ทำความรู้จัก Active Learning หัวใจสำคัญของหลักสูตรฐานสมรรถนะ
เมื่อพูดถึงหลักสูตรฐานสมรรถนะ หนึ่งในสิ่งสำคัญที่คงไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือหลักการ Active Learning ที่ถือเป็นหนึ่งหัวใจสำคัญในการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน หากไม่มีองค์ประกอบการสอนอย่าง Active Learning แล้ว การสอนสมรรถนะของเด็ก ๆ ก็อาจจะแทบเป็นไปไม่ได้เลย แต่ Active Learning คืออะไร ห้องเรียนแบบไหนคือห้องเรียน Active Learning วันนี้ Starfish Labz มีคำตอบค่ะ
Active Learning คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียน
Active Learning หรือในภาษาไทยคือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติในนิยามอย่างเรียบง่ายแต่ชัดเจนที่สุดแล้วก็คือ การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติ ผู้เรียนไม่ใช่แค่รับสารเฉย ๆ แต่ยังลงมือทำ (Active) ซึ่ง “การลงมือทำ” ดังกล่าว จะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ และการออกแบบของคุณครู ส่วนใหญ่แล้วการลงมือทำดังกล่าวก็จะอยู่ในรูปของกิจกรรมในห้องเรียน นอกห้องเรียน จนถึงการทัศนศึกษา สเกลของกิจกรรมจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ การออกแบบ การตัดสินใจของคุณครู ความเหมาะสม และมีการวัดผลความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในบริบทของหลักสูตรฐานสมรรถนะ วัตถุประสงค์หลัก ๆ ส่วนใหญ่ก็คือการสอนให้เด็กมีสรรถนะหนึ่ง ๆ ผ่านการเรียนรู้อย่าง Active คือมีกิจกรรมให้เขาได้ทำ ให้เขามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่จะทำให้คุณครูสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเด็ก ๆ เริ่มมีพัฒนาการในสมรรถนะดังกล่าวแล้วหรือยัง เพราะการเรียนรู้เชิงสมรรถนะนี้ไม่ใช่แค่เรื่องของความเข้าใจเนื้อหาในการเรียนแบบเดิม ๆ ทั่ว ๆ ไป แต่คือการช่วยฝึกให้ เด็กมีทักษะ มีการซึมซับ และเติบโตจริง ๆ หากห้องเรียนไม่มีองค์ประกอบของ Active Learning แล้ว หรือพูดอย่างง่ายที่สุดก็คือปฏิสัมพันธ์และการตอบกลับ (Response) จากผู้เรียน ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณครูจะประเมินได้ว่าสิ่งที่ได้สอนไป เด็ก ๆ รับรู้ เข้าใจ และที่สำคัญคือ จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึมซับใดๆ ในตัวเด็กหรือไม่ การสอนแบบ Active Learning นัยหนึ่งแล้วจึงเป็นทั้ง การประเมินความเข้าใจของเด็ก และการฝึกให้เขาลงมือทำอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดการพัฒนาของทักษะดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่อาจจะเข้าใจเฉย ๆ แล้วก็ลืมอย่างในรูปแบบการสอนเดิม ๆ
ลักษณะและบรรยากาศของห้องเรียน Active Learning
โรงเรียน สถาบัน และคุณครูแต่ละคนก็อาจจะมีแนวทางในการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียนและสร้างห้องเรียน Active Learning ของตัวเองอย่างหลากหลายแต่โดยทั่วไปแล้วบรรยากาศสำคัญๆที่ควรมีในห้องเรียน Active Learning ก็คือ
1.เด็กๆ มีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้คุณครูมีกิจกรรมต่างๆ รวมถึงมีการสอนที่ยึดเด็กๆ เป็นศูนย์กลาง
2.บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน เด็กๆ ทุกคนควรได้รับโอกาสและค่อยๆ กระตุ้นให้มีส่วนร่วมอย่างเท่าๆ กัน ไม่บังคับ ไม่กดดัน แต่เป็นการค่อยๆ เชิญชวนให้เขามีส่วนร่วมเข้าใจธรรมชาติการมีส่วนร่วมของเด็กแต่ละคน
3.มีการตั้งวัตถุประสงค์และการวัดผลอย่างชัดเจนเรียนในวันนี้ พร้อมกิจกรรมเหล่านี้เด็กๆ จะได้อะไร อะไรคือวัตถุประสงค์ของการเรียนในวันนี้เมื่อเรียนเสร็จแล้วกิจกรรมจบแล้วมองเห็นการเปลี่ยนแปลง หรือแววการพัฒนาใดๆ ได้ไหมเด็กๆ บางคนอาจมีแววมีการพัฒนาแล้วเด็กคนอื่นๆ ที่ยังไม่มีจะสามารถช่วยเสริมช่วยเขาเพิ่มเติมหรือสอบถามถึงอุปสรรคของเขาอย่างไร
ตัวอย่างเทคนิคการสอนแบบ Active Learning สำหรับคุณครู
1. การระดมสมอง (Brainstorming)
เปิดโอกาสให้เด็กๆ ใช้เวลากับตัวเองกับเพื่อนในห้องทบทวนและขบคิดถึงสิ่งต่างๆ ช่วยกันระดมไอเดียบทสรุปรวมถึงแนวทาง
2. การเน้นปัญหา / โครงงาน / กรณีศึกษา (Problem / Project-based Learning / Case Study)
อาจเป็นสเกลที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยจากเพียงแค่ระดมสมองเด็กๆ อาจต้องลองนำเสนอออกมาอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงงานกรณีศึกษาและการเน้นที่ปัญหาหรือโจทย์หนึ่งๆ ที่มีความท้าทาย
3. การแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing)
การแสดงบทบาทสมมุติ การแสดงละคร ไปจนถึงการแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อการแสดงความเข้าใจหรือเพื่อการลองแก้ไขปัญหาหนึ่งๆ
4. การแลกเปลี่ยนความคิด (Think – Pair – Share)
จับคู่เด็กๆ แลกเปลี่ยนความคิดในงานของกันและกันสร้างสภาพแวดล้อมการเป็นแรงซัพพอร์ตที่ดีให้กันแบ่งปันความคิดเห็นในงานของกันและกัน
5. การสะท้อนความคิด (Student’s Reflection)
เด็กๆ เรียนเสร็จแล้วรู้สึกอย่างไรเขาเข้าใจไหมชอบไหมอยากพัฒนาต่อหรือเปล่าหรือมีแนวคิดอื่นๆ ใดที่เขาสนใจหรืออยากแชร์
6. การตั้งคำถาม (Questioning-based Learning)
โยนคำถามที่น่าสนใจ ท้าทายให้พวกเขาเปิดโอกาสให้พวกเขาคิดถึงสิ่งต่างๆ ในแง่มุมใหม่ๆ ขยายกรอบความคิดและมุมมอง
7. การใช้เกม (Games-based Learning)
เสริมสร้างการเรียนรู้ผ่านเกมสอดแทรกองค์ประกอบความสนุกเพื่อช่วยกระตุ้นการเรียนรู้การอยากมีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์และในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ด้วยอย่างยอดเยี่ยมในตัว
สรุปสาระสำคัญ (Key Takeaway)
ในการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียน บรรยากาศการเรียนรู้แบบ Active Learning ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญ เป็นหัวใจหลักของการเปิดประสบการณ์ การมีส่วนร่วมของเด็ก ๆ หากปราศจากการส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์ของเด็ก ๆ แล้ว ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่คุณครูจะสามารถมองเห็นพัฒนาการและ ประเมินความก้าวหน้าทักษะ ต่างๆ ของเด็กๆ ได้ การสร้างห้องเรียน Active Learning คือการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ช่วยไม่เพียงให้เด็กพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างแท้จริงแต่ยังช่วยให้คุณครูมองเห็นได้อย่างชัดเจนด้วยว่าสิ่งที่ตัวเองตั้งใจที่จะส่งต่อนั้นเวิร์กหรือเปล่าเห็นผลไหมหรือต้องมีการปรับพัฒนากันต่อเป็นห้องเรียนที่เปิดโอกาสให้คุณครูมองเห็นทั้งความก้าวหน้าของเด็กๆ และแนวทางการสอนของตัวเอง รวมถึงมีสีสัน มีความสนุกสนานคุณครูไม่เบื่อไม่รู้สึกเหมือนพูดอยู่คนเดียวส่วนเด็กๆ ก็กระตือรือร้น มีความสนใจ หรือกล่าวโดยสรุปคือเป็นห้องเรียนที่เหมือนมาทำกิจกรรมสนุกๆ ร่วมกันแต่ได้ประโยชน์และการเรียนรู้จริงจังอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการเรียนรู้สามารถติดตัวเด็กๆ ไปจนถึงการการทำงานและอนาคตของพวกเขา
อ้างอิง:
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
วัดและประเมินผลอย่างไร ให้ตอบโจทย์การเรียนรู้แบบ Active learning เลือกเครื่องมือวัดผลอย่างไรให้หลากหลาย ตรงตามเ ...
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในห้องเรียน Active learning
ต้องใช้ 100 เหรียญ
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...