น้อง ๆ เคยเป็นไหมรู้สึกอะไรบางอย่างในใจ อึดอัด ไม่รู้จะอธิบายออกมาเป็นคำพูดแบบไหนดี สุดท้ายคิดวนไปมาก็หาคำตอบไม่เจออีกพี่แนะนำแบบนี้ลองหาที่สงบ และเอนลงบนเก้าอี้หรือโซฟานุ่ม ๆ หลับตา สำรวจดูสิเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายบ้าง ส่วนไหนเกร็งตึง ถ้ามีอาการเหล่านี้ ห้ส่งลมหายใจเข้าออก จินตนาการถึงกล้ามเนื้อส่วนนั้นกำลังผ่อนคลาย อันนี้เป็นเทคนิคที่พี่ ๆ ได้มาจากคุณครูสอนโยคะ และมันใช้ได้ผล ตอนที่เรากำลังสับสนวุ่นวายใจซึ่งพี่อยากให้น้องนึกถึงเทคนิคนี้ทุกครั้งที่มีอาการและนอกจากเทคนิคด้านบน พี่ ๆ Starfish Labz ยังมีวิธีอื่นมานำเสนอ เพราะไม่ว่าน้องจะรู้สึกแบบไหนพี่ก็พร้อมจะอยู่ด้วยเสมอ มีอะไรบ้างมาอ่านไปพร้อมกัน
1.บันทึกความรู้สึกผ่านตัวอักษร
การเขียนเป็นสิ่งที่น้อง ๆ หลายคนต้องไม่ชอบ และเมื่อก่อนตัวพี่เองก็พยายามหนีมันมาตลอดแต่หลังจากได้ลองจดบันทึก (Journal) พี่กลับรู้สึกรักการเขียนเพราะทุกครั้งที่จับปากกาตวัดตัวอักษรลงผ่านแผ่นกระดาษเป็นความรู้สึกที่มหัศจรรย์เหมือนได้ปลดปล่อยทุกอย่างออกมาโดยที่ไม่ต้องสนใจใคร อธิบายจัดเต็มทุกความรู้สึกเว็บไซต์ Psychology Today ได้พูดถึงข้อดีของการจดบันทึกช่วยลดการเกิดโรคซึมเศร้าโรควิตกกังวล เนื่องจากการเขียนช่วยระบายสิ่งที่เราแบกเอาไว้ให้มันเบาลงรวมถึงปลดปล่อยความเครียดและช่วยให้จัดลำดับความคิดได้ดีขึ้นน้อง ๆ จะจดบันทึกผ่านกระดาษไอแพดคอมพิวเตอร์เลือกอุปกรณ์ตามที่เราสะดวกได้เลยทำทุกวันยิ่งดีหรือจะรวบยอดอาทิตย์ละครั้งก็ได้
2.เปิดแอปพลิเคชัน how we feel
เพราะพี่รู้น้อง ๆ เป็นเด็กรุ่นใหม่ หลงใหลในเทคโนโลยี สมาร์ตโฟน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้คล่องพี่เลยไปตามหาแอปพลิเคชันที่ช่วยจัดการอารมณ์คอยดูแลเราได้ 24 ชั่วโมงมาให้ ซึ่งพี่ ๆ ก็ได้ลองใช้เป็นเวลาเกือบ 2 อาทิตย์ รู้สึกว่ามันดีมากเขาจะช่วยเราบันทึกตอนนี้กำลังรู้สึกอะไร กังวล เครียด โกรธ โมโห สับสนและอื่น ๆ รวมถึงขณะที่รู้สึกทำอะไรอยู่ อยู่ที่ไหนนอนวันละกี่ชั่วโมงสภาพอากาศเป็นอย่างไรออกกำลังกายกี่นาทีเขาเป็นเหมือนเพื่อนที่ช่วยปฐมพยาบาลเรื่องสุขภาพจิตวารสารจากเว็บไซต์ National Library of Medicine สรุปถึงการยอมรับความรู้สึกลบ
ความคิดต่าง ๆ เมื่อเกิดการยอมรับไม่หลีกหนีจะส่งผลดีกับสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายของเราโดยรวม
3.แชร์สตอรี่ให้คนใกล้ชิด
น้องทุกคนเก่งและทำดีที่สุด ถึงแม้บางครั้งเราอยากผ่านทุกปัญหาด้วยตัวเองแต่การขอความช่วยเหลือจาก social support (แหล่งสนับสนุนทางสังคม) ครอบครัว เพื่อนคนใกล้ตัว หรือแม้แต่นักจิตวิทยาก็จะช่วยเป็นกำลังใจให้น้องอีกแรงมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพูดถึงการมีแหล่งสนับสนุนทางสังคม สิ่งเหล่านี้จะสร้างความยืนหยัดให้เราในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รู้หรือเปล่า? ทุก ๆ วันความเครียด สามารถเกิดขึ้นได้ แต่มันจะมาเยี่ยมเราสักครู่และก็หายตัวไปอย่าลืมหันไปหา social support ของตัวเองบ้างแชร์ความรู้สึกคอยเป็นกำลังใจและอยู่เคียงข้างกันทุกครั้งที่เจออุปสรรค ทำแบบนี้ก็จะลดโอกาสการเกิดความเครียดสะสมซึ่งนำไปสู่โรคทั้งทางกายและใจ
4.ใช้เสียงเพลงผ่อนคลาย
มีการศึกษาให้คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัด ฟังเพลงสบาย ๆ ผลลัพธ์ที่ได้พวกเขาความดันลดต่ำลงและต้องการยาแก้ปวดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ฟังเพลงเสียงเพลงนี่เป็นเหมือนเวทมนตร์จริงกล่อมให้หลับก็ได้สร้างความสนุกก็ได้ทำให้ผ่อนคลายก็ยังได้เวลาพี่รู้สึกอารมณ์ดิ่ง เศร้า ไม่ค่อยมีความสุขก็จะเปิด favourite playlist เป็นท่าไม้ตายใช้บรรเทาอาการต่าง ๆ ทันทีหรือถ้าตอนนั้นไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ฟังเพลง นึกทำนองในหัวเองเลย และร้องตาม ต้องขอบคุณเทคนิคนี้จากแอปพลิเคชัน how we feel
5.เข้าใจอารมณ์ล่องหน
น้อง ๆ เคยสังเกตอารมณ์ตัวเองไหมตอนเช้าเป็นแบบไหนตอนกลางวันมันเปลี่ยนไปไหมและตอนเย็น รวมถึงก่อนนอนเหมือนหรือต่างกันสิ่งที่พี่ ๆ ต้องการจะสื่อคืออารมณ์จะเกิดขึ้นและสักพักจะหายไป หลังจากนั้นอาจเกิดขึ้นอีกตามสิ่งกระตุ้นเมื่อรู้แบบนี้แล้วการรับมือกับเจ้าปีศาจและนางฟ้าในตัวน้องก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เราเป็นมนุษย์มีอารมณ์ เกิดความรู้สึกได้เป็นธรรมดาและอย่าตีกรอบสิ่งที่เกิดขึ้น มันเป็นเชิงบวกหรือลบแค่เข้าใจและยอมรับความรู้สึกขณะนั้นมาลองทดสอบกันดีกว่า ระหว่างที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ น้อง ๆ กำลังรู้สึกอะไร ลองตอบในใจดูซิ
6. ระบายสะบัดปล่อยอารมณ์
ในแต่ละวันกิจกรรมวัยรุ่น ใส่เต็ม max ทุกอย่าง ทั้งเพื่อนครอบครัวการเรียน กีฬาแต่มีอีกอย่างที่น้อง ๆ หลายคนมักหลงลืมเวลาที่ให้กับตัวเองมีเพียงเราและกิจกรรมที่ชอบเท่านั้นพี่แนะนำระบายสีจะวาดรูปและระบายสีเองหรือซื้อสมุดระบายสี Mandala ก็ได้การระบายสีช่วยผ่อนคลายสมอง ทำให้น้องโฟกัสแค่สิ่งที่กำลังทำตรงหน้ารวมถึงช่วยลดอาการวิตกกังวลความเครียดและคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งตึงระหว่างวัน การระบายสียังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้รักษาผู้ป่วยทางใจ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ศิลปะบำบัดนั่นเอง
7. จริงใจกับความรู้สึกตัวเอง
คุ้น ๆ กับสถานการณ์นี้ไหม เพื่อนถามว่า โกรธหรอน้องตอบกลับไปเปล่าเพื่อนถาม โอเคไหมน้องรีบพูดสวนทันทีโอเคไม่เป็นไรแต่ในใจแตกสลายเป็นชิ้น ๆ พี่ก็เคยเป็นแบบนี้บางทีไม่อยากให้คนใกล้ตัวรู้สึกไม่สบายใจกับเราแต่ยิ่งเราสะสมอารมณ์พวกนี้ไว้มากเท่าไหร่เหมือนกับการอัดแก๊สเข้าลูกโป่งทีละนิดพอมันเต็มที่และแน่น สุดท้ายจะระเบิดออกมาดังนั้นลองฝึกตอบให้ตรงกับความรู้สึกของเรา เช่น ตอนนี้ฉันกำลังโกรธ ฉันขอเวลา 5 นาทีและเดี๋ยวเราค่อยมาคุยเรื่องรายงานวิชา Starfish กันต่อได้ไหมระบุให้คนใกล้ตัวรู้เลยตอนนี้เราเป็นอะไรฝ่ายตรงข้ามจะได้หาวิธีรับมือที่เหมาะสม และถนอมน้ำใจกันเพื่อความสัมพันธ์ระยะยาว
เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกเราห้ามเขาไม่ได้แต่เราสามารถจัดการได้แค่เข้าใจว่ามันเกิดขึ้น หายไปวนลูปอยู่แบบนี้พร้อมใช้เทคนิคที่พี่ ๆ Starfish Labz เอามาฝากรับรองเลยน้องจะโอบกอดทุกโมเมนต์ดูแลความรู้สึกของเราอย่างอ่อนโยนเหมือนกับมือที่ลูบเกาบนพุงน้อย ๆ ของเจ้าหมา เจ้าแมวแสนซน
Sources:
- The Psychological Health Benefits of Accepting Negative Emotions and Thoughts: Laboratory, Diary, and Longitudinal Evidence - PMC | ncbi
- 10 Good Reasons to Keep a Journal | psychologytoday
- Journaling for Emotional Wellness - Health Encyclopedia | University of Rochester Medical Center
- Manage stress: Strengthen your support network | APA
- Adult Coloring Books: 7 Benefits of Coloring | WebMD
- 7 Ways Music Can Help Reduce Stress and Anxiety | Ascap
Related Courses
How to เรียนรู้ รักให้เป็น
คอร์สเรียน How to เรียนรู้ รักให้เป็นนี้ จะเป็นคู่มือความรักสำหรับคนที่มีหัวใจ ให้ทุกคนได้เข้าใจความหมายของการรักที่ใช้ 'หัว' ...



How to เรียนรู้ รักให้เป็น
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรทำอย่างไร
วัยรุ่น คือ วัยที่ต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งพัฒนาการของร่างกาย ความคิด สุขภาวะจิตที่แตกต่างไปจากเด็ก ในขณะที่ ...



วัยทีนยุคใหม่ จัดการเวลายังไงให้สมดุล
ในยุคดิจิทัลที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ทั้งโซเชียลมีเดีย การเรียน กิจกรรมต่าง ๆ และการใช้ชีวิตส่วนตัว การจัดการเวลาจึงเป็นทั ...



วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
การควบคุมอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวของวัยรุ่น เป็นทักษะความฉลาดทางอารมณ์ที่ควรได้รับการส่งเสริม เพื่อสามารถใช้ ...



วัยรุ่นยุคใหม่ ต้องรู้เท่าทันอารมณ์ (Emotional Intelligence)
Related Videos


แนวโน้มอาชีพเด็กไทยในอนาคต


108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น


ปรับพฤติกรรมอย่างไร เมื่อลูกฉันกลายเป็นเด็กเกเร

