ถอดองค์ความรู้ช่วงพิธีเปิดและการบรรยายพิเศษ
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากร
ทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) Inskru, Eduzone และ Starfish Labz ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วPA ของตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในหัวข้อ “ผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลง”
โดย Starfish Labz ขอนำความรู้จากงานพิธีเปิดและการบรรยายพิเศษ โดย รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการ ก.ค.ศ. มาแบ่งปันกันค่ะ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ที่มาที่ไปของโครงการ
- เนื่องจากปีที่ผ่านมาเรื่อง วPA ขับเคลื่อนได้ครบวงจร จากการที่เรามี regulation paper หรือหลักเกณฑ์ออกมา และนำไปสู่ให้ทุกคนทำข้อตกลงออกมาพัฒนางานในปี 65 และหลังจาก 1 ตุลาคม 65 ก็ให้คุณครู ผู้บริหารยื่นทุกอย่างเข้ามาใน DPA แล้ว 1 ปีผ่านไป เราสามารถประเมินครู ผู้บริหารผ่านระบบ DPA ได้ร่วม 60,000 คน และเร็วที่สุดในสถิติตอนนี้ก็คือ มีครูที่นับตั้งแต่วันยื่น ถึงวันทราบผลใช้เวลาเพียง 17 วัน เป็นสิ่งที่สามารถที่จะบอกได้ว่าระบบการทำงานแบบใหม่ เป็นระบบพลิกโฉมงานบริหารบุคคลของเราได้
- ในช่วงปีที่ผ่านมา มีหลายๆ อย่างเกิดขึ้น ทั้งการวิพากษ์วิจารณ์ ความท้าทายบางอย่างที่เราจะต้องผลักดันเรื่องพวกนี้ต่อ และความท้าทายสำคัญมากก็คือการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงผู้กำหนดนโยบายกระทรวงศึกษาธิการใหม่ ดังนั้น ก.ค.ศ. เอง เราจำเป็นต้องอธิบาย ทำความเข้าใจใหม่ พูดคุยในหลายๆ เรื่อง และวิเคราะห์ให้เห็นถึงอะไรที่จะขับเคลื่อนต่อ
- สิ่งที่อยากเล่าให้ฟังในเบื้องลึกของระบบ PA ทั้งหมด ท่านอาจจะเคยฟังผมพูดผ่านคลิป หรือเคยฟังบรรยายผ่าน zoom หรือเคยฟังจากปากตัวเป็นๆ มาหลายเวที หลายคนก็คุ้นหน้ากัน แต่วันนี้จะถอดแก่นความคิดทั้งหมด ภายใต้แนวคิด PA ให้ท่านฟัง ภายในเวลาชั่วโมงกว่าๆ
- เราต้องการศักยภาพของทุกท่านในการขับเคลื่อนงานเรื่อง วPA เพราะปีนี้ เราจะขยับสเกลเข้ามา เป็นการขับเคลื่อนที่ตัวโรงเรียน ถ้าท่านฟังผมมาตั้งแต่ปีสองปีก่อน ท่านจะเห็นว่า เราจะมุ่งไปที่ตัวครู เราจะขับเคลื่อนผ่านครูเป็นส่วนใหญ่ และก็ใช้สื่อต่างๆ ที่เรามีระดมออกไป แต่ในปีนี้เราจะใช้ School based movement คือ การขับเคลื่อนจากฐานโรงเรียนและสร้างโรงเรียนตัวอย่างในการที่จะขับเคลื่อนเรื่องงาน PA ดังนั้น เราต้องการโรงเรียนที่สุดยอด คำว่าสุดยอดของเราไม่ใช่โรงเรียนใหญ่เด่นดัง แต่เราต้องการศักยภาพของผู้บริหารที่เราวิเคราะห์แล้วว่าจะขับเคลื่อนเรื่องพวกนี้ให้กับวงการศึกษาได้ ท่านจึงถูกเลือกมาเป็น 60 ท่านของวันนี้
- ข้อตกลงเดียวในการมาเข้าอบรมครั้งนี้ ไม่ใช่ให้ท่านมาทำผลงานวิชาการ ท่านถูกคัดเลือกมาไม่ใช่ว่าท่านจะเอาไปทำเชี่ยวชาญได้ เราไม่ได้จัดอบรมขึ้นมาเพื่อทำผลงานวิชาการ ก.ค.ศ. ต้องการศักยภาพของท่านในการเป็นหนึ่งที่จะขับเคลื่อนการทำงานเพื่อพลิกโฉมระบบการศึกษาไทย
“If you teach today’s students as we taught yesterday we rob them of tomorrow” - John Dewey มีอมตะวาจาอยู่หลายคำ และเป็นทฤษฎีที่พวกเราเอามาเรียนสมัยเรียนหนังสือ ที่พวกเรารู้จักกันดีคือ Learning by doing แต่มันจะมีคำๆ หนึ่งที่ John Dewey พูดไว้เมื่อเกือบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมา “ถ้าเราสอนสิ่งที่เป็นวันนี้ให้กับนักเรียน เท่ากับเราสอนเมื่อวาน นั่นหมายความว่า เรากำลังขโมยอนาคต หรือวันพรุ่งนี้ของเด็ก” คำพูดนี้เป็นคำพูดที่ไปเจอ ตอนที่ผมไปเยี่ยมที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียที่อเมริกา ความคิดของ John Dewey ยังทันสมัยมาก หัวใจสำคัญของเรื่องนี้ คืออะไร ทำไมผมถึงบอกว่าทันสมัยมาก
จุดเริ่มต้นของ PA
- เกิดจากการวิเคราะห์งานวิจัยขนาดใหญ่อยู่อย่างน้อย 3 เรื่อง วิเคราะห์เรื่องแรกคือ วิเคราะห์จากงานวิจัยของ TDRI ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของระบบการศึกษาของประเทศไทย ที่มีปัญหาอยู่ 4 เรื่องใหญ่ คือ
1.ผลลัพธ์การศึกษาไทยอยู่ในระดับต่ำมาก คำว่า ผลลัพธ์ไม่ใช่คะแนนอย่างเดียวที่ต่ำ แต่หมายถึงคุณลักษณะของเด็กที่ออกมาต่ำ
2.เด็กไทยไม่รู้เป้าหมายของตัวเองว่าอยากเรียน หรือทำงานอะไรเมื่อจบออกมา ทั่วโลกจะยอมรับ basic education หรือการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ที่อายุ 15 ปี แต่บ้านเราการศึกษาขั้นพื้นฐาน เราไปที่ ม.6 และเราบอกว่า ม.3 คือ compulsory education หรือการศึกษาภาคบังคับ ทั่วโลกจะวัดคุณภาพของผู้เรียนผ่าน PISA score ที่เด็กอายุ 15 ปี คือเด็กที่จบ ม.3 การเปรียบเทียบผลลัพธ์การศึกษาของเรายังอยู่ในระดับต่ำ เด็กไม่รู้เป้าหมายในการพัฒนาตัวเองว่าออกไปจะทำยังไง สัญญาณตัวนี้เกิดขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งมีการถกเถียงกันมาก
3.ขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ประเทศไทยเป็นประเทศที่ Top ของโลกในการคำนวณสัดส่วนทรัพยากร ที่จ่ายลงไปลงทุนในด้านการศึกษา แต่ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในท้ายของโลก คำถามนี้เจอเป็นคำถามที่ใหญ่มากที่นักการศึกษาต้องตั้งคำถามว่า แล้วเราจะทำยังไง
4.ระบบพัฒนาวิชาชีพครู (สำคัญมาก) ระบบพัฒนาวิชาชีพครูของเรายังเป็นระบบพัฒนาวิชาชีพครูที่สะเปะสะปะที่สุด อันนี้ผมไม่ได้พูดเอง แต่คนที่พูดก็คือ OECD ซึ่งส่งทีมนักวิชาการเข้ามารีวิวระบบการศึกษาของประเทศไทย เมื่อปี 2014 และมี paper ออกมา เมื่อวานนี้ผมได้นำเรียนเรื่อง paper นี้กับทางทีมนโยบายของท่านรัฐมนตรีไป อันนี้เป็นการวิเคราะห์อันที่หนึ่ง มีการวิเคราะห์ให้เห็นหลังจากที่ผมได้ถูกมอบหมายให้เข้ามาอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการจากมหาวิทยาลัย ทุกคนพอจะทราบ เหตุที่ต้องโอนเข้ามานี่คือ เบื้องหลัง
ระบบวิชาชีพครูไทย
- ตอนที่มีการปฏิวัติใหม่ๆ ได้มีการทำ write paper ขึ้นมาชิ้นหนึ่งและผมก็ได้ทำงานต่อเนื่องมาโดยได้ทุนจาก สกสว. ตอนนั้น เข้าให้ทุนมาเพื่อดูระบบวิชาชีพครูทั้งหมดซึ่งระบบวิชาชีพครูจะแบ่งออกเป็น 6 ช่วงวัยไล่ตั้งแต่
- candidate teacher student หมายถึง คนที่จะเข้ามาเรียนครู คือใคร
- teacher student เรียนกันยังไงในแต่ละประเทศ
- เมื่อจบออกมากำลังจะเข้าสู่วิชาชีพครู เรียกว่าช่วงวัย candidate teacher คือเตรียมที่จะขอใบอนุญาต เตรียมที่จะสอบบรรจุ
- พอเข้ามาเรียกว่า beginning teacher หรือบ้านเราเรียกว่าครูผู้ช่วย ในแต่ละประเทศจะใช้ครูผู้ช่วยแตกต่างกัน บางประเทศระยะเวลาที่จะเป็นครูผู้ช่วย 5 ปี บางประเทศแค่ 6 เดือน
- พอผ่านช่วงวัย beginning teacher จะเข้าสู่วัย teacher คือเป็นครูเต็มรูปแบบ
- และเข้าสู่ช่วงวัยที่เรียกว่า master teacher คือ ครูที่มีวิทยฐานะ
- งานวิจัยชิ้นนี้ คือ งานวิจัยที่ผมถอดบทเรียนมาจาก 12 ประเทศที่มีผลลัพธ์ทางการศึกษาสูงของโลกผมลงไปดูห้องเรียนโดยตรงไปสังเกตการสอนของครูไปคุยกับ ผอ.โรงเรียน คุยกับผู้กำหนดนโยบาย และก็สังเคราะห์พวกนี้ออกมา
12 ประเทศ ได้แก่ เกาหลี ญี่ปุ่น ใต้หวัน ฮ่องกง จีน เซี่ยงไฮ้ สิงคโปร์ เยอรมัน เอสโตเนียฟินแลนด์ เนเธอแลนด์ แคนนาดา และนิวซีแลนด์เพื่อให้เห็นภาพว่า ถ้าเราจะเปลี่ยนเรื่องของการพัฒนาการศึกษาของประเทศ โดยใช้กลไกของการพัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งจะมีระบบที่เกี่ยวข้องกับ ก.ค.ศ. ตั้งแต่ การคัดเลือก การเลือก criteria การออกแบบระบบสนับสนุนครูผู้ช่วย จนถึงระบบวิทยฐานะ
- ใน 4 ปีที่ผ่านมา ก.ค.ศ. ทำงานอยู่บนฐานวิจัยเรื่องนี้ แล้วก็แก้ไปทีละระบบ เพราะการแก้ปัญหาไม่สามารถแก้เรื่องเดียวแล้วมันจะสำเร็จได้ทั้งหมด
- จากงานวิจัยที่ว่านี้ ก.ค.ศ.นำมาถอด สิ่งที่เราเรียกว่า Systematic Analysis ออกมาให้เห็นภาพ อันนี้คืองานวิจัยชิ้นที่ 3 ที่ผมทำ เวลาท่านเป็นผู้บริหารท่านเดินเข้าไปองค์กร หรือเวลาที่ท่านต้องการจะทำอะไรสักเรื่องหนึ่ง ท่านต้องมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพ เครื่องมือที่สำคัญเรียกว่า Systematic Analysis มันจะมีอยู่ 4 ระดับ
Systematic Analysis มีอยู่ 4 ระดับ
- Event คือ ปรากฏการณ์ที่สังคมรับรู้ยกตัวอย่างเช่น ครูวิทยฐานะสูงแต่ทำไมเด็กยังคุณภาพต่ำการคัดเลือกครูได้ครูไม่พร้อมการโยกย้ายอะไรพวกนี้ คำว่า event เราดูจากข่าวสารทีออกมาแต่ถ้าเราคิดแค่ตรง event สิ่งที่เราจะได้คือดราม่าและถ้าเราแก้ที่ดราม่า เราก็จะไม่สามารถแก้ที่ปัญหามันได้จริงๆ ในการแก้ปัญหาเรื่องพวกนี้ เราต้องวิเคราะห์ให้เห็นปัญหาระดับที่ 2,3,4
- Pattern คือให้เห็นข้อมูล ยกตัวอย่างทำไมคนถึงมองว่าวิทยฐานะครูมีเยอะครูวิทยฐานะสูงแล้วทำไมประเทศไทยถึงสภาพการศึกษาต่ำ ข้อมูลเมื่อสามปีที่แล้วเรามีครูในประเทศไทยประมาณ 400,000 คน เป็นครูใหม่ 120,000 คนโดยประมาณหรือ 30% เป็นครูที่มีวิทยฐานะแล้วประมาณ 280,000 คนหรือประมาณ 70% ผมชอบเปรียบเทียบง่ายๆ ว่ามีครูเดินมา 10 คน เป็นครูที่มีวิทยฐานะแล้ว 7 คน เป็นครูใหม่หรือครูที่ยังไม่มีวิทยฐานะ 3 คน ตัวเลขนี้ผมไปคุยกับนักวิชาการทั่วโลกเค้าบอกว่าประเทศไทย wonderful คุณมีครูเก่งๆ เต็มประเทศเลยผมได้แต่เขินๆ และบอกว่าผมอาจจะไม่ได้คิดแบบนั้นเพราะสิ่งสำคัญ คือ เราไม่ได้ดึงศักยภาพ หรือเราไม่ได้ออกแบบระบบวิทยฐานะที่ทำให้คุณครูพัฒนาตนเองเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ทางการเรียนของเด็ก เราคงไม่ต้องย้อนกลับไปพูดกันแล้วว่าระบบเดิมเป็นยังไง วิทยฐานะเดิมเป็นยังไง เพราะมันก็จะเหมาะกับแต่ละยุคสมัย
- Structure คือระบบ จะมีระบบที่ก.ค.ศ. ต้องทำ คือ ระบบการคัดเลือกคนเข้าสู่วิชาชีพ ระบบความก้าวหน้าหรือระบบวิทยฐานะ ระบบการพัฒนาครู เกณฑ์อัตรากำลัง มาตรฐานตำแหน่งใหม่ ระบบคุณธรรม จริยธรรมวิชาชีพ นี่คือ roadmap ในสามปีที่ผ่านมาที่เราขับเคลื่อนกันและเป้าหมายสำคัญคือการเปลี่ยนในระดับที่ 4 เลย
- Mental Model คือการเปลี่ยนความคิดความเชื่อ งานครูน่าเบื่องานครูเหนื่อยหน่าย วิทยฐานะควรได้เร็วๆ ไม่ยุ่งยากการเป็น ผอ.โรงเรียนคือความสำเร็จในวิชาชีพ พวกนี้เป็นมายาคติในวงการการศึกษาของประเทศไทศไทยถ้าเราไม่โกหกตัวเองเราจะรู้เลยว่ามันคือมายาคติ
นโยบาย 5 คาดงัดในการทำงาน
- เซอร์ ไมเคอร์ บาร์เบอร์ คือ คนที่เดินทางทั่วโลกและทำวิจัยเกี่ยวกับระบบการศึกษาของโลกสรุปออกมาว่าในปฎิรูปการศึกษาที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่การปฎิรูปโดยการออก พ.ร.บ. หรือปฎิรูปจากข้างบนลงล่างแต่การที่ประสบความสำเร็จที่เค้าถอดออกมาจากแต่ละประเทศมีแค่ 4 ตัวนี้ คือ
- Back to school กลับไปเริ่มต้นที่โรงเรียน (ทุกอย่างต้องกลับไปเริ่มที่ห้องเรียน)
- Focus on classroom มุ่งการเรียนรู้ของเด็กในห้องเรียน (เข้าไปดูว่าครูสอนยังไง)
- Teacher as a key success ครูคือกุญแจความสำเร็จ (ทำยังไงถึงจะพัฒนาศักยภาพครูขึ้นมาเพื่อให้คุณครูได้ทำงานอย่างเต็มที่ในห้องเรียน)
- School as learning organization ทำยังไงให้โรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จริงๆ
- ทั้งหมดนี้เราเรียกว่า คาถาความสำเร็จของการปฎิรูปการศึกษา ก.ค.ศ.ไม่ได้คิดแค่การแก้หลักเกณฑ์ วิธีการ เราคิดภาพที่ใหญ่กว่านั้นเราจะยังไงที่จะพลิกโฉมการศึกษาพลิกโฉมการทำงานกับครูพลิกโฉม Mental Model ของคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระบบการศึกษา
อะไรคือ Performance Appraisal หรือ PA
- Appraisal รากของมันจริงๆ มันมาจากรายงานของ OECD ที่เข้ามารีวิวเรียกว่า Policy for education ของประเทศไทย OECD มีโครงการที่จะทำรีวิวระบบการศึกษาในประเทศสมาชิกของเค้าในปี 2014 อยู่ทั้งหมด 30 กว่าประเทศ และประเทศไทยคือหนึ่งในนั้นทีมวิชาการที่เข้ามาคือทีมวิชาการสากลเข้ามาทำ
- มีเนื้อหาที่ที่รีวิวมาตั้งแต่ระบบการศึกษาการพัฒนาวิชาชีพครู การผลิตครู อ่านจบทั้งเล่มคือหน้าช้ำไปหมดในฐานะที่เป็นนักวิชาการของประเทศไทยเพราะสิ่งที่เขาพูดตรงมากแล้วเราก็ไม่มีใครเขียนเหมือนงานวิจัยชิ้นนี้
- ข้อเสนอคือต้องทำเรื่อง Performance appraisal 3-4 เรื่องใหญ่ๆ คือ
- มี Standard และ Compretency ที่ให้ครูถือปฏิบัติร่วมกัน
- พูดถึงการ Design Information สำหรับที่จะทำให้การเรียนการสอนมันขับเคลื่อนได้โดยไฮไลต์ในตอนนั้นต้องมีเรื่อง classroom observation คือต้องมีการสังเกตห้องเรียน
- ต้องมีผู้ประเมินที่ Fair พอและเป็นผู้ประเมินที่เข้าใจเรื่องระบบวิชาชีพ
- ต้องมีกลไกในการขับเคลื่อน
- 4 ข้อนี้ คือ คำว่า Performance Appraisal ซึ่งถูกแปลงจากทฤษฎีตรงนี้ลงมาสู่การปฎิบัติในเกณฑ์ PA
อะไรคือเป้าหมายของ PA
- “การใช้วิทยฐานะคือขวัญกำลังใจของคุณครูเรายังมีความรู้สึกว่าการออกแบบวิทยฐานะคือการทำให้คุณครูได้ตำแหน่งหรือได้วิทยฐานะสูงขึ้นและเราก็เชื่อว่าคุณครูจะมีขวัญกำลังใจและครูก็จะตั้งใจในการสอนอย่างดีมากสมกับวิทยฐานะที่ได้รับ”
- กรอบสำคัญ คือ เราต้องการพาระบบการศึกษาของเราไปให้ถึงผลลัพธ์ซึ่งเป็นปัญหา 1 ใน 4 ปัญหาหลักที่พูดไปตอนต้น
อะไรคือผลลัพธ์การศึกษา
- ประเทศไทยตกหล่มอยู่กับเรื่องคะแนน O-net, PISA score โดยเราไม่ได้มองเรียนว่าเด็กในโรงเรียนกรุงเทพฯ เด็กโรงเรียนในตัวจังหวัดเด็กในโรงเรียนดี เด่น ดัง เด็กโรงเรียนในป่า เราใช้ไม้บรรทัดเดียวกันวัดทั้งประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
- World Economic Forum มีการออก framework มา เพื่อให้เห็นว่าสิ่งที่วัดแค่ Outcomes ที่เป็น achievement score หรือคะแนนผลสัมฤทธิ์อย่างเดียวเท่านั้นแต่วัดแต่วัด Core-work related Skill ทักษะการทำงานที่เด็กจบการศึกษาออกมาแล้วสามารถทำงานได้ทั่วโลก
- แนวคิด Benjamin’s Bloom K A P ความรู้ เจตคติ ทักษะ ใครนั่งหน้าถือว่าจิตพิสัยเด่น ก็เลยมีมายาคติเด็กหลักห้องนั่นคือที่มาของอิทธิพลความคิด ไม่ใช่ว่า Bloom ไม่ดีแต่แนวความคิดของ Bloom เคลื่อนมาสู่แนวทางในการที่จะต้องปรับเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์การศึกษาของแต่ละประเทศให้ไปสู่ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ กรอบตัวนี้ออกมาในปี 2017 ก่อนที่จะมีโควิดแต่พอหลังโควิดมีการสัมมนากันในเวทีวิชาการระดับนานาชาติ และพูดถึง learning loss หนึ่งในนั้น เรามีสิ่งที่เรียกว่า Core-work related skill มันหายไป ถือว่าเป็นหนึ่งใน learning loss ที่สำคัญมาก
- ใน วPA ว9-ว12 เราจะวางโครงที่เป็นกระบวนการของการประเมินตัวกระบวนการของครู ผอ. ศน. ผอ.เขต มี 8 ตัวชี้วัด แต่ 8 ตัวชี้วัดนั้นคนละตัวแต่จะมีตัวหนึ่งที่เป็นการวัดผลลัพธ์ที่เป็นตัวเดียวกันผลลัพธ์ก็คือ กรอบ Core- Work Related Skill เราไม่ได้วัดที่คะแนนผลสัมฤทธิ์
ผลลัพธ์ทางการเรียนคือ ประกอบไปด้วย 3 Domain ได้แก่ 1. Abilities ความสามารถของผู้เรียน 2. Basic Skills ทักษะพื้นฐาน 3. Cross-Functional Skill ทักษะที่มีการปรับเปลี่ยนได้ มีตัวอย่างผลลัพธ์การเรียนรู้ต่อไปนี้
- Domain 1 Abilities โลกยุคใหม่ต้องการเด็กที่มีความสามารถ 2 อย่างคือ
- Cognitive abilities (ความสามารถทางปัญญา) ประกอบด้วย
- Cognitive flexibility ความยืดหยุ่นทางความรู้
- Creativity ความสร้างสรรค์
- Logical reasoning การให้เหตุผล
- Problem sensitivity การตระหนักถึงปัญหาอย่างรวดเร็ว
- Mathematical reasoning การคิดเชิงตรรกะ ให้เหตุผลแบบคณิตศาสตร์
- Visualisation การวิเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นรูปธรรม
(2) Physical Abilities (ความสามารถทางด้านร่างกาย)
- Physical Strength ความแข็งแรงของร่างกาย
- Domain ที่ 2 คือ Basic skills
- Content Skills
- Active learning กระบวนการให้เด็กเข้าถึงความรู้
- Oral Expression วิธีการให้เด็กนำเสนอข้อมูลต่างๆ
- Reading Expression การอ่านหนังสืออย่างเข้าใจถ่องแท้
- ICT Literacy การรู้เท่าทันสื่อ
- Domain ที่ 3 คือ Cross-functional skills
- Social Skills
- System Skills ตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลได้
- Complex Problem Skill การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
หลุมดำของการสอนในประเทศอังกฤษ
- ครูสอนโดยใช้ความรู้เดิมที่เคยถูกสอนมา 80%
- ครูสอนโดยใช้วิธีการสอนที่เคยถูกสอนมา 80%
แก่นความคิดของ PA คือการพัฒนาวิชาชีพครู
- สิ่งที่ผู้ประกอบอาชีพครู ต้องใส่ใจพัฒนาตนเองและวิชาชีพ คือ การทำงานแบบผู้มีวิชาชีพ (Professional Practice) โดยมี Innovative Mind จิตนวัตกรรม (Action ลงสู่การปฏิบัติ > Research คิดย้อนทบทวน > Improvement การพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น)
- ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน
- จาก Innovative Mind นำมาสู่ข้อตกลงพัฒนางาน
- What are your problems and needs ? ปัญหาคืออะไร > What is the action ? เราจะทำอย่างไร > What is the result ? ผลลัพธ์เป็นอย่างไรแตกต่างจากเดิมไหม > What is the next step เราจะทำงานต่ออย่างไร ?
- หัวใจคำสัญคือ Change and Improve เปลี่ยนและพัฒนามัน
- วัดก่อนและหลังพฤติกรรมของตัวเองได้
- การเรียนรู้ที่หน้างาน คือ การเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคุณครู (Interactive Learning Through Action) โดยมี Ideal อย่าเป็นเจ้าทฤษฎี > Practical อย่าเป็นนักปฏิบัตอย่างเดียว > Action Research (การทำงานที่ผสมทั้ง Ideal + Practical)
อะไรคือ Performance ของผู้อำนวยการ
- แนวคิดที่จำเป็นสำหรับการเป็นนักบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ 1. Student Oriented มุ่งที่เน้น 2. Quality of Curriculum เข้าใจการจัดกระบวนการกับเด็ก 3. Core Competency Development พัฒนาสมรรถนะกับครู 4. Mentor Coaching ชี้แนะคุณครู 5. Process Oriented, QA/ QI บอกกระบวนการทำงานตัวเองได้ (Before/After) 6. Creative Research and Innovation กล้าคิดเอาเรื่องใหม่ๆ มาเปลี่ยนแปลง 7. Pool : Alliance : Linkage ระดมทรัพยากรจากคนอื่นๆ เช่น ระบบการสร้างพันธมิตร 8. Collective Leadership ต้องระดมสรรพกำลังจากผู้นำแบบรวมหมู่
อะไรคือ Instructional Leadership ของผู้อำนวยการโรงเรียน
- สิ่งที่คุณครูคาดหวังจากผอ. คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการ เช่น การเข้าห้องเรียนไปให้กำลังใจ เข้าห้องเรียน ไปดูว่าครูสอนอย่างไร
- วPA ผอ.ต้องเข้าห้องเรียน 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- สิ่งที่ผอ.จะลงไปช่วยครูได้ 1. ช่วยค้นหาวิธีสอนที่สร้างพลังการเรียนรู้ 2. ทดลองและคิดเชิงนวัตกรรมต่อเนื่อง 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Modelling, peer coaching) 4. สะท้อนบทเรียนร่วมกัน 5. สร้างชุมชนการเรียนรู้ขึ้นในโรงเรียน
อะไรคือ Smart Teacher 8 ตัวชี้วัด
- ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
- ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
- ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
- ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง และองค์ประกอบย่อยมาจัดแผนการเรียนรู้
- ประเมินการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างไร
- ไปดูครูในห้องเรียน
- วิพากษ์ในห้องเรียน วิพากษ์แผน
- สร้างวง PLC
- ชิ้นงานของนักเรียน
- ให้พื้นที่ในชิ้นงานของนักเรียนในห้องเรียน
สรุปความคิด แก่นแท้ของการวิชาชีพครู คือ การเรียนรู้เราจำเป็นต้องไปให้ถึงระดับความคิดความเชื่อ (Mentality) นั่นคือ เปลี่ยนวิธีคิด วิธีสอน วิถีปฏิบัติที่คุ้นชินเดิมๆ ระบบวิทยฐานะใหม่ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแค่หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินแต่ต้องการเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ของผอ.โรงเรียนและคุณครูด้วย
5 คำถามพลิกชีวิตการเป็นครู
- เวลาที่ผ่านมา เราใช้ชีวิตความเป็นครูเพื่อเป้าหมายใด
- อะไรคือสิ่งที่เรากำลังค้นหาเพื่อเพิ่มเติมเข้ามาในชีวิตความเป็นครู
- เราอยากทำอะไร ในเวลาของชีวิตที่เหลืออยู่
- เป้าหมายปลายทางในชีวิตความเป็นครูจากนี้ไป คืออะไร
- อะไรคือสิ่งรุงรังที่เป็นภาระหรือกีดขวางการเดินทางที่ควรสลัดทิ้ง
เรามาช่วยกันพลิกโฉมการศึกษาไทยไปด้วยกัน เพื่อให้คุณครูและลูกศิษย์ของเราดีขึ้น
สามารถเข้าถึงเอกสารได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1a-vX8ijOrTmYUnn-vz2DmnHTU5wk6ZSH/view?usp=sharing
บทความใกล้เคียง
9 องค์ประกอบในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA
เทคนิคการใช้นวัตกรรมองค์ประกอบ 9 ด้านในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
Related Courses
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ เป็นโมเดลในการบริหารจัดการโรงเรียน ที่ทา ...
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง