5 เคล็ดลับการพัฒนาตนเองสำหรับเด็กๆ เสริมสร้างทักษะการกล้าแสดงออก
สำหรับเด็กๆ แล้วการพัฒนาตนเองอาจเป็นเรื่องยาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากได้รับการช่วยเหลือและคำแนะนำจากคุณพ่อคุณแม่อย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะทักษะไหนๆ พวกเขาก็สามารถค่อยๆ พัฒนาได้อย่างดีทีเดียวค่ะในคอลัมน์การพัฒนาตนเองสำหรับลูกรักในวันนี้ หนึ่งในทักษะที่ Starfish Labz อยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาลองฝึกให้เด็กๆ กันก็คือทักษะความกล้าแสดงออกที่ไม่ได้มีคุณประโยชน์เพียงแค่เรื่องของการสื่อสารแต่ยังรวมถึงช่วยให้เขาเกิดความรู้สึกเชื่อมโยงกับคนอื่นๆ และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างอีกด้วยสำหรับเด็กๆ แล้วจะพัฒนาความกล้าแสดงออกนี้อย่างไรดี ตาม Starfish Labz มาดูกันในบทความนี้เลยค่ะ
5 เคล็ดลับการพัฒนาตนเองสำหรับเด็กๆ เสริมสร้างทักษะการกล้าแสดงออก
1.ฝึกลูกๆ ให้เริ่มสนทนาและกล้าแสดงออกที่บ้าน
ก้าวแรกง่ายๆ สำหรับเด็กๆ ที่อาจยังไม่เคยลองฝึกทักษะการกล้าแสดงออกก็คือการชวนให้เขามาละลายพฤติกรรมตัวเองกันที่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นผ่านกิจกรรมง่ายๆ สบายๆ ไปจนถึงกิจกรรมท้าทาย เน้นความสนุกสนาน ความผ่อนคลาย สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ การแสดงออกที่เป็นธรรมชาติ ไม่ฝืน ไม่บังคับ และไม่กดดันเด็กๆ จนเกินไปหัวใจของการแสดงออกไม่ใช่การแสดงออกตามคนอื่นๆ แต่การแสดงออกตามตัวตนจริงๆ ของเด็กๆ ยิ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถชวนให้เขาลองมาเป็นตัวเองได้ดีท่าไหร่ ก็ยิ่งช่วยให้เขาอยากลองกล้าแสดงออกอย่างเป็นตัวเองได้ดีเท่านั้น
2.พาลูกๆ ออกไปลองในสถานการณ์จริง
ฝึกในบ้านได้ดีแล้ว ก็ถึงเวลาออกไปลองในสถานการณ์จริง ไม่ว่าจะเป็นแค่การสนทนาง่ายๆ การแสดงออกง่ายๆ จนไปถึงที่อาจชวนให้เขาเกิดความประหม่า บอกเด็กๆ ว่าไม่ต้องกังวล สถานการณ์ตรงหน้าหรือบุคคลตรงหน้าก็เป็นบุคคลเหมือนกับเรา เราแค่ต้องเป็นตัวเองอย่างดีที่สุดและไม่จำเป็นต้องรู้สึกกดดันเคล็ดลับในเทคนิคนี้ก็คือการฝึกอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากสถานการณ์ง่ายๆ เล็กๆ ในชีวิตประจำวันไปจนถึงใหญ่ๆ เช่น การลองชวนให้ลูกลงทำกิจกรรมพิเศษที่โรงเรียน เล่นละคร หรือกิจกรรมที่อาจต้องให้เขาแสดงออก เด็กๆ อาจฝืนในช่วงแรกๆ แต่ถ้าเขาได้เจอกับที่กิจกรรมที่ใช่แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็แทบไม่ต้องคอยผลักดันเลยค่ะ
3.ให้โอกาสลูกลองทำและเรียนรู้ด้วยตัวเอง
การพัฒนาตนเองในด้านทักษะความกล้าแสดงออกบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่เสมอไปแต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ จากการลองให้ลูกฝึกทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง เรียนรู้ด้วยตัวเอง ล้มและลุกด้วยตัวเอง ซึ่งอาจจะฟังดูเหมือนไม่ได้ช่วยเรื่องความกล้าแสดงออก แต่ความจริงแล้วมีภาวะเล็กๆ ที่เกี่ยวโยงกันอยู่นั่นก็คือเรื่องของความกล้าหาญ ความกล้าที่จะลองทำสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เขาเปิดใจ ลองเปิดตัวเองสู่สิ่งใหม่ ๆ ที่เขาสามารถเป็นตัวเองนั่นเองค่ะ ภาวะและทักษะในการทำสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเองยังช่วยให้ลูกเกิดความมั่นใจ ลดความประหม่า และรู้สึกดีเวลาที่เขาได้แสดงความเป็นตัวเองออกมาอย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้านอีกด้วย เมื่อเขามั่นใจในตัวเองในด้านหนึ่ง อีกด้านอื่นๆ ก็จะค่อยๆ ออกมา ยิ่งมั่นใจก็ยิ่งกล้าแสดงอออก ยิ่งกล้าแสดงออกก็ยิ่งรู้สึกมั่นใจ เป็นการฝึกอย่างเป็นธรรมชาติ ทีละเล็กละน้อย ไม่เกิดความกดดัน
4.ช่วยลูกฝึกทักษะย่อยๆ ที่ช่วยเสริมทักษะการกล้าแสดงออก
จะมีทักษะการกล้าแสดงออกที่ดีได้ นอกเหนือจากการฝึกออกมาตรงๆ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญก็คือการช่วยเด็กๆ ฝึกทักษะอื่นๆ ที่ส่งเสริมกัน อาทิ ทักษะการมีความคิดแบบเติบโตได้ (Growth Mindset), ทักษะสุขภาพจิตใจที่ดี และไปจนถึงทักษะอื่นๆ ที่เด็กๆ คิดว่าเขาต้องการเด็กๆ บางคนก็ต้องการให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยฝึกทักษะการพูด การเอ่ยอย่างชัดถ้อยชัดคำ หรือบางคนก็รู้สึกประหม่า กังวล หัวใจสำคัญคือการระบุอุปสรรคดังกล่าวและช่วยเด็กๆ คลายปมนั้นๆ เพื่อให้เขาแสดงตัวเองออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ เราอาจจะยังไม่กล้าแสดงออกก็ไม่เป็นไร เราค่อยๆ ฝึกไป ฝึกเล็กผสมน้อยจนค่อยๆ มีทักษะการกล้าแสดงออกที่ดี
5.กิจกรรมไม่พอ มากีฬา เคล็ดไม่ลับช่วยเด็กๆ สร้างทักษะความกล้าแสดงออก
เคล็ดลับสุดท้ายที่ไม่ลับ ถ้ายังไม่พอล่ะก็ ขอแนะนำกีฬา โดยเฉพาะในรูปแบบทีมที่เด็กๆ สามารถฝึกการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ ได้อย่างดี เป็นธรรมชาติ และยังช่วยสร้างความสนุกด้วยค่ะ กีฬายังช่วยเรื่องสุขภาพที่ดีของลูก ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นๆ ฝึกทักษะการแสดงออกแล้วยังได้ฝึกทักษะอื่นๆ ตามไปด้วย อาทิ การมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นรวมไปถึงการมีวินัย สิ่งสำคัญคืออย่าลืมบอกให้ลูกผ่อนคลายอยู่เสมอ ไม่จำเป็นต้องเอาจริงเอาจัง ช่วยลูกให้เข้าใจคุณประโยชน์ที่หลากหลายของกีฬาซึ่งไม่ใช่แค่การแข่งขัน แต่ยังรวมถึงประโยชน์อื่นมากมาย เป็นต้น
การพัฒนาตนเองในด้านทักษะความกล้าแสดงออกอาจไม่ใช่ทักษะสำหรับเด็กๆ ทุกคน อาจไม่ใช่ทักษะที่เด็กๆ ทุกคนต้องการหรืออยากฝึก หัวใจที่สำคัญที่สุดจึงคือการสื่อสารกับลูกก่อน ดูธรรมชาติและตัวตนที่แท้จริงของลูก เอาความสบายใจของเขาเป็นหลัก และเน้นไปที่การช่วยเขาฝึกพัฒนาจิตใจและความรู้สึกที่ดีในการแสดงออกเป้าหมายของการฝึกยังไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังเป็นแค่ความสามารถในการกล้าแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติง่ายๆ เกิดความกังวลน้อยลงเวลาต้องแสดงออก และรู้สึกดีเวลาที่มีโอกาสได้แสดงออกมา หัวใจสำคัญคือความรู้สึกผ่อนคลาย การเป็นตัวเองได้อย่างไม่ต้องกังวล นั่นคือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการกล้าแสดงออก
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...