ทักษะการเห็นใจผู้อื่นช่วยให้ชีวิตราบรื่นทำอะไรก็สนุกขึ้น
หนึ่งในสกิลที่สำคัญทั้งตอนทำงาน และชีวิตประจำวัน ทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy Skill) เวลามีคนพร้อมรับฟัง เพ่งความสนใจมาที่เราไม่พูดขัดน้อง ๆ รู้สึกดีกับคนนี้ใช่ไหม ? นั่นเป็นเพราะเขาพยายามจินตนาการ และสัมผัสถึงสถานการณ์ของเราค่ะ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีกับตัวเขาเอง ที่จะได้รับฟัง สิ่งที่เขาอาจไม่เคยได้ยินมาก่อนช่วยเสริมสร้างการเปิดรับไอเดีย ได้ฝึก active listening การตั้งใจฟังแบบสุดหัวใจ ในขณะเดียวกัน เมื่อต้องทำงานกับผู้อื่นคนแบบนี้แหละที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่นจะมีแต่คนอยากทำงานด้วยและมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน
Empathy Skill ไม่เท่ากับสงสาร
ถ้าน้อง ๆ สงสารอาจแค่รู้สึกว่า ไม่อยากให้คนนี้เขาต้องมาเจอเรื่องแย่ ๆ หรือเหตุการณ์เลวร้าย แต่เมื่อไหร่ก็ตาม เกิดความเห็นอกเห็นใจ เราจะดำดิ่งลึกไปในใจของใครบางคนและพยายามนึกภาพเหตุการณ์ ความรู้สึก แบบเดียวกับพวกเขา รวมถึงไม่เอาตัวเราไปตัดสินเพราะเข้าใจเรื่องประสบการณ์ที่แตกต่างของชีวิตผู้คน ตอนนี้น้อง ๆ เริ่มเข้าใจทักษะการเห็นอกเห็นใจผู้อื่นแล้วลองมาดูตัวอย่างของการเอา Empathy Skill ไปใช้ตอนทำงานกัน
1. Empathy Skill กับการบริการเวลาลูกค้าเข้ามาซื้อของที่ร้าน ติดต่อทางโทรศัพท์หรือสอบถามอะไรบางอย่างกรณีพวกเขามีปัญหา น้อง ๆ ต้องหยุดฟังก่อนอย่ารีบพูดอะไรจินตนาการถึงตัวเรา ถ้าเราต้องเจอสิ่งนั้นบ้างหรือบางครั้งลูกค้าไม่พอใจโกรธมากอยากให้ปรับความคิดแบบนี้ ลูกค้าเขามีสิ่งที่คาดหวังล่วงหน้า ก่อนใช้บริการอยู่แล้วและสิ่งที่ควรทำ คือ ถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น มีอะไรที่เราพอจะช่วยได้บ้าง
2. Empathy Skill กับวิธีทำงาน น้อง ๆ เคยสังเกตไหมคะตอนทำงานกลุ่มหลังจากแบ่งหน้าที่เสร็จ เพื่อนแต่ละคน มีสไตล์การทำงานไม่เหมือนกันบางคนชอบทำงานในที่เงียบๆ บางคนชอบทำงานบริเวณคนพลุกพล่านตามร้านกาแฟแต่สุดท้ายงานก็เสร็จเหมือนกันเพราะฉะนั้นอย่ารีบตัดสินวิธีการทำงานของแต่ละคนถ้าคิดแบบนี้ตัวน้องก็จะสบายใจและมีมุมมองที่ไม่ใช่แค่ ถูกหรือผิด
3. Empathy กับความเห็นต่าง เราทุกคนเกิดมา แค่หน้าตาก็ไม่เหมือนกันแล้ว จึงไม่แปลกใจที่มีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง ยิ่งตอนทำงานกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดในห้องเรียน หลากหลายความเห็นเต็มไปหมดแต่สิ่งที่จะทำให้น้อง ๆ เปิดใจรับฟังคือความเห็นอกเห็นใจไม่ยึดติดกับความคิดของตัวเองถ้าทำแบบนี้ได้การทะเลาะ หรือไม่พอใจกับเพื่อนในห้องจะลดน้อยลง เพราะเราใช้หูตั้งใจฟัง ส่วนใจนั้นสัมผัสความรู้สึก
พัฒนา Empathy พัฒนาความคิด
ไม่ผิดที่น้องๆ จะด่วนตัดสินใคร แต่ถ้าพัฒนาความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) ได้ น้องจะมีมุมมองที่แตกต่างจากเดิมด้านล่างนี้เป็นเทคนิคที่พี่ ๆ ตั้งใจนำมาฝากน้องๆ
- ยินดีที่ไม่รู้จัก แนะนำให้ไปเที่ยว สถานที่ที่น้องไม่เคยไป น้องจะได้มีโอกาสปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เห็นอาหาร วัฒนธรรม ของคนในพื้นที่อย่าลืมพูดคุยกับเจ้าถิ่นถามถึงการใช้ชีวิตเรียนรู้มุมมองของคนในบริเวณนั้น ถ้าเป็นไปได้เลือกพักโฮมสเตย์อยู่กับคนในพื้นที่จะได้สัมผัสความเป็นอยู่ของพวกเขาด้วย
- ตัวหนังสือเปิดโลกกว้าง การอ่านหนังสือเป็นอีกวิธี ให้เราได้เห็นความหลากหลายของผู้คนโดยเฉพาะเนื้อหาที่เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนแต่ละพื้นที่ระหว่างที่อ่านเราจะจินตนาการถึงพวกเขาเป็นรูปภาพ เหมือนอยู่ในสถานการณ์จริง ๆ และเข้าใจความรู้สึก ณ เวลานั้นแบบอัตโนมัติ
- สวมบทบาทสมมติ ลองไปใช้ชีวิตของคนอื่นจะได้เข้าใจว่าพวกเขาต้องเจออะไรบ้าง เช่น ทดลองเป็นอาสาสมัคร ทดลองจริง ทำจริง ได้เห็นอีกแง่มุมว่าสิ่งที่แต่ละคนเจอมันต่างกันมากและไม่สามารถเอาไปวัดหรือเปรียบเทียบกันได้ความรู้สึกแบบนี้แหละ จะทำให้ทักษะการเห็นอกเห็นใจเฉียบคมขึ้น
เห็นไหมทักษะ Empathy สำคัญกับทุกแง่มุมในชีวิต ทั้งที่โรงเรียน ที่ทำงานหรือแม้แต่คนที่เราบังเอิญเจอเพราะถ้าน้อง ๆ มีความเห็นอกเห็นใจมันจะเป็นประโยชน์กับตัวเราเองที่เปิดใจรับฟังและเรียนรู้มุมมองใหม่ พร้อมลดความขัดแย้งในสังคมของพวกเรารวมถึงเป็นความสบายใจ อบอุ่น เหมือนไมโครเวฟ ให้กับคนรอบข้างอีกด้วยเพิ่มความน่าอยู่เป็นเท่าตัว
Sources:
- 5 Ways to Balance Teen Emotions | Newport Academy |
- Non-judgemental listening | Lloyd's Wellbeing Center |
- Five Tips for Nonjudgmental Listening | Mental Health First Aid |
- How to Be a Better Listener - Smarter Living Guides | The New York Times |
- https://www.mindtools.com/agz0gft/empathy-at-work
- https://blog.hubspot.com/service/how-to-deal-with-difficult-customers
- https://positivepsychology.com/empathy-worksheets/
- https://www.nytimes.com/guides/year-of-living-better/how-to-be-more-empathetic
Related Courses
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ
5 เทคนิคเลคเชอร์ ให้จำได้ ทบทวนบทเรียนแบบง่ายๆ
อยากเกรด A ต้องทำยังไง? คอร์สนี้มีคำตอบกับ 5 เคล็ดลับ! สุดเจ๋ง ที่จะช่วยให้จดจำเนื้อหาได้ยาวนาน ทบทวนสนุก สมองปลอดโปร่ง ...
เกมจิตวิทยาค้นหาตัวตน
อยากรู้ตัวเองมากขึ้นไหม? มาเล่นเกมค้นหาตัวตนกัน! คอร์สออนไลน์สนุกๆ ที่จะพาคุณไปเจอตัวเองที่แท้จริง" ค้นพบความถนัด ศักยภ ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ