9 องค์ประกอบในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) Inskru Eduzone และ Starfish Labz ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วPA ของตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในหัวข้อ “ผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลง”โดย Starfish Labz ขอนำความรู้จาก Workshop โดยวิทยากรจาก Starfish Education ในหัวข้อ “9 องค์ประกอบในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA” ดังรายละเอียดต่อไปนี้
แลกเปลี่ยนแนวคิดหรือหลักกการในการบริหารโรงเรียน โดยผู้อำนวยการที่เข้าร่วม
- หลักธรรมาภิบาล ที่นำมาใช้ในทุกรูปแบบ
- ใช้หลัก 3PR MODEL P1 = POLC ผู้บริหารสู่ครู จัดโครงสร้างองค์กร P2 = PDCA จากครูสู่ห้องเรียน ครูต้องใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียน P3= PLC จากครูสู่เด็กรายบุคคล เอาจาก PDCA และ Reporting คือการรายงานทั้งหมดเพื่อการพัฒนา
9 องค์ประกอบของการในการบริหารจัดการโรงเรียนทั้งระบบจาก Starfish Education
- ในการบริหารโรงเรียน มองในฐานะผู้บริหารในการทำให้ 9 องค์ประกอบประสบความสำเร็จ แล้วนำไปใน PA ได้ เพราะผลลัพธ์สุดท้ายจะนำไปสู่ผู้เรียน โดยแบ่งออกเป็นดังนี้
- ขับเคลื่อนด้วยการบริหารโรงเรียน มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ความเป็นผู้นำ 2. ชุมชน 3. บรรยากาศการเรียนรู้ 4. เทคโนโลยี 5. เป้าหมาย
- ขับเคลื่อนด้านการเรียนการสอน มี 3 องค์ประกอบได้แก่ 1. หลักสูตรและการประเมินผล 2. รูปแบบและการปฏิบัติการสอน 3. การพัฒนาวิชาชีพ
- ขับเคลื่อนผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน มี 1 องค์ประกอบ คือ การเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเกิดจากการ 8 องค์ประกอบที่ได้พัฒนาร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพ
1 องค์ประกอบด้านผู้เรียน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียน มีคำอธิบายดังนี้
- โอกาสที่นักเรียนได้รับการเรียนรู้ที่ต้องการ ได้แก่ การเข้ากิจกรรมการเรียนรู้ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เป็นเจ้าของการเรียนรู้ เรียนรู้ได้ตามต้องการ ความสนใจ ระดับและรูปแบบการเรียนรู้
- Learning Outcome ในแง่มุม ความรู้ ของทักษะและคุณลักษณะที่สอดคล้องกับกระทรวง ต้นสังกัด สถานศึกษา สมรรถนะ พหุปัญญา ทักษะอาชีพ
5 องค์ประกอบด้านการขับเคลื่อนด้านการบริหารโรงเรียน มีคำอธิบายดังนี้
1. ความเป็นผู้นำ: สามารถกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและนโยบาย วิธีการสื่อสารกับทุกคนที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจร่วมกันและสามารถแต่งตั้งคณะกรรมการทีมดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจ ได้รับการรองรับสามารถทำหน้าที่ได้จริงตามบทบาทที่ได้รับกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละเป้าหมาย
2. ชุมชน: มีการกำหนดแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชนในด้านของการจัดการศึกษา และพัฒนาผู้เรียนและด้านบุคลากรในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วม เช่น มีการแบ่งปันประสบการณ์จากความเชี่ยวชาญและสนับสนุนช่วยเหลือโรงเรียนตามความสามารถ
3. การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ : มีข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและแผนในการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ ป้ายนิเทศ พื้นที่ทำกิจกรรม มุมแสดงผลงาน แหล่งเรียนรู้ แหล่งค้นคว้า ป้ายนิเทศ / มีการสำรวจความพึงพอใจในการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ ครอบคลุมบรรยากาศด้านกายภาพ ทางใจและทางสังคม
4. เทคโนโลยี : โรงเรียนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการกำกับและติดตามผลการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ / ครูมีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นการผลิตสื่อการเรียนรู้และสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน / นักเรียนมีความรู้เท่าทันและสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของโรงเรียน
5. เป้าหมาย : มีเป้าหมายรวม และเป้าหมายหมายย่อยในแต่ละด้าน เช่น ตัวชี้วัด ระยะเวลา ระบบในการติดตาม ประเมินผล พัฒนา และมีการรายงานผลอย่างต่อเนื่อง เช่น การดำเนินงานเป็นรายภาคเรียน และการดำเนินงานเป็นรายปี
3 องค์ประกอบขับเคลื่อนด้านการเรียนการสอน มีคำอธิบายดังนี้
- 1. หลักสูตรและการประเมิน : ครูสามารถวิเคราะห์และวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับ Learning Outcomes / ครูมีวิธีการการและเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความรู้ ทักษะ และเจตคติของผู้เรียนด้านการประเมินตามสภาพจริงเพื่อพัฒนาผู้เรียนและเกณฑ์การประเมินที่เหมาะสม เช่น การเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้ผู้เรียนเจอในสิ่งที่ตนเองชอบ
- 2. รูปแบบและการปฏิบัติการสอน : ครูสามารถวางแผนการจัดประสบการร์การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เช่น ตามความต้องการ สถานที่ เวลา ความสามารถในการเรียนรู้ รูปแบบในการเรียนรู้ Active Learning
- 3. การพัฒนาวิชาชีพครู : กำหนดนโยบายและกระบวนการในการเพิ่มพูนความรู้ และทักษะของครูอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม เช่น ด้านทักษะและสมรรถนะของครู / ครูมีแหล่งเรียนรู้และเข้าร่วมชุมชนเพื่อการเรียนรู้ทางวิชาชีพ PLC อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น การทำ PLC อย่างมีคุณภาพ / จำนวน และระยะเวลา / ครูมีแหล่งการเรียนรู้แบบออนไลน์และสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองตามความต้องการ
ถ้าหากทำ 9 องค์ประกอบได้ 4 ปัจจัยความสำเร็จของระบบ PA จะสำเร็จแน่นอน ได้แก่
- Back to School
- Focus on Classroom
- Teacher as a key success
- School as learning organization
องค์ประกอบ 9 ด้าน เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดของการเกณฑ์การประเมิน
การทำกิจกรรมโดยทีมวิทยากรในวันนี้ช่วยทำให้ผู้อำนวยการที่เข้าร่วมทุกท่านได้ประเมินตัวเองทั้ง 9 องค์ประกอบเพื่อให้เห็นแนวทางที่เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบต่อไป
สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1RGPykGRU49MfoojWo5EzDBwsOejzrV18/view?usp=drive_link
บทความใกล้เคียง
ถอดองค์ความรู้ช่วงพิธีเปิดและการบรรยายพิเศษ
เทคนิคการใช้นวัตกรรมองค์ประกอบ 9 ด้านในการบริหารจัดการโรงเรียนตาม วPA
Starfish Talk: ครู SMART ทำได้สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA – วงคุยเคล็ดลับ วPA จากผู้ปฏิบัติจริง
Related Courses
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ เป็นโมเดลในการบริหารจัดการโรงเรียน ที่ทา ...
School Transformation องค์ประกอบ 9 ด้าน แห่งการปฏิรูปโรงเรียนทั้งระบบ
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
สพป. เชียงใหม่ เขต 5
สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5 404 หมู่ 10 ฮอด-วังลุง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240
สพป. เชียงใหม่ เขต 4
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 เลขที่ 134 หมู่ 8 ถนน เชียงใหม่-ฮอด ตำบลสันกลางอำเภอสันป่าตอง จังห ...