PLC เพื่อพัฒนาการศึกษา

Starfish Academy
Starfish Academy 2046 views • 2 ปีที่แล้ว
PLC เพื่อพัฒนาการศึกษา

การ PLC คือ การสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานบริบทและความแตกต่างของโรงเรียน เพื่อให้มีเป้าหมายและภารกิจในการ ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

บทความนี้ Starfish Labz มีข้อมูลเกี่ยวกับ PLC เพื่อพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป็น บทสัมภาษณ์จากนักพัฒนาการศึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ จากประสบการณ์จริงจากโค้ชที่ได้เห็นการ PLC ในระดับผู้บริหารและคุณครู มาฝากกันค่ะ 

ในการทำ PLC เห็นพัฒนาการหรือการเติบโตในตัวของครูบ้าง

การทำ PLC ร่วมกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และคุณครูครูแกนนำนั้น โดยส่วนใหญ่คุณครูรู้จักและมีการทำ PLC อยู่แล้วแต่เป็นการ PLC แบบไม่เป็นทางการ ไม่มีการบันทึก การ PLC ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนครูเท่านั้น ไม่มีกระบวนการที่ชัดเจน ซึ่งในบทบาทของโค้ชได้เข้าไปให้คำแนะนำด้าน กระบวนการทำ PLC โดยยึดผ่านกระบวนการ STEAM Design Process ไปปรับใช้ ส่งเสริมให้ครูเห็นกระบวนการทำ PLC ที่มีเป้าหมายชัดเจนผ่านการใช้กระบวนการ STEAM Design Process ทำครูให้มองเห็นปัญหาที่อยากจะแก้ไขร่วมกัน อีกทั้งเมื่อโค้ชได้นำกระบวนการ STEAM Design Process ไปปรับใช้ในการ PLC ร่วมกับครูในเรื่องของการพัฒนาตนเองคุณครูได้พัฒนาในเรื่องการสร้างนวัตกรรมของคุณครู โดยเริ่มจากแผนการสอนต้นแบบที่ครูอยากพัฒนา โดยมีเพื่อนครูจะเข้าไปพัฒนาแผนการสอนต้นแบบผ่านการ PLC อีกด้วย โดยนวัตกรรมที่คุณครูให้ความสำคัญและเริ่มนำมาพัฒนาเป็นอันดับต้น ๆ  การสอนแบบ Active learning และการพัฒนานวัตกรรมของครู

การ PLC ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร

ในมุมมองของโค้ชส้มต้องมีการทำ PLC ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ และมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เริ่มจากกระบวนการกลุ่มที่ทำ PLC ร่วมกัน และช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยช่วยกันหาวิธีการแก้ปัญหาให้มันยั่งยืน ดังนั้น กระบวนการต้องชัดขึ้นต่อเนื่อง และต่อยอดในการพัฒนา ไม่ใช่การนำประเด็นมาพูดคุยกันให้ผ่าน ไปโดยที่ไม่ได้เกิดการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น

การ PLC ที่ดีไม่ใช่แค่ในกลุ่มครูที่โรงเรียนเท่านั้น ยังสามารถทำการ PLC ร่วมกับเพื่อนครูต่างโรงเรียนเพื่อได้รับการเติมเต็มความรู้ให้กัน ก็จะทำให้การทำงานมีความชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น มีการกำหนดเวลาในการทำ PLC และเข้าใจความหมายของ PLC มากขึ้น

การ PLC ของครูส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนักเรียนอย่างไร

ในมุมมองของโค้ชเห็นว่า ถ้าเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษ หรือกรณีที่เป็นปัญหา ครูเล็งเห็นความสำคัญและมีความชัดเจนในกระบวนการแก้ไขปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น ในส่วนต่อไปถ้าครูมีการพัฒนาในการสอนแบบ Active Learning แล้ว นักเรียนได้เป็นศูนย์กลางเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเด็กรอบด้าน ซึ่งครูต้องเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนตัวเองให้เป็นครูในยุคใหม่ มีหลายเทคนิคในการส่งเสริมนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เป็นเจ้าของในการเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งครูได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความต้องการพัฒนาเป็นรายบุคคลครูก็จะให้ความสำคัญมากขึ้นผ่านกระบวนการ PLC

จากบทสัมภาษณ์: นางสาวศิริรัตน์  คำจูกัลย์ (โค้ชส้ม) นักพัฒนาการศึกษา มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม

ในการทำ PLC เห็นพัฒนาการหรือการเติบโตในระบบการจัดการโรงเรียนบ้าง

สิ่งที่โค้ชกระเต็นได้เห็นและสัมผัสผ่านองค์กรที่เป็นผู้จัดขึ้น มองว่าผู้อำนวยการโรงเรียนหรือระดับผู้บริหารนั้น ได้มีการนำไปขยายผลต่อที่โรงเรียนร่วมกับครู และสามารถดำเนินงาน

ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบได้ดียิ่งขึ้น มีการวางแผนและประสานงาน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารและทำความเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะการ PLC ระดับผู้บริหารในโรงเรียนนั้นมีหลายโรงเรียนในเขตพื้นที่นั้นที่เข้าร่วม ซึ่งเกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือรวมทั้งมีการประสานงานร่วมกับระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบริบทและความแตกต่างของโรงเรียนและนำสิ่งที่พูดคุยมาปรับเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนต่อไป โดยที่เป้าหมายของทุกคนคือ มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน

การ PLC ในระดับ ผอ. ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร

โค้ชมองว่า การ PLC ที่ดีในแต่ละครั้งควรจะมีการตั้งประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างโรงเรียนที่มีปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาคล้าย ๆ กัน จะสามารถนำประเด็นที่หลากหลายไปปรับใช้หรือต่อยอดจากสิ่งที่ทำ ซึ่งต้องเกิดความร่วมมือในเครือข่ายหรือหน่วยงานอื่นเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ อีกทั้งควรจะมีการเชิญศึกษานิเทศก์หรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ และสะท้อนคิดจากสิ่งที่ได้ PLC เพื่อนำไปปรับปรุงในครั้งต่อไป

การ PLC ของ ผอ.ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปที่ระบบการจัดการของโรงเรียน ครู และนักเรียน 

ในมุมของโค้ชการทำ PLC ของผู้อำนวยการนั้นส่งผลโดยตรงไปถึงระบบการจัดการของโรงเรียน ครู และนักเรียนด้วย โดยในเรื่องแรกที่ส่งผลโดยตรงคือ  ระบบการจัดการของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในการทำงานร่วมกัน 

ในส่วนที่สองคือ ครู ผู้ที่จะต้องดำเนินการเป็นหลัก ส่งผลให้ครูต้องพัฒนาและปรับปรุงการทำงานร่วมกันกับเพื่อนครู เกิดการสร้างเครือข่ายครูต่างโรงเรียนที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนที่กำหนดขึ้น

ส่วนสุดท้ายนักเรียนคือผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดของการทำ PLC ของผู้อำนวยการที่เกิดความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันของทุกฝ่าย เพราะทุกอย่างมุ่งเน้นไปเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาของนักเรียนให้ดีขึ้น

จากบทสัมภาษณ์: นางสาวอารยา สุวรรณอาศน์  (โค้ชกระเต็น) นักพัฒนาการศึกษา มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
3767 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5858 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7042 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1045 ผู้เรียน

Related Videos

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
1122 views • 3 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
797 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่
03:43
Starfish Academy

การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่

Starfish Academy
13706 views • 3 ปีที่แล้ว
การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1577 views • 3 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง