เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับ ผอ.ยุคใหม่ ช่วยลดความขัดแย้งในโรงเรียน
ความขัดแย้ง (Conflicts) คือสภาวะ หรือสถานการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคนกับคน (ความขัดแย้งเกี่ยวกับความสัมพันธ์) หรือคนกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นภาระงาน หรือความเชื่อต่างๆ ที่แต่ละบุคคลคิดและเชื่อต่างกัน
นอกจากนี้ความขัดแย้ง ยังเป็นสิ่งที่มนุษย์หลีกเลี่ยงได้ยากหากจะต้องทำงานร่วมกับผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย เช่น ในบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนที่จะต้องทำงานกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณครู ผู้ปกครอง นักเรียน หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในโรงเรียน ซึ่งในบางครั้งตัวเราเองอาจจะกลายเป็นหนึ่งในความขัดแย้งที่เกิดขึ้น หรือในอีกหลายๆ ครั้งเราก็อาจจะเป็นผู้ทำหน้าที่ “บริหารความขัดแย้ง” เพื่อช่วยลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียนก็เป็นไปได้เช่นกัน เพียงแค่ผู้บริหารยุคใหม่ทุกคนต้องพยายามกลับมารับรู้สถานะตัวเองว่า “เราอยู่ตรงไหนของวงจรของความขัดแย้งนี้ แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร”
วันนี้ Starfish Labz ขอนำเสนอเคล็ด (ไม่) ลับสำหรับผู้บริหารยุคใหม่ที่อยากช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน โดยเริ่มจาก
1.เข้าใจประเภทของ “ความขัดแย้ง” ที่เกิดขึ้นก่อนว่าเป็นความขัดแย้งประเภทใด
Harvard Law School ในบทความที่มีชื่อว่า “3 types of Conflict and How to address them” บอกว่า ความขัดแย้งมีด้วยกันอยู่ 3 ประเภท ประเภทที่ 1 คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างคน (ครู) กับงาน เช่น โรงเรียน A มีครูที่สอนไม่ตรงกับวิชาเอกที่ตัวเองเรียนมา แต่ต้องสอนวิชาที่ไม่ถนัด / ภาระงานของครูเยอะเกินไป / ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับนโยบายหรือคำสั่ง / ความคาดหวังในที่ทำงาน เป็นต้น ประเภทที่ 2 คือ ความขัดแย้งจากความสัมพันธ์ เช่น โรงเรียนที่มีคุณครูที่มีความแตกต่างหลากหลาย แต่ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันในโรงเรียน ทานข้าวด้วยกัน นั่งอยู่ในห้องพักครูห้องเดียวกัน มีสไตล์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกัน ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ความขัดแย้งประเภทที่ 2 นี้จะเกิดขึ้น ประเภทที่ 3 คือ ความขัดแย้งด้านค่านิยม ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรมที่อยู่ลึกกว่าสไตล์การใช้ชีวิต ความขัดแย้งประเภทนี้อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม การเลือกรับหรือไม่รับนโยบายต่างๆ ที่ต้องการความคิดเห็นจากคนหมู่มาก เป็นต้น
2.โฟกัสไปที่ ‘ปัญหา’ ไม่ใช่การเจาะจงไปที่ตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยอาจจะเริ่มจากการ ‘รับฟัง’ โดยไม่ตัดสิน ไม่ว่าปัญหานั้นจะเริ่มเกิดจากใครจึงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่จะต้องเริ่มต้นหาต้นตอของปัญหานั้นให้เจอ
3.มีท่าทีการพูดคุยที่อ่อนโยน และพยายามถาม หรืออธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ถ้าหากความขัดแย้งนั้นมีผลต่อนักเรียนโดยตรง เช่น คุณครูไม่มีเวลามาสอนนักเรียน เพราะภาระงานเยอะเกินไป (เป็นความขัดแย้งระหว่างงานและคน)
4.ไม่ควรกำหนดข้อยุติ แต่ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องร่วมกันคิด ออกแบบวิธีการแก้ไขความขัดแย้งนั้น เพราะผู้บริหารเป็นเพียงแค่ “คนกลาง” และเป็นผู้รับฟัง ซื่อตรง มีความยุติธรรม
5.บอกความคาดหวังต่อผู้ที่เกี่ยวข้องว่า เราต้องการการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะแบบนี้ขึ้นอีก และมีการติดตามความก้าวหน้าร่วมกันอยู่เสมอ
จะเห็นได้ว่า การเข้าไปรู้จักกับความขัดแย้งนั้นเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่อยากจะชวนผู้บริหารทุกคนย้อนกลับไปมองที่โรงเรียนของตนเองก่อนว่า “ตอนนี้โรงเรียนของเรามีความขัดแย้ง หรือปัญหาอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง” แล้วชวนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนมาร่วมออกแบบ และแก้ไขความขัดแย้งโดยอาศัยการพูดคุยแบบกัลยาณมิตร เพราะความจริงแล้ว “ความขัดแย้ง” ไม่ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดีที่มนุษย์จะต้องหลีกเลี่ยงเสมอไป แต่เป็นสิ่งผู้บริหารควรนำมาเป็นโอกาส โดยการเอาความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ใต้พรมขึ้นมาปัดฝุ่น และพานำไปสู่การแก้ไขได้จริง ซึ่งจะช่วยพัฒนาโรงเรียนและบุคลากรทุกคนต่อไปได้
อ้างอิง
- Dealing with Conflicts in School : Advice from a Former Principal https://shorturl.at/cepTX
- 3 Types of Conflict and How to Address Them : https://shorturl.at/goAG6
Related Courses
สพป. สมุทรสาคร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2/3 หมู่ 8 ถ.เศรษฐกิจ1 ต.ท่าทราย อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร 74000
สพป. เชียงใหม่ เขต 5
สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 5 404 หมู่ 10 ฮอด-วังลุง ต.หางดง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ 50240
Micro Learning - เทคนิคการช่วยเหลือผู้เรียน
การช่วยเหลือผู้เรียนสำคัญต่อการลดภาวะการเรียนรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ โดยการสร้างความร่วมมือระหว่างครูกับผู้ปกครอง
สพป. เชียงใหม่ เขต 6
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 190 หมู่ 15 ต.ข่วงเปา อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160