กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาด้วย PA

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) Inskru Eduzone และ Starfish Labz ได้ร่วมกันจัดสัมมนาเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วPA ของตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาในหัวข้อ “ผู้อำนวยการสถานศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลง”โดย Starfish Labz ขอนำความรู้จากงานเสวนาในหัวข้อย่อย “กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาด้วย PA” ดำเนินรายการโดย ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์มาเผยแพร่ให้ชาว Starfish Labz ดังรายละเอียดต่อไปนี้
การทำ วPA สร้างความแตกต่างให้การเรียนการสอน ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน
ตัวแทนคุณครูปัญญรัสม์ อยู่ยั่งยืน“ประเมินวิทยฐานะในช่วงเดิมที่ผ่านมาจะต้องเตรียมแฟ้ม 13 แฟ้มทุกอย่างพอได้ข่าว วPA ดีมากๆ และเกิดผลโดยตรงต่อเด็กโดยที่การกำหนด 8 ตัวชี้วัดจะทำให้คุณครูมีทิศทางในการสอนซึ่งลองดูสาระสำคัญของคลิปวิดีโอที่นำมาเผยแพร่ต่อไปนี้ “ใช้หลักการดำเนินการ คือ การพึ่งพาตนเองการทำงานอย่างสุขและเศรษฐกิจพอเพียงในการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อมทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกสนาน ภาคภูมิใจที่ได้สร้างนวัตกรรมที่ก่อเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม” โดยใช้ DGPMC MODEL ในการจัดการเรียนสอน”ตัวแทนคุณครูอาชีวะ ครูพลกฤษณ์ หนูทองพูล “แบบเดิมเราไม่ทำเลยเพราะดูแต่กระดาษเป็นการประเมินที่ไม่จริงจนมาเจอ PA ก็ทำให้เราเปลี่ยนแปลงเรื่องอยากทำ PA ทุกอย่างเกิดขึ้นจากนักเรียน นักเรียนได้ทดลองประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เองสร้างบอร์ดควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจากเมื่อก่อนนักเรียนจะตั้งคำถามว่า “เรียนแล้วเอาไปทำอะไรแต่ตอนมี PA นักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียนได้”
การสื่อสารสร้างความเข้าใจให้แก่คุณครู เมื่อนำ PA ลงสู่โรงเรียน
ผู้อำนวยการศุภโชค ปิยะสันติ์ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคีให้แนวทางดังนี้
“คิดว่าปัญหาหลักของการนำ PA ไปใช้ที่โรงเรียน คือ ความไม่เข้าใจที่ไม่ตรงกันเพราะฉะนั้นวิธีการที่จะเริ่มสร้างความเข้าใจในโรงเรียน
- หลักคิดแรก น้ำเชี่ยว จะไม่เอาเรือไม่ขวาง
- ค่อยๆ ให้ข้อมูลทีละนิด เพื่อให้เห็นเจตนารมณ์
- ตั้งเป้าหมายที่ตัวผู้เรียนเช่นเดียวกัน
- ตีความเป้าหมายให้ตรงกัน
- หาแนวทางการทำงานร่วมกัน
เทคนิคการเป็นผู้นำที่เอาชนะใจคุณครู
ผู้อำนวยการศุภโชค ปิยะสันติ์ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคีให้แนวทางดังนี้
- ใช้กลไกลของวPA ในการเข้าไปช่วยเหลือคุณครู เช่น การเข้าห้องเรียน 5 ชั่วโมง
- จับถูกมากกว่าจับผิดเพื่อให้ครูไว้วางใจ
- เปลี่ยนจากคนสั่งเป็นคนช่วยเหลือ (Coach)
- นั่งคุยกับครูเรื่องเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของโรงเรียนและให้ครูแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยการเขียน Post-it
- ใช้ PLC ในการรับฟังมากกว่าการสั่งการ
- เข้าไปในห้องเรียนเพื่อชื่นชมและให้คำแนะนำคุณครู
- สร้างวงการเรียนรู้โดยการให้ครูสังเกตการสอนของเพื่อนและร่วมแลกเปลี่ยนกัน
- ต่อยอดประเด็นแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันอะไรที่ดีหรือต้องพัฒนาต่อ
- กำหนดหัวข้อในการ PLC ได้แก่ระดับ System คุยเรื่องโครงสร้าง เช่น การลดเพิ่มโครงการสร้างตารางเรียนระดับ Lesson Study หรือระดับห้องเรียนระดับ Case Study หรือระดับนักเรียนชิ้นงานเด็กและวิธีการสอน
- เข้าใจรูปแบบการประเมินเพื่อการพัฒนา คือ Appraisal ประเมินเพื่อพัฒนาและให้คุณค่าเพื่อชื่นชมซึ่งแตกต่างกับการประเมินแบบน Evaluation คือประเมินแบบผ่าน/ตก ประเมินเพื่อตัดสินและ Assessment คือประเมินเพื่อพัฒนา
ดร.ภารดี ผางสง่า ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดอมรินทรารามให้แนวทางดังนี้
- สนับสนุน ติดตามนิเทศและให้กำลังใจตลอดจนการเตรียมการเรียนรู้ในห้องเรียน
- อยู่ในห้องเรียนมากกว่า 5 ชั่วโมง
- สร้างบรรยากาศเป็นกัลยาณมิตร
- เป็นตัวอย่างที่ดี เช่น ยืนรอหน้าโรงเรียนเพื่อรอรับครูและนักเรียน
- มองสำเร็จของ PA อยู่ที่คุณครูและตัวนักเรียน
สิ่งที่ครูต้องการการสนับสนุนจากผู้บริหาร
อยากได้ผู้บริหารที่สนับสนุนคุณครูและศึกษากระบวนการของ PA ไม่อย่างงั้นครูจะเสียสิทธิ์อยากได้บรรยากาศการเรียนที่เป็นกัลยาณมิตร
ประเด็นความรู้จากอ.วิริยะ ฤาชัยพาณิช
- Instructional Leader คือการมองปัญหาทุกอย่างเกิดจากตัวเองทั้งหมด จะไม่โยนความผิดไปให้ครู
- ประเด็นชวนคุยในวง PLC 1. เรื่องเด็ก 2. เรื่องการพัฒนาตัวเอง โดยที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญข้างนอกเข้ามาแลกเปลี่ยนประเด็นเพิ่มเติม
ความรู้จากเวทีเสวนาในวันนี้ช่วยให้ผู้อำนวยการทุกท่านที่เข้าร่วมได้เห็นกลยุทธ์และวิธีการการนำ PA ไปใช้จริงที่โรงเรียนโดยเริ่มต้นจากการสร้างความเข้าใจร่วมกับทีมครูและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นภายในโรงเรียนเพื่อต่อยอดการพัฒนาอย่างไม่มีสิ้นสุด
Related Courses
คำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษเพื่อการเดินทาง
เรียนรู้คำศัพท์บนท้องถนน สำนวนและเทคนิคการบอกทาง ฝึกใช้ประโยคถาม-ตอบเส้นทางอย่างมั่นใจ พร้อมสถานการณ์จริงเพื่อการเดิน ...



อยากเป็น Content creator ให้ดัง ต้องทำอย่างไร
หากใครกำลังฝันอยากเป็น Content Creator คอร์สนี้ตอบโจทย์ทุกคำถาม! เพราะคุณจะได้เรียนรู้เทคนิคการสร้างคอนเทนต์สุดปัง แ ...



อยากเป็น Content creator ให้ดัง ต้องทำอย่างไร
ต้องใช้ 100 เหรียญ
จากไอเดียสู่ธุรกิจด้วย Business Model Canvas
คอร์สนี้ออกแบบมาเพื่อให้เราเข้าใจ Business Model Canvas (BMC) และประยุกต์ใช้ในด้านการตลาดและการผลิต เพื่อช่วยวา ...



จากไอเดียสู่ธุรกิจด้วย Business Model Canvas
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เจาะลึก Customer needs วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเข้าใจลูกค้า
เรียนรู้การเจาะลึกความต้องการลูกค้า พร้อมเทคนิควิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์และเพิ่มความพึงพอใจอย่างตรงจุด



เจาะลึก Customer needs วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเข้าใจลูกค้า
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Related Videos


10 ขั้นตอน สร้าง PORTFOLIO

PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
