เทคนิคการใช้นวัตกรรมองค์ประกอบ 9 ด้านในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA
การบริหารจัดการตาม 9 องค์ประกอบ ถือเป็นภาพรวมที่สำคัญในการบริหารจัดการพัฒนาผู้บริหารและพัฒนาครูเพื่อให้เกิดคุณภาพทางด้านการศึกษาต่อผู้เรียนถ้าผู้บริหารมีความสามารถในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพครบตาม 9 องค์ประกอบก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อสถานศึกษา ครู ผู้เรียน และชุมชนได้อย่างยั่งยืน
“นวัตกรรมองค์ประกอบ 9 ด้าน คืออะไรมีส่วนช่วยในการเสริมพลังการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA อย่างไร”
จากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “PA เสริมพลังการบริหาร สร้างครูสอนดี ผู้เรียนมีความสุข” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2566 ให้กับผู้อำนวยการสถานศึกษาจำนวน 60 ท่าน ที่ผ่านการคัดเลือกโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จากผู้อำนวยการที่สมัครเข้าร่วมอบรมกว่า 2,000 คนจากทั่วประเทศกิจกรรมตลอด 2 วันนี้ Starfish Education ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้นวัตกรรม 9 องค์ประกอบในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA ซึ่งเป็นนวัตกรรมองค์ประกอบ 9 ด้าน เป็นเครื่องมือแห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบเป็นโมเดลในการบริหารจัดการโรงเรียนที่ทาง Starfish Education ได้คิดค้นและนำไปใช้ที่โรงเรียนบ้านปลาดาว และมีการขยายผลไปยังโรงเรียนเครือข่ายมากกว่า 120 โรงเรียนทั่วประเทศโดยมุ่งเน้นให้โรงเรียนพิจารณาปัจจัยในเรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนและการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้รับความรู้ ทักษะ และสมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 และสอดคล้องกับหลักการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA
นวัตกรรมองค์ประกอบ 9 ด้าน ประกอบด้วยอะไรบ้าง
การขับเคลื่อนด้านการบริหารโรงเรียน: ผู้อำนวยการ มีปัจจัยหลัก จํานวน 5 องค์ประกอบ คือ
องค์ประกอบที่ 1 ผู้นำ มีการกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบาย วิธีการสื่อสารกับทุกคนที่เกี่ยวข้องสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทีมดำเนินงานและกําหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจนได้รับการยอมรับสามารถทำหน้าที่ได้จริงตามบทบาทที่ได้รับและร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละเป้าหมาย
องค์ประกอบที่ 2 ชุมชน มีการกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน ในการจัดการศึกษา และพัฒนาผู้เรียน บุคลากรในท้องถิ่นมีส่วนร่วม ในการแบ่งปันประสบการณ์จากความเชี่ยวชาญ และสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนตามความสามารถ
องค์ประกอบที่ 3 บรรยากาศการเรียนรู้ มีการกำหนดข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและแผนในการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ระยะสั้นและระยาว การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ป้ายนิเทศ พื้นที่ทำกิจกรรม มุมแสดงผลงาน แหล่งค้นคว้า มีการสำรวจความพึงพอใจในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ และครอบคลุมถึงบรรยากาศทางด้านกายภาพ ทางใจ และทางสังคม
องค์ประกอบที่ 4 เทคโนโลยี โรงเรียนมีการนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการกํากับและติดตามผลการพัฒนา โรงเรียนทั้งระบบ รวมไปถึงครูมีการนําเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตสื่อการเรียนรู้และสนับสนุน กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เท่าทันและสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน
องค์ประกอบที่ 5 เป้าหมาย มีการกำหนดเป้าหมายรวม เป้าหมายย่อยในแต่ละด้าน ตัวชี้วัด ระยะเวลาระบบในกาารติดตาม ประเมินผล พัฒนา รายงานผลอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานเป็นรายภาคเรียน หรือการดำเนินงานรายปี
การขับเคลื่อนด้านการสอน : ครู มีปัจจัยหลัก จํานวน 3 องค์ประกอบ คือ
องค์ประกอบที่ 6 หลักสูตรและการประเมิน เป็นการพัฒนาครู (Coach) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและสามารถพัฒนาแผนการเรียนรู้และออกแบบกิจกรรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมต่อผู้เรียน รวมทั้งสามารถเลือกใช้วิธีการในการประเมินผลการเรียนรู้ที่หลากหลายสามารถสะท้อนถึงผลการเรียนรู้ของผู้เรียนและทักษะที่ได้รับการพัฒนาได้อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
องค์ประกอบที่ 7 รูปแบบและการปฏิบัติการสอน เป็นการสนับสนุนและส่งเสริมครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้(Classroom) แบบบูรณาการและส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านการใช้กระบวนการ STEAM Design Process เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานหรือการใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
องค์ประกอบที่ 8 การพัฒนาวิชาชีพ เป็นการกําหนดนโยบายและกระบวนการในการเพิ่มพูนความรู้และทักษะของครูอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยอาศัยการเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนเพื่อการเรียนรู้วิชาชีพ (PLC) และเครือข่าย (Network) เพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพทั้งในและนอกโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
การขับเคลื่อนด้านการเรียนรู้: นักเรียน มีปัจจัยหลัก คือ
องค์ประกอบที่ 9 นักเรียน นักเรียนได้มีส่วนร่วมและสามารถลงมือทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ดังนั้นนักเรียนจะต้องสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้รวมถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะสําคัญในศตวรรษที่ 21 ตามความสนใจ ระดับและรูปแบบสไตล์การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล
ในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA ผลลัพธ์ในการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการบริหารของผู้อำนวยการโรงเรียนจะมุ่งสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับ ผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ซึ่งเมื่อพิจารณาตามนวัตกรรมองค์ประกอบ 9 ด้าน และการประเมินตามว PA จะมีความสอดคล้องกันทั้งในด้านของตัวชี้วัดและผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น
ดังนั้น หากผู้อำนวยการโรงเรียนต้องการบริหารจัดการโรงเรียนตามว PA เพื่อให้มีการเลื่อนวิทยฐานะก็สามารถที่จะนำนวัตกรรม องค์ประกอบ 9 ด้านไปใช้ในการประเมินโรงเรียนเพื่อพิจารณาตัวชี้วัดในแต่ละด้านว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งผลสะท้อนตนเองที่ได้สามารถนำไปวางกลยุทธ์แผนพัฒนาสถานศึกษาหรือออกแบบเครื่องมือในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบได้อย่างมีคุณภาพ
ในส่วนของการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในชั้นเรียนซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ 4 เรื่องเทคโนโลยี Starfish Class เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยตอบโจทย์เรื่องของการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนครูสามารถนำ Starfish Class ซึ่งเป็นเครื่องมือประเมินสมรรถนะผู้เรียนรายบุคคล ซึ่งถูกออกแบบมาเป็นผู้ช่วยของครูในการประเมินทักษะหรือสมรรถนะผู้เรียนและช่วยให้การบริหารจัดการห้องเรียนได้ง่ายขึ้นเพื่อที่ครูจะได้ใช้เวลากับเอกสารน้อยลงและใช้เวลากับนักเรียนมากขึ้นเป็นกลยุทธ์หนึ่งของผู้อำนวยการโรงเรียนในการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อให้เกิดผลลัพธ์พี่มีคุณภาพต่อครูและผู้เรียนในโรงเรียน
บทความใกล้เคียง
9 องค์ประกอบในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA
ถอดองค์ความรู้ช่วงพิธีเปิดและการบรรยายพิเศษ
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
Related Courses
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ เป็นโมเดลในการบริหารจัดการโรงเรียน ที่ทา ...
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Visionary Leadership, Building community and Technology
ในการจะก้าวสู่การเป็นผู้นำในอนาคต อาจจะต้องพัฒนา 3 ทักษะสำคัญ ได้แก่ Visionary Leadership ปลุกพลังวิสัยทัศน์ นำทางสู่คว ...
สพป. เชียงใหม่ เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เลขที่ 134 หมู่ 8 ถนน เชียงใหม่-ฮอด ตำบลสันกลางอำเภอสันป่าตอง จังห ...