จิตวิทยาการเรียนรู้สำคัญแค่ไหน ทำความรู้จักหนึ่งในทิศทางใหม่ของการศึกษาไทยในอนาคต
ความรู้ในเรื่องของจิตใจ ความคิดและความรู้สึกสำคัญไม่เพียงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังรวมถึงกระบวนการเรียนรู้ของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียน โรงเรียนของเด็กๆ หรือการเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองของผู้ใหญ่ สำหรับคุณครูหรือผู้สอน การมีความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้ที่ดีก็ถือว่าเป็นตัวช่วยที่สำคัญอย่างยิ่งเลยทีเดียวค่ะ
เราจะสอนอย่างไรให้เด็กๆ เข้าใจ มีอะไรกันบ้างนะที่เป็นปัจจัยหรือมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของเขา คำถามเหล่านี้สามารถตอบได้ด้วยจิตวิทยาการเรียนรู้ อีกหนึ่งทิศทางการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคต และในบทความนี้ Starfish Labz จะขอหน้าทำหน้าที่ พาคุณครูทุกคนมาเรียนรู้กันค่ะ
จิตวิทยาการเรียนรู้คืออะไร
เด็กๆ เรียนรู้อย่างไร มีอะไรบ้างในร่างกายของพวกเขาที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ คำถามเหล่านี้คงจะตอบไม่ได้เลยหากไม่มีสิ่งที่เรียกว่าจิตวิทยาการเรียนรู้ หรือ Educational Psychology ซึ่งว่าด้วยความรู้ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติที่คุณครูสามารถเรียนรู้และนำไปต่อยอดได้ในห้องเรียนของตัวเองนั่นเองค่ะ
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาการสอน บรรยากาศในห้องเรียน หรือสร้างแรงจูงใจที่ดีในการเรียนรู้ให้กับเด็ก ห้องเรียนที่มีประสิทธิภาพคงเกิดขึ้นได้ด้วยการบูรณาการความรู้เรื่องจิตวิทยาที่ดี ซึ่งในความเป็นจริง ยังมีอีกหลากหลายแขนงต่อยอดออกมา อาทิ จิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive Psychology) ซึ่งครอบคลุมเรื่องกระบวนการรู้คิด, จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) ว่าด้วยอิทธิพลของสังคมต่อพฤติกรรม, พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมอย่างเดียว การโฟกัสไปที่การสร้างนิสัยที่ดี การสร้างแรงจูงใจในการเรียน หรือ การเรียนรู้ด้วยศาสตร์ของประสาทวิทยา หรือการทำงานสมอง (Brain-Based Learning)
ตัวอย่างของการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้ที่ดี เช่น Brain-Based Learning ซึ่งผสมผสานความรู้ทางประสาทวิทยาและทฤษฎีการเรียนรู้ช่วยสร้างห้องเรียนที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ในการทำงานของสมอง ซึ่งรวมถึงการทำงานทางด้านความคิด จิตใจ และความรู้สึก
จิตวิทยาการเรียนรู้นัยหนึ่งจึงเปรียบเหมือนเครื่องมือ (Tools) ที่คุณครูนำมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ช่วยเด็กๆ ให้สามารถพัฒนาตนเอง ตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของเขา เข้าใจว่าเด็กๆ แต่ละคนมีความคิดและนิสัยที่แตกต่างกัน และคุณครูสามารถช่วยพวกเขาได้ด้วยการบูรณาการความรู้ทางจิตวิทยา สร้างห้องเรียนที่มีคุณค่าต่อเด็กๆ
จิตวิทยาการเรียนรู้ สำคัญอย่างไรต่อการเรียนและการสอน
จิตวิทยาการเรียนรู้กล่าวง่ายๆ ก็คือเครื่องมือ ถือเป็นเครื่องมือการสอนในรูปของชุดความรู้ แต่นอกเหนือจากการเป็นเครื่องมือการสอนแล้ว ตัวความรู้เองยังมีคุณประโยชน์ต่อคุณครูเช่นกัน ความรู้หลายๆ องค์ความรู้ช่วยให้เกิดไม่เพียงประสิทธิภาพในการสอน แต่ยังช่วยลดภาระหน้าที่ของคุณครู ลดความกังวล ความเครียด ช่วยคุณครูรับมือกับปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ในระหว่างการสอนได้อย่างดี เช่น หากเป็นเมื่อก่อนที่ยังไม่มีความรู้ในจุดนี้ เราอาจรู้สึกท้อแท้ไปว่าไม่ว่าจะสอนอย่างไร เด็กๆ บางคนก็ไม่ดีขึ้นเลย ในขณะที่ความจริงแล้วมีปัจจัยที่ส่งผลต่อเขามากไปกว่าแค่การสอนในห้องเรียน ความคิด อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ เมื่อเราเข้าใจแล้ว เราก็สามารถใช้เครื่องมือ ความรู้ทางจิตวิทยาชวนให้เขามองเห็นมุมใหม่ๆ โลกใหม่ๆ ได้ รวมถึงพัฒนาการสอนของเราในรูปแบบใหม่ๆ ถือเป็นก้าวใหม่ที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตรวมถึงการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในระยะยาวของเด็กๆ อีกด้วย การสร้างรากฐานทางจิตวิทยาที่ดีต่อการเรียนรู้ยังช่วยเสริมสร้างทัศนคติการเรียนรู้ที่ดีของเด็กๆ ช่วยให้เขาเกิดกรอบความคิดแบบ Life-Long Learning รักการเรียนรู้ แม้จะพ้นจากรั้วโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาไปแล้ว ก็ยังคงรักที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจต่อไป
อยากบูรณาการจิตวิทยาการเรียนรู้เข้ามาในการสอน เริ่มอย่างไร 3 สเตปง่ายๆ จาก Starfish Labz
การบูรณาการจิตวิทยาการเรียนรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสอนอาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่ในความจริง ไม่ใช่เรื่องยากเลยค่ะ มาดู 3 สเตปการเริ่มง่ายๆ จาก Starfish Labz กัน
1.ค้นคว้าเครื่องมือจิตวิทยาการเรียนรู้ที่ใช่ ทฤษฎีไหนที่ใช่เรา?
ทฤษฎีจิตวิทยาที่เกี่ยวโยงกับการเรียนรู้มีมากมาย ขึ้นอยู่กับคุณครูเลยค่ะว่ามีความสนใจในทฤษฎี ด้านไหนที่เราอยากศึกษา ด้านไหนที่เราอยากลองเรียนรู้ ปีนี้ เราอาจอยากลองเรียนรู้เรื่อง Cognitive Psychology ส่วนปีหน้าเราอาจอยากลองค่อยๆ แตะเรื่อง Behaviorism และนอกเหนือจากความรู้จิตวิทยาที่เป็นที่นิยมแล้ว คุณครูยังสามารถเรียนรู้มุมอื่นๆ ของจิตวิทยาได้อย่างเป็นอิสระ
2.ทดลอง เรียนรู้ ปรับ เปลี่ยน ประยุกต์ใช้ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปในการบูรณาการ
เมื่อเรียนรู้แล้วก็ถึงเวลาของการนำมาปรับใช้ เราไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในแขนงความรู้หนึ่งๆ แล้วค่อยเริ่มใช้ แต่เราสามารถค่อยๆ เรียนรู้ และใช้งานไปทีละอย่างสองอย่าง ผสมผสานไปในกิจกรรมการสอน รวมไปถึงการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กๆ
3.วัดผลเครื่องมือและพัฒนาการใช้ต่อไป
บางเครื่องมือทางจิตวิทยาอาจจะไม่ใช่สำหรับเรา บางองค์ความรู้จะไม่ใช่องค์ความรู้ที่เรารู้สึกว่าได้ผล หรือเหมาะกับการสอนของเรา เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญก็คือการวัดผลว่าความรู้ที่เรากำลังใช้อยู่นี้ได้ผลจริงๆ ไหม ถ้าไม่ได้ ต้องปรับอย่างไร หรืออาจต้องเปลี่ยนไปเป็นแขนงอื่นๆ บางที เราลองจิตวิทยาการรู้คิด (Cognitive Psychology) แล้วไม่ได้ผลอย่างที่เราคาดหวัง แต่พอมาลองจิตวิทยาเชิงบวก (Positive Psychology) แล้วได้ผลอย่างดีทีเดียว หรือในหลายๆ กรณี ก็อาจเป็นการผสมผสานกัน ความรู้ในเรื่องการรู้คิดอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่ยังต้องอาศัยการรู้คิดหรือจิตวิทยาเชิงบวกเข้ามาร่วมด้วย
สรุป
จิตวิทยาการเรียนรู้ (Educational Psychology) ถือเป็นก้าวใหม่ของการศึกษาไทยในอนาคต เป็นทิศทางการพัฒนาและการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อเด็กๆ และคุณครู
แม้การเรียนรู้แต่ละแขนงความรู้ อาจต้องอาศัยเวลากันสักหน่อย แต่ถ้าคุณครูค่อยๆ ให้เวลากับตนเอง Starfish Labz เชื่อว่าจะต้องสามารถช่วยให้เกิดห้องเรียนรูปแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิมทั้งต่อเด็กๆ และคุณครูแน่นอนค่ะ
อ้างอิง:
บทความใกล้เคียง
'Mentality' สำคัญแค่ไหน? สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ใหม่ เพื่อการศึกษาไทยในอนาคต
เจาะลึกการศึกษาไทยในอนาคต ทำความรู้จัก Nano Learning เทรนด์การศึกษายุคใหม่ของศตวรรษ
Starfish Future Labz แนะแนวทักษะชีวิต 5 เคล็ดลับ ช่วยลูกพัฒนาสมาธิ พร้อมจดจ่อในทุกสถานการณ์
Related Courses
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
Google Arts & Culture แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงผลงานศิลปะและวัฒนธรรมจากพิพิธภัณฑ์และสถา ...
เรียนรู้ศิลปะดิจิทัล Google Art & Culture Metaverse
ต้องใช้ 100 เหรียญ
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...