Starfish Future Labz แนะแนวทักษะชีวิตเสริมสร้างหัวใจของลูกด้วยการสอนให้เขาเรียนรู้การให้อภัย

หากพูดถึงทักษะชีวิตที่สำคัญในปัจจุบันแล้วนอกเหนือจากเหล่าทักษะเชิงประสิทธิภาพหรือความสามารถในการทำสิ่งต่างๆ อีกหนึ่งทักษะที่มีความสำคัญโดยเฉพาะในหมวดของทักษะเชิงจิตใจและอารมณ์ก็คือทักษะของการให้อภัย ซึ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจคิดว่าสำหรับเด็ก ๆ แล้วคงยังเป็นสิ่งไม่สำคัญ ยังเป็นเพียงแค่ทักษะทั่วๆ ไป แต่ความจริงแล้ว รู้ไหมคะว่าการช่วยสร้างฐานทักษะชีวิตนี้ให้กับลูกตั้งแต่ยังเด็กๆ สามารถช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางอารมณ์ให้กับเขาได้อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกโกรธเคืองน้อยลง ความรู้สึกหงุดหงิด การเก็บมาคิด บันทึก ฝังไว้ใน จนไปถึงหลากหลายภาวะทางอารมณ์เชิงลบต่างๆ หากค่อยๆ สอนให้เขารู้จักให้อภัยแล้วละก็ เด็ก ๆ ก็จะค่อย ๆ มีภูมิต้านทาน มีหัวใจที่แข็งแรง แม้ล้มหรือเผชิญเรื่องร้ายใดๆ ก็สามารถที่จะก้าวข้ามและผ่านไปได้ในบทความนี้ Starfish Labz จึงจะขอพาคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองทุกคนมาเรียนรู้เจ้าทักษะชีวิตที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังนี้กันค่ะการให้อภัยคืออะไรสอนลูกรู้จักให้อภัยแล้วจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างรวมถึงหากอยากลองสอนควรเริ่มอย่างไรวันนี้ Starfish Labz มีคำตอบ
การให้อภัย (Forgiveness) คืออะไร?
อาจดูเหมือนเป็นคำถามที่แปลกแต่อย่าลืมว่าลูกๆ ของเรานั้นยังเด็กมากและอาจจะยังไม่เข้าใจเหตุการณ์ที่ซับซ้อนหรือเหตุการณ์ที่เขาต้องนำเอาทักษะการให้อภัยออกมาใช้การเริ่มต้นทำความเข้าใจความหมายของการให้อภัยก่อนและค่อยๆ ให้อธิบายให้เขาฟังจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นนั่นเองค่ะ เด็ก ๆ บางคนนึกภาพไม่ออกด้วยซ้ำว่าการให้อภัยคืออะไร หรือเมื่อให้อภัยไปแล้วเขาจะได้อะไร อะไรคือแก่นของการให้อภัย วิธีหนึ่งในการอธิบายอย่างง่าย ๆ ก็คือการค่อย ๆ ชวนให้ลูกมองเห็นภาพที่ว่าเมื่อใครสักคนทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจ เสียใจ หรือมีความรู้สึกที่ไม่ดีในใจนอกเหนือจากการสื่อสารออกมา ชี้ให้เห็นถึงการกระทำที่ไม่โอเคดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว สิ่งสุดท้ายหรือจะเป็นสิ่งแรกๆ เลยที่เด็กๆ ทำได้ก็คือการยกโทษ อภัย หรือไม่เก็บเอาสิ่งดังกล่าวมาไว้ในใจการไม่เก็บสิ่งดังกล่าวมาไว้ในใจ ก็คือการปลดปล่อยตัวเองออกจากความรู้สึกลบๆ ดังกล่าวที่ไม่จำเป็นสำหรับเราอีกต่อไปแล้วหรือจริงๆ แล้วก็คือไม่จำเป็นเลย ไม่มีอะไรที่งดงามหรือดีงาม ที่จะสามารถงอกเงยหรือเติบโตออกมาได้ จากการเก็บฝังสิ่งดังกล่าวไว้ในใจ
สอนลูกให้รู้จักการให้อภัยแล้วจะได้ประโยชน์อะไรบ้างนะ?
เมื่อมีเหตุการณ์แย่ๆ เกิดกับลูกความรู้สึก ความทรงจำแย่ๆ ก็ย่อมติดอยู่ในใจของเขาด้วยเป็นเรื่องธรรมดาการสอนให้ลูกให้อภัยหรือปลดปล่อยความทรงจำความรู้สึกเหล่านั้นออกไปจึงคือหนึ่งทักษะชีวิตอันทรงพลังที่ช่วยฟื้นคืนสภาพจิตใจและความดีอันเป็นพื้นฐานงามในใจของลูกนั่นเองค่ะ เมื่อเขาเรียนรู้ที่จะให้อภัยแล้ว เขาก็จะรู้สึกเบาขึ้นไม่มีอะไรหนักหน่วงในใจรวมถึงยังเป็นการฝึกทักษะความเมตตาความกรุณา และความเห็นใจในเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ แม้กระทั่งกับคนที่อาจจะเคยทำให้เรารู้สึกไม่ดีก็ตาม“การเก็บความขมขื่นเอาไว้นั้นเหมือนกับมะเร็ง” Maya Angelou กวีชาวอเมริกันได้เคยเอ่ยเอาไว้และการสอนให้ลูกรู้จักเรียนรู้ที่จะให้อภัยตั้งแต่เด็กๆ ยังสามารถและเปรียบเสมือนเป็นเบาะอันอ่อนนุ่มแต่ทรงพลังให้กับลูกได้ในวันที่เขาเติบโตและอาจจะเจอเรื่องแย่ๆ ในอนาคตเราอาจจะป้องกันสิ่งแย่ๆ ที่เกิดกับเขาไม่ได้แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถทำได้สอนวิธีการรับมือการฟื้นฟูสภาพจิตใจตัวเองให้กับเขานั่นเองค่ะ
หลักการพื้นฐานในการเริ่มสอนทักษะการให้อภัยให้กับลูก
วิธีการสอนหรือการปลูกฝังทักษะชีวิตต่างๆ ของคุณพ่อคุณแม่แต่ละคนอาจแตกต่างกันแต่สิ่งหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเรียนรู้ได้ก็คือหลักการพื้นฐานสำคัญที่เราสามารถนำไปต่อยอดปรับใช้สอนลูกผ่านบทสนทนาหรือกิจกรรมต่างๆ ได้ผ่าน 5 หลักการพื้นฐานสำคัญมีอะไรบ้างกันนะมาดูกันเลยค่ะ
1.การให้อภัยไม่ใช่การลืม
การให้อภัยไม่ใช่การลืมว่าสิ่งดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นแต่คือการไม่หยิบนำเอาการกระทำดังกล่าวมาเก็บและกดไว้ในใจเด็กๆ ยังคงสามารถเก็บสิ่งดังกล่าวเป็นบทเรียนได้ แต่ไม่จำเป็นต้องกักเก็บเอาความรู้สึกแย่มาไว้อีกแล้ว
2.ก่อนให้อภัย ลูกรู้สึกทุกอย่างได้
การให้อภัยไม่ใช่การเร่งให้ลูกลืมหรือเร่งให้ลูกหยุดรู้สึกทุกอย่างเมื่อเด็กๆ กำลังโกรธหรือเสียใจเป็นสิ่งสำคัญที่เราอาจต้องมอบพื้นที่ให้เขาได้แสดงความรู้สึกของเขาก่อนจากนั้นจึงค่อยๆ สอนวิธีการรับมือและปรับภาวะอารมณ์ต่างๆ ให้กับเขา
3.การให้อภัยไม่ใช่การเพิกเฉยต่อการกระทำ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่อยากรับรู้ หรือเราไม่สามารถติดต่อเขาได้อีกแล้ว ก็ไม่เป็นอะไร
การให้อภัยที่มีประสิทธิภาพควรกระทำควบคู่ไปกับการกล่าวหรือแสดงออกมาอย่างชัดเจนต่ออีกฝ่ายถึงสิ่งไม่โอเคที่เขาทำการบอกให้อีกฝ่ายเข้าใจว่าสิ่งที่เขาทำไม่โอเคแล้วจึงค่อยให้อภัยแต่ในกรณีที่เราอาจจะติดต่อเขาไม่ได้หรือไม่อยากติดต่อกับเขาอีกแล้วเด็กๆ ก็ยังคงสามารถให้อภัยบุคคลดังกล่าวได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นว่าอีกฝ่ายจะต้องรับรู้ สิ่งสำคัญคือการรับรู้และการเข้าใจ (Acknowledgement) ของเด็กๆ เองว่ามีสิ่งที่ไม่โอเค ที่เขายอมรับไม่ได้เกิดขึ้นกับเขานะเขารู้สึกแบบนี้และสุดท้ายแล้วเขาสามารถที่จะปลดปล่อยมันไป
4.ในการอภัย บางครั้ง การมองที่บุคคลสำคัญและมีประโยชน์กว่าสิ่งที่เขาทำ
ในหลากหลายเหตุการณ์ที่เราต้องให้อภัยใครสักคนการกระทำของเขาเป็นสิ่งที่เรารับไม่ได้อยู่แล้ว แต่เมื่อเราลองมองที่ตัวเขาสิ่งแวดล้อม ลักษณะนิสัยและสิ่งต่างๆ ที่รายล้อมตัวเขาอยู่เราจะค่อยๆ พอเข้าใจนั่นเองค่ะว่าในที่สุดแล้วมันมีเหตุผลมีที่มาที่ไปแม้เราจะไม่ชอบใจและแทนที่เราจะจำเอามาฝังใจหรือโกรธโมโหเราคืนสิ่งเหล่านั้นให้กับเขาไปและเปลี่ยนความรู้สึกลึกๆ ในใจของเราเป็นความกรุณาเมตตา (Compassion) ได้เราอาจจะไม่ได้อยากเป็นเพื่อนกับเขาแล้วแต่เราสามารถเห็นใจเข้าใจและให้อภัยเขาได้
5.คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก
นอกเหนือจากการสอนหลักการต่างๆ แล้วพฤติกรรมหรือการปฏิบัติตัวของพ่อแม่ก็สำคัญเช่นกันเด็กๆ เรียนรู้สิ่งที่เขาควรทำและเป็นจากสิ่งที่พ่อแม่ทำเมื่อเราอยากสอนให้ลูกรู้จักให้อภัยเราก็อาจต้องค่อยๆ ฝึกสิ่งเหล่านี้พร้อมๆ กันไปกับลูกด้วยเมื่อเราเป็นตัวอย่างที่ดีให้เขาแล้วสิ่งต่างเหล่าๆ นี้ บางทีก็แทบไม่ต้องสอนหรืออธิบายให้เข้าใจบ่อยๆ เลย
สรุปสาระสำคัญ (Key Takeaway)
ในวันหนึ่งที่ลูกต้องเผชิญกับสิ่งที่ทำให้เขาเสียใจคุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่สำคัญคอยอยู่ตรงนั้นป้องกันหรือคอยช่วยเหลือเขาได้ตลอดสิ่งสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดที่เราสามารถทำได้จึงคือการสอนให้เขาเข้าใจถึงทักษะต่างเหล่าๆ นี้อย่างเช่น การสอนลูกให้รู้จักให้อภัยการเลี้ยงลูกให้มีฐานของความกรุณา ความเมตตา และการไม่เก็บเอาสิ่ง ๆ ต่างมาฝังไว้ในจิตของเขาเพื่อตัวของเขาและจิตใจของเขาเอง
อ้างอิง:
Related Courses
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...



ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...



การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้



How to รู้เท่าทันมิจฉาชีพบนโลกไซเบอร์
ทุกวันนี้การใช้งานบนโลกอินเทอร์เน็ตก็เหมือนกับดาบสองคม ที่ไม่ได้มีแต่เรื่องดีๆ เสมอไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้แล้วว่าจะเลือกข้อมูลด้านไหน ...



Related Videos


108 ปัญหาพ่อแม่ และลูกวัยรุ่น


สิทธิในร่างกายแบบไหนที่เรียกว่าอยู่ในขอบเขต


Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

