วิธีรับมืออารมณ์หุนหันจาก ADHD ในวัยรุ่น
Attention-Deficit Hyperactivity Disorder (ADHD) หรือที่เรารู้จักกันว่าโรคสมาธิสั้นนั้น มีกลุ่มอาการหลักๆ อยู่ 3 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มพฤติกรรมขาดสมาธิ, กลุ่มพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นขาดความสามารถในการควบคุมตนเองและกลุ่มที่มีอาการร่วมกันทั้งขาดสมาธิและขาดความสามารถควบคุมตนเองเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น กลุ่มอาการขาดสมาธิอาจลดน้อยลงแต่กลุ่มอาการหุนหันยังอาจคงอยู่เมื่อผนวกเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนตามวัยก็อาจทำให้พฤติกรรมขาดการควบคุมตนเองอารมณ์หุนหันฉุนเฉียวรุนแรงกว่าวัยรุ่นทั่วไป บทความนี้ Starfish Labz มีคำแนะนำการรับมืออารมณ์หุนหันจากภาวะ ADHD ในวัยรุ่นมาฝากคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง
อาการแบบไหนเข้าข่ายหุนหันพลันแล่น
นึกอะไรได้ก็พูดขึ้นมาแบบทะลุกลางปล้อง อยากทำอะไรก็ทำโดยไม่ได้คำนึงถึงความเหมาะสมพฤติกรรมเหล่านี้หากเกิดขึ้นในเด็กเล็กๆ คงไม่เป็นไรแต่สำหรับวัยรุ่นที่โตพอมีวิจารณญาณ รู้ว่าอะไรควรไม่ควรแล้วอาจจัดได้ว่าเป็นอาการหุนหันพลันแล่นข้อมูลจาก Psychology Today อธิบายว่าอาการหุนหันหรือ Impulsive คือการกระทำที่เกิดจากความต้องการอย่างทันทีทันใดโดยขาดการคิดอย่างรอบคอบ หรือ มีแนวโน้มกระทำตามแรงกระตุ้นมากกว่าการคิดอย่างถี่ถ้วนเมื่อเด็กที่มีภาวะ ADHD เข้าสู่วัยรุ่นพัฒนาการสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ซึ่งมีหน้าที่หลักในการควบคุมการเคลื่อนไหว ทักษะกระบวนการคิด การควบคุมพฤติกรรม อารมณ์ จึงยิ่งทำให้อาการหุนหันพลันแล่นเห็นได้ชัดขึ้น
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่เข้าข่ายหุนหันพลันแล่นที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
- พูดโพล่งขึ้นมากลางวงที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่
- พูดไม่คิด หลุดพูดความคิดของตัวเองออกมาโดยไม่ตั้งใจเป็นประจำ
- วิ่งข้ามถนนทันที ไม่มองซ้าย-ขวา
- ควบคุมอารมณ์ตนเองไม่ได้แสดงอารมณ์อย่างเต็มที่ไม่มีตรงกลาง
- ไม่ชอบรอ หงุดหงิดที่ต้องเข้าคิว
- อยู่ไม่สุข นั่งนิ่งๆ ไม่ได้
อาการหุนหันพลันแล่นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมแต่การกระทำที่ขาดความคิดรอบคอบย่อมเพิ่มความเสี่ยงได้รับบาดเจ็บอุบัติเหตุหรือถึงแก่ชีวิตได้
ความเสี่ยงที่มาพร้อมความหุนหัน
พฤติกรรมหุนหันพลันแล่น มักมาพร้อมกับพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด โดดเรียน ลักขโมย ทะเลาะวิวาทมีข้อมูลพบว่าวัยรุ่นที่มีภาวะ ADHD มีสถิติถูกจำคุกสูงซึ่งการรักษาโรคสมาธิสั้น หรือ ดูแลอาการให้ควบคุมได้จะลดโอกาสเกิดอาชญากรรมในวัยรุ่นที่มีภาวะ ADHD ได้ถึง 32% ในเพศชาย และ 41% ในเพศหญิง วัยรุ่นที่มีอาการสมาธิสั้นแต่ไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมักประสบปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันเพราะเมื่อพบสิ่งที่ต้องการพวกเขาจะกระโจนเข้าหาทันทีโดยไม่สามารถต้านทานแรงกระตุ้นของตนเองได้ทำให้ส่งผลกระทบเชิงลบอื่นๆ ตามมาขณะเดียวกันคนรอบข้างที่ไม่เข้าใจอาจด่วนตัดสิน ตีตรา ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของผู้ที่มีภาวะ ADHD ได้
ช่วยวัยรุ่น ADHD ควบคุมอารมณ์
พ่อแม่ผู้ปกครองที่ดูแลวัยรุ่นที่มีภาวะสมาธิสั้น หากสังเกตพบว่าอาการหุนหันพลันแล่นของ บุตรหลานรุนแรงขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น อาจช่วยให้ลูกควบคุมอารมณ์ได้ด้วยวิธีต่างๆ ต่อไปนี้
- ตอบสนองอย่างเหมาะสมพฤติกรรมหุนหันของวัยรุ่นอาจทำให้พ่อแม่หัวเสียแต่การตอบโต้ที่รุนแรงยิ่งจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายขึ้นพ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการควบคุมอารมณ์ ตอบสนองด้วยเหตุผลสิ่งสำคัญคือควบคุมโทนและน้ำเสียงให้สงบแต่มั่นคง
- ชวนลูกใช้พลังอย่างสร้างสรรค์ การปลดปล่อยพลังอย่างสร้างสรรค์ เช่น ออกกำลังกาย เต้น วิ่ง ฯลฯ
- แนะนำทางเลือกที่หลากหลายสอนลูกให้เข้าใจการวางตัวในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังสนทนาหากลูกรู้สึกอยากพูดอะไรบางอย่างอาจดีกว่าที่ลูกจะเดินออกจากห้องไปแทนการพูดโพล่งที่ผู้ใหญ่มองว่าเสียมารยาท เป็นต้น
- สร้างกฎและกำหนดขอบเขต พ่อแม่และวัยรุ่นอาจคิดไม่ถึงว่าการสร้างกฎเกณฑ์และกำหนดขอบเขต จะช่วยสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับวัยรุ่นได้การสร้างกฎและกำหนดขอบเขต ทำให้วัยรุ่นที่มีภาวะสมาธิสั้น รู้ว่าเส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่โอเค กับ สิ่งที่ไม่โอเคอยู่ตรงไหนและการข้ามเส้นนั้นอาจหมายถึงอันตราย เพราะฉะนั้นสร้างกฎและกำหนดขอบเขตให้ชัด อธิบายให้ลูกเข้าใจ อาจช่วยให้วัยรุ่นที่มีภาวะสมาธิสั้นใช้ชีวิตในสังคมได้ง่ายขึ้น
- ชื่นชมความอดทน สำหรับวัยรุ่นที่เผชิญกับอารมณ์หุนหันการอดทนต่อสิ่งเร้าต่างๆ ย่อมต้องใช้ความพยายามอย่างมากหากพ่อแม่มองเห็นความพยายามนั้นและกล่าวชื่นชมก็จะเป็นกำลังใจให้ลูกพยายามต่อไปยิ่งหากลูกอดทนรอคอยสำเร็จพ่อแม่ควรชมและให้กำลังใจเพื่อเป็นแรงขับให้ลูกเอาชนะปัญหานี้ได้ในที่สุด
- สุดท้ายแล้ว แม้บางอาการของ ADHD อาจคงอยู่ตลอดชีวิตแต่ด้วยการดูแลอย่างเหมาะสมจากครอบครัวและผู้เชี่ยวชาญส่งเสริมทักษะที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัยก็จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะ ADHD ก็สามารถประสบความสำเร็จในชีวิตได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป
แหล่งอ้างอิง (Sources) :
Related Courses
การดูแลสุขภาพใจเด็กประถมศึกษา
ในคอร์สนี้เป็นการดูแลสุขภาพใจของเด็ก เพราะการมีสุขภาพใจที่ดีนั้นส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ทำให้อารมณ์ดี สามารถจัดการภาวะอาร ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ