แบ่งปันไอเดียสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA เส้นทางสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA
จากแนวทางในการประเมินเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ วPA ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูให้มีศักยภาพและสมรรถนะการปฏิบัติงานที่สูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะที่คาดหวัง ตลอดจนพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องแล้วนั้น การพัฒนาจึงนับได้ว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญในการเพิ่มศักยภาพ สมรรถนะ และทักษะหรือความชำนาญงาน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ในการขับเคลื่อนพัฒนางานไปสู่ครูเชี่ยวชาญ วPA
สำหรับเทคนิคหรือแนวทางในการพัฒนางานให้สอดคล้องกับระดับปฏิบัติการตามมาตรฐานวิทยฐานะระดับเชี่ยวชาญ เพื่อยกระดับการทำงาน และการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น มีดังนี้
1. ความเป็นจิตนวัตกรรม (Innovation minds) เป็นการพัฒนาผู้เรียนจากปัญหาที่พบในการเรียน
การสอน (what’s the problem) คิดหาวิธีการแก้ปัญหา (what’s the action) ตามมาตรฐาน 8 ตัวชี้วัด
ที่สอดคล้องกับบริบทของตนเอง ผลลัพธ์การเรียนรู้ (what’s the result) ของผู้เรียนจากการประเมินตามสภาพจริง และการพัฒนาผู้เรียนในขั้นตอนต่อไป (what’s the next step)
2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ หรือการพัฒนางานให้สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะ เช่น ครูเชี่ยวชาญ ใช้วิธีการคิดค้น พัฒนานวัตกรรม และปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้ จนทำให้คุณภาพผู้เรียนสูงขึ้นและให้คำปรึกษาผู้อื่นได้ เป็นต้น
3. การศึกษารายละเอียดหลักเกณฑ์ผลงานที่ใช้เสนอขอรับการประเมินระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะเชี่ยวชาญของ ว17 และ ว9 ในด้านที่ 3 ผลงานทางวิชาการอย่างละเอียดและแม่นยำ เนื่องจากเกณฑ์การให้คะแนนมีความแตกต่างกัน ซึ่งมีองค์ประกอบเกณฑ์การให้คะแนน วิธีการประเมิน และเกณฑ์การตัดสิน ดังนี้
1) องค์ประกอบการประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน จำแนกออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 คุณภาพของผลงานทางวิชาการ 50 คะแนน
ส่วนที่ 2 ประโยชน์ของผลงานทางวิชาการ 50 คะแนน
2) วิธีการประเมินผลงานทางวิชาการ โดยพิจารณาตามองค์ประกอบทั้ง 2 ส่วน ตามข้อ 1
2.1) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับการ
ประเมิน ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวน 1 รายการ
2.2) วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีผลงานทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามมาตรฐานวิทยฐานะที่ขอรับ
การประเมิน ในรูปแบบไฟล์ PDF จำนวนอย่างละ 1 รายการ โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 หรือ 2 โดยส่งบทความวิจัยที่ตีพิมพ์
เผยแพร่ในรูปแบบไฟล์ PDF ด้วย
3) เกณฑ์การตัดสิน สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ ต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 และสำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
4. การเขียนข้อตกลงในการพัฒนางานและประเด็นท้าทาย (PA) ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและระดับการปฏิบัติที่คาดหวังเชื่อมโยงสู่ผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับวิจัยการจัดการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบของงานวิจัยในชั้นเรียน (Action Research) ตามวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR
5. การถ่ายคลิปวิดีโอผลงานนักเรียนที่มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ครูได้คิดค้นขึ้นและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสะท้อนผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
6. สำหรับการยื่นคำขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้อิงตามระดับชั้นที่สอน แต่สำหรับกรณีที่มีการย้ายระดับชั้นที่สอนในช่วงที่มีการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถถ่ายคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของผู้เรียนได้ ครูอาจจะต้องคิดค้นวิธีการใหม่ ๆ และนำเสนอในงานวิจัยเพิ่มเติม
เห็นได้ว่า การพัฒนางาน ครูอาจจะต้องเริ่มจากการวางแผน วิเคราะห์บริบทของตนเอง เลือกวิธีการหรือแนวทางที่สอดคล้องกัน หรือมีความแตกต่างกันระหว่างประเด็นท้าทายและงานวิจัย/นวัตกรรมตามแต่ละบริบทได้ ที่สำคัญคือ การกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนถึงสิ่งที่ต้องการพัฒนา หรือแก้ปัญหาตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ bit.ly/45RU7LA
Related Courses
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ