PLC เพื่อพัฒนาการศึกษา
การ PLC คือ การสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานบริบทและความแตกต่างของโรงเรียน เพื่อให้มีเป้าหมายและภารกิจในการ ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพเปลี่ยนแปลงคุณภาพตนเอง สู่คุณภาพการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
บทความนี้ Starfish Labz มีข้อมูลเกี่ยวกับ PLC เพื่อพัฒนาการศึกษา ซึ่งเป็น บทสัมภาษณ์จากนักพัฒนาการศึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ จากประสบการณ์จริงจากโค้ชที่ได้เห็นการ PLC ในระดับผู้บริหารและคุณครู มาฝากกันค่ะ
ในการทำ PLC เห็นพัฒนาการหรือการเติบโตในตัวของครูบ้าง
การทำ PLC ร่วมกับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ และคุณครูครูแกนนำนั้น โดยส่วนใหญ่คุณครูรู้จักและมีการทำ PLC อยู่แล้วแต่เป็นการ PLC แบบไม่เป็นทางการ ไม่มีการบันทึก การ PLC ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบการพูดคุยในกลุ่มเพื่อนครูเท่านั้น ไม่มีกระบวนการที่ชัดเจน ซึ่งในบทบาทของโค้ชได้เข้าไปให้คำแนะนำด้าน กระบวนการทำ PLC โดยยึดผ่านกระบวนการ STEAM Design Process ไปปรับใช้ ส่งเสริมให้ครูเห็นกระบวนการทำ PLC ที่มีเป้าหมายชัดเจนผ่านการใช้กระบวนการ STEAM Design Process ทำครูให้มองเห็นปัญหาที่อยากจะแก้ไขร่วมกัน อีกทั้งเมื่อโค้ชได้นำกระบวนการ STEAM Design Process ไปปรับใช้ในการ PLC ร่วมกับครูในเรื่องของการพัฒนาตนเองคุณครูได้พัฒนาในเรื่องการสร้างนวัตกรรมของคุณครู โดยเริ่มจากแผนการสอนต้นแบบที่ครูอยากพัฒนา โดยมีเพื่อนครูจะเข้าไปพัฒนาแผนการสอนต้นแบบผ่านการ PLC อีกด้วย โดยนวัตกรรมที่คุณครูให้ความสำคัญและเริ่มนำมาพัฒนาเป็นอันดับต้น ๆ การสอนแบบ Active learning และการพัฒนานวัตกรรมของครู
การ PLC ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
ในมุมมองของโค้ชส้มต้องมีการทำ PLC ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ และมีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน เริ่มจากกระบวนการกลุ่มที่ทำ PLC ร่วมกัน และช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยช่วยกันหาวิธีการแก้ปัญหาให้มันยั่งยืน ดังนั้น กระบวนการต้องชัดขึ้นต่อเนื่อง และต่อยอดในการพัฒนา ไม่ใช่การนำประเด็นมาพูดคุยกันให้ผ่าน ไปโดยที่ไม่ได้เกิดการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงให้ดีขึ้น
การ PLC ที่ดีไม่ใช่แค่ในกลุ่มครูที่โรงเรียนเท่านั้น ยังสามารถทำการ PLC ร่วมกับเพื่อนครูต่างโรงเรียนเพื่อได้รับการเติมเต็มความรู้ให้กัน ก็จะทำให้การทำงานมีความชัดเจนและเป็นระบบมากขึ้น มีการกำหนดเวลาในการทำ PLC และเข้าใจความหมายของ PLC มากขึ้น
การ PLC ของครูส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนักเรียนอย่างไร
ในมุมมองของโค้ชเห็นว่า ถ้าเป็นกลุ่มนักเรียนที่มีความต้องการเป็นพิเศษ หรือกรณีที่เป็นปัญหา ครูเล็งเห็นความสำคัญและมีความชัดเจนในกระบวนการแก้ไขปัญหานักเรียนเป็นรายบุคคลมากขึ้น ในส่วนต่อไปถ้าครูมีการพัฒนาในการสอนแบบ Active Learning แล้ว นักเรียนได้เป็นศูนย์กลางเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ทักษะต่าง ๆ ก็เกิดขึ้น เพราะครูเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเด็กรอบด้าน ซึ่งครูต้องเกิดการพัฒนาและเปลี่ยนตัวเองให้เป็นครูในยุคใหม่ มีหลายเทคนิคในการส่งเสริมนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียน เป็นเจ้าของในการเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งครูได้เปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก โดยเฉพาะนักเรียนที่มีความต้องการพัฒนาเป็นรายบุคคลครูก็จะให้ความสำคัญมากขึ้นผ่านกระบวนการ PLC
จากบทสัมภาษณ์: นางสาวศิริรัตน์ คำจูกัลย์ (โค้ชส้ม) นักพัฒนาการศึกษา มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
ในการทำ PLC เห็นพัฒนาการหรือการเติบโตในระบบการจัดการโรงเรียนบ้าง
สิ่งที่โค้ชกระเต็นได้เห็นและสัมผัสผ่านองค์กรที่เป็นผู้จัดขึ้น มองว่าผู้อำนวยการโรงเรียนหรือระดับผู้บริหารนั้น ได้มีการนำไปขยายผลต่อที่โรงเรียนร่วมกับครู และสามารถดำเนินงาน
ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบได้ดียิ่งขึ้น มีการวางแผนและประสานงาน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารและทำความเข้าใจตรงกัน โดยเฉพาะการ PLC ระดับผู้บริหารในโรงเรียนนั้นมีหลายโรงเรียนในเขตพื้นที่นั้นที่เข้าร่วม ซึ่งเกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือรวมทั้งมีการประสานงานร่วมกับระหว่างโรงเรียนในเครือข่าย ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบริบทและความแตกต่างของโรงเรียนและนำสิ่งที่พูดคุยมาปรับเป็นแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนต่อไป โดยที่เป้าหมายของทุกคนคือ มุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน
การ PLC ในระดับ ผอ. ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร
โค้ชมองว่า การ PLC ที่ดีในแต่ละครั้งควรจะมีการตั้งประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างโรงเรียนที่มีปัญหาหรือสิ่งที่ต้องการพัฒนาคล้าย ๆ กัน จะสามารถนำประเด็นที่หลากหลายไปปรับใช้หรือต่อยอดจากสิ่งที่ทำ ซึ่งต้องเกิดความร่วมมือในเครือข่ายหรือหน่วยงานอื่นเข้ามามีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ อีกทั้งควรจะมีการเชิญศึกษานิเทศก์หรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามามีส่วนร่วมในการให้คำแนะนำ และสะท้อนคิดจากสิ่งที่ได้ PLC เพื่อนำไปปรับปรุงในครั้งต่อไป
การ PLC ของ ผอ.ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปที่ระบบการจัดการของโรงเรียน ครู และนักเรียน
ในมุมของโค้ชการทำ PLC ของผู้อำนวยการนั้นส่งผลโดยตรงไปถึงระบบการจัดการของโรงเรียน ครู และนักเรียนด้วย โดยในเรื่องแรกที่ส่งผลโดยตรงคือ ระบบการจัดการของโรงเรียนที่ทำให้โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในการทำงานร่วมกัน
ในส่วนที่สองคือ ครู ผู้ที่จะต้องดำเนินการเป็นหลัก ส่งผลให้ครูต้องพัฒนาและปรับปรุงการทำงานร่วมกันกับเพื่อนครู เกิดการสร้างเครือข่ายครูต่างโรงเรียนที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนที่กำหนดขึ้น
ส่วนสุดท้ายนักเรียนคือผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดของการทำ PLC ของผู้อำนวยการที่เกิดความร่วมมือในการพัฒนาร่วมกันของทุกฝ่าย เพราะทุกอย่างมุ่งเน้นไปเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาของนักเรียนให้ดีขึ้น
จากบทสัมภาษณ์: นางสาวอารยา สุวรรณอาศน์ (โค้ชกระเต็น) นักพัฒนาการศึกษา มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
Related Courses
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)