ครู Smart ทำได้ สร้างห้องเรียนสมรรถนะ ตามเกณฑ์ วPA หัวข้อ “ไอเดียในการสร้างสรรค์ วPA สู่คุณภาพของผู้เรียน”
จากการกำหนดมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะของครู และบุคลากรทางการศึกษา
(วPA) ให้มีความเหมาะสมทำให้ครูต้องปฏิบัติงานตามลักษณะงาน และมีผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานตำแหน่ง เพื่อยกระดับคุณภาพที่จะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ดีขึ้น ซึ่งในการพูดคุยในครั้งนี้ จะเป็นการแบ่งปันไอเดียในการสร้างสรรค์ วPA สู่คุณภาพของผู้เรียน เพื่อสามารถนำไปประยุกต์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้
เห็นได้ว่า การมี PA เป็นเครื่องมือช่วยให้การทำงานเป็นระบบ และคำนึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น จากแนวคิดที่หลากหลายของ กสศ. ไม่ว่าจะเป็น Back to school, Focus on classroom หรือ Teacher as a key success. สิ่งแรกคือ ครูมีความเข้าใจและเปิดใจยอมรับ PA เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ ซึ่ง PA ถือได้ว่าเป็นจุดเชื่อมต่อ Line of accountability ในการที่ผู้บริหาร ครู และศึกษานิเทศก์ สามารถทำงานประสานความร่วมมือ เพื่อเป้าหมายเดียวกัน ในการที่จะพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ตามบริบทและจุดเน้นของแต่ละสถานศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดไอเดียในการทำ PA ของครูแต่สิ่งที่สำคัญ คือ
1) ครูทำ PA ตามระดับปฏิบัติที่คาดหวัง เนื่องจากครูแต่ละคนมีวิทยฐานะหรือเป้าหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้น การกำหนดประเด็นท้าทายของครู สะท้อนให้เห็นถึงระดับปฏิบัติการที่คาดหวัง
2) ครูได้ศึกษาบริบท นโยบาย จุดเน้นของต้นสังกัด โรงเรียน หรือพิจารณาจากบริบทของครู
3) นวัตกรรมที่ครูนำมาใช้ สามารถจำแนกได้ คือ “ส – สอน” ซึ่งครูกลุ่มนี้จะใช้ลักษณะการสอนเป็นทฤษฎี รูปแบบและเทคนิคการจัดการเรียนรู้ มาใช้เป็นประเด็นท้าทาย และ “ส – สื่อ” การใช้สื่อในรูปแบบต่าง ๆ นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้ ในการเขียนประเด็นท้าทาย ให้มีความสอดคล้องกับวิทยฐานะ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ การรู้ตนเอง การรู้หลักเกณฑ์ การรู้เป้าหมาย การรู้บริบทของสถานศึกษา การกำหนดประเด็นท้าทาย การวางเป้าหมายในการดำเนินการ และการดำเนินงานสู่ผลลัพธ์ที่คาดหวัง นอกจากนี้ การเขียนประเด็นท้าทายให้สะท้อนถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ประกอบด้วย “6 ทำ” คือ
1) ทำไมถึงทำ
2) ทำเพื่ออะไร
3) ทำอย่างไร
4) ทำแล้วเป็นอย่างไร
5) ทำแล้วเกิดผลอย่างไร
6) จะทำอย่างไรต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีงบประมาณ ครูแต่ละท่านจะมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ในการทำ PA เพื่อจะคงวิทยฐานะ ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ถือได้ว่าตอบโจทย์การจัดการเรียนรู้ตามระดับวิทยฐานะ ฉะนั้น ครูจะต้องทราบเป้าหมายของตนเอง โดยในส่วนของผลงานที่จะยื่นขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะผ่านระบบ DPA นั้น อาจจะเป็นเรื่องเดียวกัน หรือสอดคล้องกับประเด็นท้าทายก็ได้ หรืออาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ไม่สอดคล้องกับประเด็นท้าทาย ที่ทำในปีงบประมาณที่ผ่านมาก็ได้ ดังนั้น การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ครูต้องตอบ 5 ข้อคำถามหลัก ดังนี้
1) ต้องการให้นักเรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ KSA + C (Competency) อะไรบ้าง
2) จะจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ทักษะเหล่านั้นอย่างไร
3) สามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างไร
4) ครูมีการเตรียมความพร้อม หรือเข้าถึงให้นักเรียนมีพื้นฐานที่เพียงพอ ก่อนการเรียนรู้ในเนื้อหาที่ครูเตรียมไว้อย่างไร
5) ครูจะทำอย่างไรกับนักเรียนบางคนที่มีความก้าวหน้าหรือเก่งมากกว่าคนอื่น นี่คือ 5 คำถามหลักที่ครูจะต้องนำมาพิจารณาในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ สิ่งสำคัญคือ ในการเขียนแผนเนื้อหาจะต้องสอดคล้องกับหลักสูตร สาระการเรียนรู้ และระดับชั้นของผู้เรียน รวมทั้งเนื้อหาต้องมีความถูกต้อง
เห็นได้ว่า ในการเขียน วPA ครูอาจจะต้องดูในระดับวิทยฐานะที่สูงขึ้น แต่สิ่งที่จำเป็นในการช่วยครูให้ตอบโจทย์กับ 8 องค์ประกอบมากขึ้น ครูอาจจะดูมาตรฐาน ตัวชี้วัด ผลการเรียนรู้ เนื้อหาที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เรียน ระดับความยากง่าย และที่สำคัญคือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการสอนที่ และการวัดประเมินผลที่มุ่งสู่ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ทั้งนี้ สามารถรับชม รับฟังเพิ่มเติมได้ที่ https://fb.watch/hrCVAUDWIG/
บทความใกล้เคียง
5 แอปพลิเคชันช่วยคุณครูประเมินสมรรถนะของผู้เรียนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะ ตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
Related Courses
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
โปรแกรมการเรียนรู้สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาดูงานโรงเรียนปลาดาว
โรงเรียนปลาดาว ต้นแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่อนาคต
โรงเรียนปลาดาว เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะสำคัญทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต ผ่าน ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...