เทคนิคการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อตอบโจทย์วิทยฐานะ วPA by ครูสายบัว

นางสายบัว พิมพ์มหา
นางสายบัว พิมพ์มหา 4086 views • 1 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อตอบโจทย์วิทยฐานะ วPA by ครูสายบัว

วันนี้ Starfish Labz นำเทคนิคการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อตอบโจทย์วิทยฐานะวPA จากการถอดสัมภาษณ์คุณครูสายบัว พิมพ์มหา คุณครู Influencer ชื่อดังจากเพจครูสายบัว ซึ่งมีผู้ติดตามเพจกว่า 1.2 แสนคน มาฝากกันค่ะ

เริ่มต้นจากบริบทของโรงเรียนที่ครูสายบัวเล่าให้ฟังว่า ‘ก่อนหน้านี้ครูสายบัวอยู่โรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียนจำนวน 190 คน แต่ตอนนี้ย้ายมาอยู่โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ ซึ่งมีนักเรียนจำนวน 4,000 กว่าคน ด้วยโรงเรียนมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้จำนวนห้องเรียนและจำนวนนักเรียนในแต่ละห้องเพิ่มขึ้นด้วย จากโรงเรียนเดิมห้องเรียน 1 ห้อง มีนักเรียนไม่เกิน 15 คน แต่โรงเรียนปัจจุบัน ในห้องเรียน 1 มีนักเรียนจำนวน 45 คน ทั้งหมด 11 ห้อง’

ด้วยความแตกต่างนี้ ทำให้คุณครูสายบัวจะต้องออกแบบวิธีการสอนในสาระวิทยาการคำนวณให้เหมาะสมกับบริบทของนักเรียนแต่ละโรงเรียน โดยที่คุณครูสายบัวได้มาบอกเล่าเทคนิคการสอนวิทยาการคำนวณ และที่สำคัญสามารถตอบโจทย์วิทยฐานะ วPA ได้อีกด้วย

  1. ตรวจสอบระดับปฏิบัติการที่คาดหวังของตนเอง “ครูสายบัวสอนวิทยาการคำนวณ ระดับวิทยฐานะอยู่ที่ระดับชำนาญการพิเศษ ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่ระดับเชี่ยวชาญ เพราะฉะนั้นความสามารถของครูตามระดับปฏิบัติการที่คาดหวังนี้ คือ ‘คิดค้น ปรับเปลี่ยน’ สิ่งนี้เป็นเหมือนเป้าหมายหลักในการออกแบบห้องเรียนของครู
  2. วิเคราะห์หลักสูตรและตัวชี้วัดในรายวิชาวิทยาการคำนวณ คุณครูจะวิเคราะห์สมรรถนะ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน เพื่อที่จะวางแผนพานักเรียนไปถึงสมรรถนะนั้นให้ได้
  3. วิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล หรือรายห้องเรียน เพราะด้วยจำนวนห้องเรียนที่มาก แต่นักเรียนแต่ละห้องเรียนมีความสามารถที่แตกต่างกัน คุณครูไม่สามารถสอนเนื้อหาเดิม หรือใช้วิธีการเดิมได้ทุกครั้ง เช่น ห้องเรียน ก เป็นเด็กที่สามารถปล่อยให้คิดเองได้ ครูก็อาจจะให้โจทย์ปัญหาเยอะๆ แต่ห้องเรียน ข เด็กส่วนใหญ่ยังไม่สามารถคิดเองได้ ครูอาจจะต้องคอยหาเครื่องมือ หรือเตรียมสื่อมาสนับสนุนให้มากขึ้น
  4. ยึด 8 ตัวชี้วัดตามหลักการ Powerful Pedagogy วัด Performance ที่เกิดกับคุณครู
  5. ใช้เทคนิคการสอน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เริ่มจากปัญหาที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถวิเคราะห์โจทย์ได้

a.ให้นักเรียนกำหนดปัญหา เช่น สอนการเขียนโปรแกรม python เด็กจะต้องรู้เรื่องการคำนวณพื้นที่มาก่อน (ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิม วิชาคณิตศาสตร์ กับการเรียนรู้ใหม่  coding : ตัวชี้วัดที่ 2)

b.นำเข้าสู่บทเรียน โดยการใช้เกมกระตุ้น เช่น Quizzes นักเรียนจะตื่นเต้น (ผู้เรียนได้รับการกระตุ้น และเกิดแรงจูงใจในการเรียน : ตัวชี้วัดที่ 4)

c.ใช้สื่อชุดการสอนให้นักเรียนเรียนรู้วิทยาการคำนวณด้วย Google Classroom (ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม : ตัวชี้วัดที่ 7)

d.ให้นักเรียนลงมือเขียนโปรแกรม โดยครูสร้างตัวอย่างให้ และให้นักเรียนค้นหาวิธีการด้วยตนเอง (ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ : ตัวชี้วัดที่ 3)

e.ใช้กระกระบวนการกลุ่ม จับคู่กัน ศึกษาหาความรู้ด้วยกัน (ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม : ตัวชี้วัดที่ 7)

f.คุณครูสรุปเนื้อหา (จากการที่เด็กสรุปองค์ความรู้ของตนเองมาก่อน) (ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน : ตัวชี้วัดที่ 1)

g.คุณครูประเมินนักเรียน สะท้อนการเรียนรู้ที่ได้จากเรียนวันนี้ โดยใช้แอปพลิเคชั่น Plickers เป็นการประเมินผลโดยการใช้ภาพ (ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้ : ตัวชี้วัดที่ 6)

สำหรับผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะในรายวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนคือ นักเรียนได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยี การนำเสนองาน การคิดแก้ปัญหาจากการ Coding โดยที่ครูไม่ได้เอาผลสัมฤทธิ์เป็นตัวตั้ง แต่นำสมรรถนะมาเป็นตัวตั้ง

นอกจากนี้คุณครูสายบัวยังให้ Tips การสอนเล็กๆ มาฝากเพื่อนครูเพิ่มเติมดังนี้

  1. ครูตั้งคำถามให้นักเรียนที่สามารถตอบได้เป็นผู้ตอบ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เพื่อนนักเรียนคนอื่น สามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตัวเองเช่นกัน
  2. สำหรับนักเรียนที่ไม่มีอุปกรณ์การเรียน Coding เริ่มแรกคุณครูสามารถให้นักเรียนฝึกทักษะการแก้ปัญหาผ่านแบบฝึกหัดที่เป็นกระดาษได้ เช่น การฝึกเขียนอัลกอริทึม
  3. หากคุณครูไม่มีไอเดียในการสอน ขอให้เริ่มมองจากปัญหาในห้องเรียนก่อน เช่น เด็กในห้องเรียนมีปัญหาเรื่องการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ คุณครูสามารถเริ่มต้นแก้ปัญหาจากตรงนั้นก่อนได้

หวังว่าคุณครูทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ และ Starfish Labz ขอขอบคุณคุณครูสายบัว พิมพ์มหา ที่มาแบ่งปันเทคนิคการสอนวิทยาการคำนวณเพื่อตอบโจทย์วิทยฐานะ วPA นะคะ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1030 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3770 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7049 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:30 ชั่วโมง

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

แนวทางสู่ความสำเร็จ วPA การศึกษาพิเศษ
01:12:56
Starfish Academy

แนวทางสู่ความสำเร็จ วPA การศึกษาพิเศษ

Starfish Academy
449 views • 1 ปีที่แล้ว
แนวทางสู่ความสำเร็จ วPA การศึกษาพิเศษ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
01:10:44
Starfish Academy

ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA

Starfish Academy
776 views • 1 ปีที่แล้ว
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไรให้ครบ 8 องค์ประกอบ วPA
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
01:03:03
Starfish Academy

แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA

Starfish Academy
568 views • 1 ปีที่แล้ว
แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA สอนอย่างไรให้ผ่าน PA
Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ
01:32:22
Starfish Academy

Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ

Starfish Academy
89 views • 7 วันที่แล้ว
Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ