาประโยชน์จากครูผู้ต่อต้าน
- สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร โดยการ 1.ส่งเสริมการเรียนรู้และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 2.ทบทวนและปรับปรุงโครงสร้าง นโยบายและกระบวนการต่างๆ เป็นประจำ 3.จัดทำแนวทางปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จบูรณาการเข้ากกับการปฏิบัติงานประจำวัน 4.มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมและการทดลองแนวคิดใหม่ๆ 5.ส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นทีม
- พัฒนาความเป็นผู้นำของตนเอง โดยการ 1) ช่วยให้เข้าใจแง่มุมทางอารมณ์ของการเปลี่ยนแปลงส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจลึกซึ้ง 2) สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับครูบุคลากรและนักเรียน 3) พิจารณาคำพูดการกระทำและการตัดสินใจที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3) อยู่ให้เห็นเป็นแรงบันดาลใจแถลงไขวิสัยทัศน์อย่างไม่หยุดหย่อน 4) ระบุการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ฉลอง และสร้างแรงบันดาลใจต่อให้ทำมากขึ้น
เพราะอะไรคนถึงต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
- การต่อต้านเป็นเรื่องธรรมชาติของคน “ทำไมฉันต้องยกเลิกสิ่งที่ทำอยู่”
- มักมองเห็นผลร้าย สิ่งที่ไม่คาดคิดที่มาจากการเปลี่ยนแปลง
- มีปฏิกิริยาไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่ลดผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง
- มักไวต่อค่านิยมเดิมที่ผู้เข้ามาเปลี่ยนแปลงมักไม่เข้าใจ
เทคนิคการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง
- กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาการทำงานแบบใหม่ๆ
- หาวิธีการที่จะสร้างความเชื่อมั่น ต่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดกับครูทุกคน
- ส่งเสริมให้ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลงานความสำเร็จได้ก้าวหน้าทางวิชาชีพ
บทบาทผู้นำการเปลี่ยนแปลง “โรงเรียนประถมศึกษาต้องใช้เวลา 3 ปีจึงจะประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของนักเรียน ขึ้นอยู่กับขนาดโรงเรียนมัธยมศึกษาอาจใช้เวลาถึง 6 ปี” Michael Fullan
สร้างทีมและร่วมมือรวมพลังกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการยกตัวอย่างโครงสร้างการสนับสนุนการเรียนรู้ของครูโดยมีชั้นเรียนเป็นศูนย์กลางของทุกกลไกที่เกี่ยวข้องพื้นที่สำคัญในการพัฒนาเชิงวิชาชีพประกอบไปด้วยกำลังหลักต่อไปนี้ 1. ผู้ให้คำแนะนำที่ดีในการพัฒนาการสอน 2. เพื่อนครูที่สอนในระดับชั้นเดียวกัน 3. ครูใหญ่ผู้อำนวยการและผู้ช่วย 4. ศึกษานิเทศก์และคณาจารย์มหาวิทยาลัย
ออกแบบและนำแผนสู่การปฏิบัติ โดยการ 1.กำหนดเป้าหมายและความสอดคล้องของวิสัยทัศน์โรงเรียนกับของต้นสังกัด 2.กำหนดหลักฐานความสำเร็จ 3.จัดตั้งทีมเพื่อรับผิดชอบแต่ละเป้าหมาย 4.การบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5.กำหนด Timeline 6.ประชุมพูดคุยกันสม่ำเสมอเพื่อติดตามและปรับทบทวนเป้าหมาย 7.ประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าของงาน
สรุปใจความสำคัญ คือ บทบาทของผู้อำนวยการสถานศึกษาในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีทั้งภาวะผู้นำ และการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพราะถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงจะได้เกิดขึ้น ดังเช่นรูปภาพด้านล่าง
Related Courses
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง
ชุมชนการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการพัฒนา
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เป็นแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้บุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้แ ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ