ทำความรู้จัก 'โรงเรียนพลังบวก' หนึ่งก้าวใหม่ของการศึกษาไทยในอนาคต
เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษาไทย หลายๆ คนอาจนึกถึงเรื่องของเทคโนโลยี เรื่องของเนื้อหา วิชา หรือวิธีการประเมินแบบใหม่ๆ ของคุณครู แต่นอกเหนือจากทิศทางการพัฒนาเหล่านี้ อีกหนึ่งทิศทางใหม่ล่าสุดที่มีความสำคัญและได้รับการนำเสนอในงาน TEP FORUM 2022 ของประเทศไทยที่ผ่านมาก็คือการพัฒนาโรงเรียนในประเทศไทยให้กลายเป็น ‘โรงเรียนพลังบวก’
อาจฟังดูแปลกๆ โรงเรียนพลังบวกที่ว่าคืออะไร? มีความสำคัญหรือมีคุณประโยชน์แค่ไหนกันเชียวถึงมาเป็นวาระแห่งชาติในการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตกันได้ ในบทความนี้ Starfish Labz มีคำตอบมาทำความรู้จักโมเดลใหม่แห่งการเรียนรู้สำหรับเด็กไทยกันเลยค่ะ
‘โรงเรียนพลังบวก’? คืออะไร
โรงเรียนพลังบวกหรือที่ในปัจจุบัน หลายๆ คนอาจคุ้นเคยกันว่าโรงเรียน ‘สนามพลังบวก’ คือแนวคิดการสร้างห้องเรียนและโรงเรียนในภาพรวมในรูปแบบใหม่ที่มีหัวใจคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและเป็นบวกให้กับเด็กๆ ผ่านหลากหลายเทคนิคในกรอบของจิตศึกษาและเทคนิคการเรียนรู้ การจัดการและสร้างสรรค์ห้องเรียนต่างๆ ให้เด็กๆ รู้สึกอยากเรียนรู้ มีความสุข หรือมีความรู้สึกในทางบวกต่อการเรียน
ตัวอย่างห้องเรียนในทางบวก เช่น
- การบูรณาการ ‘จิตวิทยาเชิงบวก’ ให้กับเด็กๆ ในการสอน สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนธรรมชาติที่อ่อนไหวและยังคงไร้กรอบของเด็กๆ ลดการขู่บังคับ การทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าต้องอยู่ในกรอบ ในระเบียบตลอดเวลา
- การบูรณาการมิติทางจิตวิญญาณ ทางปัญญาภายใน หรือทางมนุษย์เข้ามาเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ มีกิจกรรมเชิงจิตและปัญญาศึกษา การฝึกสร้างสภาวะจิตที่ดีให้กับทั้งคุณและเด็กๆ ผ่านกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่การนั่งสมาธิร่วมกันก่อนเรียนไปจนถึงกิจกรรมต่างๆ
- การบูรณาการเทคนิคการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่มีประโยชน์ สร้างสรรค์ กระตุ้นความสนุกสนานและการเรียนรู้ของเด็กๆ เช่น การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem-Based Learning (PBL), การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Active Learning) และอื่นๆ
ปัญญาทั้งภายในและภายนอก คุณประโยชน์อันล้ำค่าของโรงเรียนพลังบวก
เมื่อการเรียนรู้กลับมาที่ความเป็นมนุษย์ กลับมาที่หัวใจสำคัญคือการสร้างการเรียนรู้ที่อยู่บนฐานอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์และเด็กๆ คุณประโยชน์สำคัญที่ล้ำค่าของโรงเรียนพลังบวกก็คือการสร้างการเรียนรู้ทั้งในระดับ ‘ภายใน’ และในระดับ’ภายนอก’ ห้องเรียนไม่ได้กลายเป็นพื้นที่หรือสถาบันที่ราวกับทำหน้าที่ผลิตสิ่งๆ หนึ่งเข้าสู่ตลาดหนึ่งๆ อีกต่อไป หากแต่เป็นการสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ เด็กๆ ได้รับการส่งเสริมให้เกิดทั้ง ปัญญาภายใน อาทิ ทักษะในการรู้ตัว, การมีสติ, การเข้าใจถึงตัวตนของเขา และปัญญาภายนอก อาทิ วิชาหลักต่างๆ, ทักษะที่สำคัญในยุคใหม่ และอื่นๆ
หัวใจสำคัญในภาพรวม ยังรวมถึงการสอนให้เด็กๆ เกิดทักษะและภาวการณ์ดูแลและจัดการตัวเองได้ (Self-Management) ได้อย่างเป็นธรรมชาติและในทางบวกด้วยสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เขามีสุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข ซึ่งเมื่อกล่าวถึงทักษะที่มีความสำคัญในปัจจุบัน หนึ่งในกลุ่มทักษะที่ World Economic Forum ได้สำรวจและนำเสนอว่ามีความสำคัญที่สุดสำหรับปี 2025 ก็คือกลุ่ม Self-Management อย่าง Active Learning & Learning Strategies และ Resilience, Stress Tolerance & Flexibility
ทิศทางการเปลี่ยนสู่โรงเรียนพลังบวกของประเทศไทย
อาจฟังดูเหมือนเป็นแนวคิดใหม่และทิศทางใหม่ที่เริ่มมีการพูดถึงในประเทศไทย แต่ความจริงแล้ว แนวคิดโรงเรียนพลังบวกได้มีการถูกหยิบจำนำมาใช้ในบางโรงเรียนของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2552 หนึ่งในบุคลากรผู้ช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงก็คือ อ.วิเชียร ไชรบัง ผู้เริ่มต้นพัฒนาโรงเรียนพลังบวกตั้งแต่ปี 2552 ให้กับโรงเรียนลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ ก่อนที่จะเริ่มขยายไปยังโรงเรียนอื่นๆ ต่างๆ ตามเป้าหมาย
ปัจจุบันแนวคิดโรงเรียนพลังบวกได้รับการนำเสนอที่ TEP FORUM 2022 ของประเทศไทยกันแล้ว และแน่นอนว่าเรามีโอกาสที่จะได้เห็นทิศทางการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคตนี้ในระดับที่กว้างกว่าเดิมแน่นอน เพียงแต่ว่าอาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษา พัฒนาและเปลี่ยนแปลง หัวใจสำคัญคือคุณครู ผู้บริหาร และโรงเรียน โรงเรียนพลังบวกอาจฟังดูเหมือนเป็นแนวคิดการเรียนการสอนง่ายๆ แต่ในความเป็นจริง เป็นแนวคิดที่มีความ ‘disruptive’ พอสมควร ซึ่งหมายถึง แตกต่างอย่างมากจากที่โรงเรียนเคยเป็นมา เป็นแนวคิดการเปลี่ยนแปลงเชิงความคิดโดยลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ เชิงระบบ โรงเรียนและผู้บริหารต้องมีความเข้าใจก่อนว่าระบบที่เคยเป็นมาขาดมิติของมนุษย์ ขาดมิติในทางบวก และหนทางสู่การพัฒนาเด็กๆ อย่างแท้จริงคือการให้สำคัญกับมิติทางจิตใจ ทางปัญญาทั้งด้านภายในและภายนอกของเขา
คำแนะนำสำหรับคุณครู ผู้อำนวยการ และสถาบันการศึกษา
การมาถึงของโรงเรียนพลังบวกไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีแค่เพียงแค่กับเด็กๆ แต่ยังรวมถึงคุณครู ผู้บริหาร และหัวใจของการพัฒนาโรงเรียนโดยรวม การบริหารโรงเรียนที่มิติของมนุษย์เป็นศูนย์กลางถือเป็นเป้าหมายอันล่ำค่า ส่งต่อไม่เพียงต่อเด็กๆ ในระดับปัจเจก แต่ยังรวมถึงในระดับสังคมและประเทศโดยรวม
สำหรับคุณครู การสอนยิ่งกลายเป็นสิ่งที่ล้ำค่า มีความหมาย และสนุกสนานกว่าเดิมขึ้นมา คุณครูหลุดออกจากกรอบการสอนแบบเดิมๆ ก้าวเข้าสู่พื้นที่ของการเรียนการสอนแบบใหม่ที่คุณครูไม่ได้กลายเป็นเพียงแค่ผู้ให้ความรู้ แต่ยังเปรียบเสมือนผู้ช่วยปลุกปั้นเด็กๆ มนุษย์คนให้มีคุณภาพ มีความรู้ มีความสุข เติบโตอย่างดงามทั้งภายในและภายนอก การเรียนรู้เกิดมิติที่เชื่อมโยงกันระหว่างคุณครูและศิษย์อย่างลึกซึ้ง มีการเติมเต็มกันในระดับที่มากไปกว่าแค่การเรียนการสอนทั่วๆ ไป
โรงเรียนพลังบวก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาไทยในอนาคตที่สามารถพลิกโฉมรูปแบบการเรียนรู้ของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืนและสมบูรณ์แบบ ปรับทั้งมิติทางด้านภายนอก เติมมิติภายใน คำแนะนำเดียวที่ Starfish Labz สามารถมอบให้คุณครูและสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลของเราในปัจจุบัน จึงคือการเปิดหัวใจ เปิดประตูสู่ความรู้ ความเป็นไปได้ของการศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ ที่จะยังประโยชน์ไม่เพียงต่อเด็กๆ แต่ยังรวมถึงคุณครูและระบบการศึกษาของประเทศเรานั่นเองค่ะ
อ้างอิง:
Related Courses
Micro Learning การฟื้นฟูภาวะถดถอยด้วยการช่วยเหลือผู้เรียน
การเรียนรู้ที่ถดถอยจะหายไป หากได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้จากผู้มีความชำนาญ และการสร้างความร่วมมือผ่านการเรียนรู้ของคณะ ...
Micro Learning การฟื้นฟูภาวะถดถอยด้วยการช่วยเหลือผู้เรียน
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
10 กลยุทธ์สำคัญของการเป็นผู้ประกอบการ
การสร้างธุรกิจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับยุคนี้ แต่การจะสร้างให้ธุรกิจประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเช่นกัน และแน่นอนว่า การจะเริ่ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ