10 เทคนิคการให้คะแนนอย่างมีประสิทธิภาพที่ครูต้องรู้

Starfish Academy
Starfish Academy 6866 views • 1 ปีที่แล้ว
10 เทคนิคการให้คะแนนอย่างมีประสิทธิภาพที่ครูต้องรู้

ด้วยบริบทของการศึกษาไทยที่ห้องเรียนส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยนักเรียนไม่น้อยกว่า 30 คน ต่อคุณครู 1 คน (ไม่นับบริบทโรงเรียนขนาดเล็ก) ทำให้คุณครูต้องใช้เวลาอย่างมากในการให้คะแนนในช่วงสอบกลางภาคหรือปลายภาค ซึ่งการให้คะแนนของนักเรียนนั้นมีความสำคัญต่อการศึกษาต่อและการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างมาก ดังนั้น การรู้วิธีการให้คะแนนอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้คุณครูประหยัดเวลามากขึ้น ด้วย 10 เทคนิคต่อไปนี้

1.หลีกเลี่ยงการให้คะแนนทุกอย่าง : เรื่องนี้อาจทำให้คุณครูบรรจุใหม่ตกใจ แต่การให้คะแนนงานทุกชิ้นบนโต๊ะ อาจทำให้สิ้นเปลืองพลังงานของคุณครูได้แทนที่จะใช้เวลาไปกับการวางแผนการสอนในครั้งต่อไปนี้ ดังนั้น แทนที่จะให้คะแนนกับทุกชิ้นงานของนักเรียน คุณครูลองเปลี่ยนเป็นการประเมินรายครั้ง โดยอาศัยการสังเกตการมีส่วนร่วมของนักเรียนแทน เช่น นักเรียนเข้ามาร่วมกิจกรรมอภิปรายในชั้นเรียน นักเรียนส่งบันทึกการเรียนรู้ในแต่ละวัน เปลี่ยนจากการให้คะแนนรายข้อ เป็นการให้คะแนนการมีส่วนร่วมของนักเรียนแทน เพื่อประหยัดเวลา

2.ใช้เทคนิคการให้คะแนนที่แตกต่างกัน : ระบบการให้คะแนนที่เราพบมากคือให้การระบบเกรดเฉลี่ย (GPA) ร่วมกับเกรดที่เป็น 1-4 หรือ A-D เป็นต้น อย่างไรก็ตามมีเทคนิคการให้คะแนนที่มากมายให้คุณครูได้เลือกใช้เพื่อให้เหมาะสมกับช่วงวัย และความสามารถหรือความต้องการพิเศษของนักเรียนให้คุณครูได้พิจารณาเลือกใช้ ดังนี้ 1. การให้คะแนนตามมาตรฐาน เป็นการให้คะแนนตามมาตรฐานโดยแบ่งเป็นเป้าหมายการเรียนรู้ ที่ลึกกว่าการให้คะแนนเพียงอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับว่านักเรียนสามารถแสดงความสามารถได้ดีเพียงใด เช่น การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูจะประเมินทักษะของนักเรียน ณ ตอนนั้น โดยอาจแบ่งเกณฑ์ได้ว่า ต่ำกว่ามาตรฐาน/ ตามมาตรฐาน/เกินมาตรฐาน เป็นต้น 2. ระบบ ผ่าน-ไม่ผ่าน ซึ่งระบบนี้อาจจะเหมาะสมกับวิชาที่ให้นักเรียนได้แสดงความสามารถเฉพาะเจาะจง เช่น ดนตรี หรือ กีฬาเป็นต้น แต่อาจจะไม่เหมาะกับบางสาระวิชา

*หมายเหตุ ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่มีระบบการให้คะแนนที่เหมาะสมที่สุด คุณครูสามารถเลือกใช้ระบบการใช้คะแนนให้เหมาะสมกับบริบทห้องเรียนของตนเอง

  1. สร้างเกณฑ์การให้คะแนน (Rubric) : การสร้างรูบิคให้คะแนน หรือมาตราส่วนการให้คะแนนมีประโยชน์สำหรับนักเรียนและครูเป็นอย่างมาก ช่วยให้ครูหลีกเลี่ยงความคิดเห็นซ้ำๆ และสามารถนำกลับมาใช้สำหรับวิชาอื่นๆ ได้ ช่วยประหยัดเวลาในการให้คะแนน อีกทั้งรูบิคยังช่วยให้นักเรียนทราบความคาดหวังของแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน ลดความสับสนของนักเรียน และช่วยให้ครูชัดเจนในตัวเองว่าต้องการเห็นผลลัพธ์ของนักเรียนเป็นอย่างไร
  2. ดึงนักเรียนมีส่วนร่วมในการให้คะแนน : อย่าลืมว่านักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการให้คะแนนได้เช่นกัน แทนที่คุณครูจะใช้เวลาในการทำเอกสารด้วยตัวเอง คุณครูสามารถให้นักเรียนช่วยให้คะแนนเพื่อนได้ เช่น การสลับให้นักเรียนช่วยกันตรวจการบ้านของเพื่อน ข้อดีของการให้คะแนนแบบนี้ ช่วยให้นักเรียนปรับความเข้าใจเรื่องเนื้อหา และเพิ่มทักษะการคิดวิพากษ์ได้ด้วย
  3. หลีกเลี่ยงการให้การบ้านในเชิงปริมาณ แต่เน้นที่คุณภาพมากกว่า : คุณครูอาจคิดว่าการให้การบ้านเยอะๆ นั่นหมายถึงนักเรียนจะได้เรียนรู้เยอะๆ แต่ความจริงไม่ใช่แบบนั้น การให้การบ้านเยอะอาจส่งผลตรงกันข้าม นักเรียนอาจจะต่อต้านการเรียนรู้ ดังนั้นขอให้ครูประเมินคุณค่า หรือหัวใจสำคัญของกิจกรรมนั้นๆ ว่าภาระงานแบบไหนที่ควรมอบหมายให้นักเรียนทำแล้วเกิดประโยชน์กับนักเรียนจริงๆ เช่น ลดงานแบบฝึกหัดยิบย่อย แต่มอบหมายงานเป็นโครงการ เพื่อให้นักเรียนแบ่งสรรปันส่วนกับเพื่อนๆ เอง
  4. ลดสิ่งรบกวนในช่วงเวลาที่ให้คะแนน : คุณครูอาจจะเสียสมาธิได้ง่ายหากเปิดการแจ้งเตือนต่างๆเพราะเมื่อเวลาคุณครูให้คะแนน สิ่งสำคัญคือการหาสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ที่จะช่วยให้คุณครูมีสมาธิและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำได้คือ ปิดการแจ้งเตือนในมือถือ ปิดการแจ้งเตือนในคอมพิวเตอร์ หรือนำมือถือไว้ห่างจากตัว เป็นต้น
  5. กำหนดเวลาให้คะแนนอย่างชัดเจน : ระบุช่วงเวลาที่คุณครูจะทำคะแนนของนักเรียนให้เสร็จอย่างชัดเจน
  6. ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย : ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันมากมายที่จะช่วยให้คุณครูสามารถทำคะแนน หรือประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น Google forms / Google sheet / Zipgrade / Kahoot เป็นต้น
  7. สร้างระบบการฟีดแบ็ก : นอกเหนือจากการให้คะแนนแล้ว คุณครูอาจจะสร้างระบบการให้ฟีดแบ็กกับนักเรียนอย่างเป็นระบบ เพราะการมีระบบฟีดแบ็กจะช่วยให้ครูและนักเรียนเกิดการพัฒนาร่วมกัน เช่น การสร้างระบบฟีดแบ็กแบบวนรอบ โดยใน 1 สัปดาห์ คุณครูให้นักเรียนเขียนฟีดแบ็ก แล้วนำมาประกอบกับการคะแนนได้
  8. หาเวลาพักผ่อน : หลังจากการทำคะแนนให้นักเรียนมาหลายชั่วโมง คุณครูควรหาเวลาในการพักผ่อนบ้าง จากศึกษาพบว่าการหยุดทำงานเพียงเล็กน้อย จะช่วยให้คุณครูสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น เพราะการทำงานโดยไม่หยุดพักเป็นเวลานาน นำไปสู่การเครียด และเหนื่อยล้า จนคุณครูอาจหมดไฟได้ ดังนั้น ลองหาเวลาพัก ลุกขึ้นเดิน หรือเคลื่อนไหวทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เป็นต้น

ทั้ง 10 ข้อนี้ เป็นเทคนิคที่จะช่วยให้คุณครูสามารถให้คะแนนนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งเทคนิคในเชิงวิชาการและเชิงการดูแลสุขภาพองค์รวมของคุณครู ซึ่งคุณครูสามารถนำไปปรับใช้ตามบริบทห้องเรียนของตัวเองได้ค่ะ 

อ้างอิง

10 Grading Tips for Teachers https://shorturl.at/xEP38



มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5 (3 ratings)
10955 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning

เรียนรู้การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามหลักการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครูในการประเมิ ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.2 Active Learning

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2769 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...

Starfish Academy
Starfish Academy
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
Starfish Academy

คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว

Starfish Academy
5 (2 ratings)
7355 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านความสัมพันธ์
basic
3:00 ชั่วโมง

เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน

เผยเคล็ดลับ! เทคนิคการจัดการเรียนรู้และชั้นเรียน สู่ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน พร้อมไหมที่จะยกระดับการสอนของคุณ? คอร์สออนไลน์นี้ร ...

นายตะวัน แสงทอง
นายตะวัน แสงทอง
เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน
นายตะวัน แสงทอง

เทคนิคการจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียนให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกับผู้เรียน

นายตะวัน แสงทอง

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
01:01:51

PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด

395 views • 6 เดือนที่แล้ว
PA พลิกโฉมห้องเรียนแห่งอนาคต ด้วยการประเมินผู้เรียนที่ตรงจุด
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
592 views • 1 ปีที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
801 views • 3 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
01:28:36

เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

643 views • 1 ปีที่แล้ว
เทคนิคการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน