ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะ ตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
“แก่นของวิชาชีพครู คือ การเรียนรู้"
เราจำเป็นต้องไปให้ถึงระดับความคิด ความเชื่อ (Mentality) นั่นคือเปลี่ยนวิธีคิดวิธีสอนวิธีปฏิบัติ ที่คุ้นชินเดิมๆระบบวิทยฐานะใหม่ๆไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแค่หลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน แต่ต้องการเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ของผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูด้วย”
จากการยื่นขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะตามเกณฑ์ ว9/2564 ความเข้าใจในหลักเกณฑ์เป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากรูปแบบการประเมินได้มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งการประเมินวิทยฐานะแนวใหม่ (ระบบ PA) ผลงานที่ครูจะใช้เพื่อให้มี หรือเลื่อนวิทยฐานะ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้านที่ 1 ทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
ด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการ และในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับเทคนิคเคล็ดลับต่างๆ เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินในด้านที่ 1 ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำแผนการเรียนรู้ คลิปวิดีทัศน์การสอนและคลิปที่แสดงถึงปัญหาที่มาหรือแรงบันดาลใจ ทั้ง 3 ส่วนประกอบกัน เพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามเกณฑ์ ว9/2564 สำหรับเทคนิคการทำแผนการจัดการเรียนรู้ และคลิปวิดีทัศน์
1) การกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียน หรือชีวิตประจำวันของเด็กได้ ตามมาตรฐาน 8 ตัวชี้วัด
2) การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนตามระดับวิทยฐานะที่คาดหวัง
3) การจัดทำคลิปวิดีทัศน์การสอนเพื่อส่งเป็นผลงานด้านที่ 1 ที่ใช้ประกอบการประเมินเพื่อมีหรือเลื่อนวิทยฐานะไม่จำเป็นต้องตรงประเด็นท้าทายที่ระบุไว้ใน PA โดยจุดเน้นของคลิปคือ 8 ตัวชี้วัดที่สะท้อน Performance ในการจัดการเรียนรู้ของครูสู่ผู้เรียน แต่สามารถทำให้เป็นเรื่องเดียวกันเพื่อบูรณาการได้ แบ่งออกเป็น
1) ไฟล์วิดีทัศน์บันทึกการสอน ความยาวไม่เกิน 60 นาที ตามบริบทโรงเรียน
2) ไฟล์วิดีทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหา ที่มา หรือแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่เสนอ ความยาวไม่เกิน 10 นาที
ทั้งนี้องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ ว9/2564 ได้แก่สาระสำคัญจุดประสงค์ตามมาตรฐาน/ตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้กิจกรรม(ขั้นนำ ขั้นสอน ขั้นฝึกปฏิบัติและนำเสนอ ขั้นสรุป) สื่อประกอบ/แหล่งเรียนรู้การวัดและประเมินผลการบันทึกหลังสอน ผลงาน/ผลลัพธ์ของผู้เรียน และแบบประเมินต่างๆ
สำหรับการประเมิน แบ่งองค์ประกอบออกเป็น 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
1) ผลงานหรือผลการปฏิบัติจากการจัดการเรียนรู้ของครู
2) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้องถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills)
3) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities)
4) ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้องถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross-Function Skills) โดยเทคนิคสำคัญในการประเมิน คือการพิจารณาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมีความสอดคล้องในด้านใดซึ่งผลลัพธ์ที่จะนำเสนออาจเป็นชิ้นงานหรือผลการปฏิบัติก็ได้
เห็นได้ว่าในการทำ PA นั้นไม่ใช่เรื่องที่ยาก เพียงแค่ครูเริ่มเปิดใจ เตรียมความพร้อม เข้าใจธรรมชาติของเด็กเป็นหลัก เลือกเนื้อหาหรือเรื่องที่เด็กสนใจจัดทำแผนการเรียนรู้และจัดทำสื่อเพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้ และสามารถต่อยอดสู่การนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถรับชม รับฟังเทคนิค เคล็ดลับดี ๆ อีกมากมายเพิ่มเติมได้ที่
https://fb.watch/i9FHUgbk9W/ หรือ www.StarfishLabz.com
บทความใกล้เคียง
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
ยกระดับคุณภาพการอ่านการเขียนด้วยนวัตกรรม 3R จาก Starfish Education โดยโรงเรียนวัดปรังกาสี จังหวัดกาญจนบุรี
เทคนิคการจัดการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์ วPA
Related Courses
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model เป็นแนวทางสำคัญของครูที่จะช่วยลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรี ...
Micro Learning กระบวนการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอยด้วย PHET Model
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...