ระบบติดตามช่วยเหลือนักเรียน
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อม ทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจ ความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนให้มีทักษะในการดำรงชีวิต ดังนั้นภายในโรงเรียนจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตผู้เรียน ให้เกิดทิศทางที่ดีและส่งเสริมผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสามารถ ความพร้อมที่ตรงต่อความต้องการเพื่อแก้วิกฤติสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงควรนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโรงเรียน
บทความนี้ Starfish Labz มีข้อมูลเกี่ยวกับ ระบบติดตามช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์จากนักพัฒนาการศึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวดีๆ จากประสบการณ์จริงในเรื่อง เทคนิควิธีการที่จะเข้ามามีบทบาทความสำคัญในการช่วยเหลือนักเรียนมาฝากกันค่ะ
ความสำคัญของระบบติดตามการช่วยเหลือนักเรียน
ในมุมมองของโค้ชขวัญ เห็นว่าจากสถานการณ์สภาพสังคมในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบกับวงการศึกษามาก ในเรื่องของการจัดการเรียนการสอนที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์ รวมถึงความพร้อม ในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีไม่เท่ากัน
ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับโรงเรียน ได้เห็นถึงความสำคัญในระบบช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการในเรื่องของการศึกษา โค้ชมองว่าโรงเรียนและครูมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง ที่ควรมีการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมาใช้เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือในการป้องกันปัญหา
ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งการนำระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนส่งผลให้คุณครูได้เกิด การพัฒนาตามบริบทของโรงเรียน ซึ่งเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และมีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิตต่อไปได้
ระบบช่วยเหลือที่ดีคืออะไร
ในมุมมองของโค้ชขวัญคิดว่า จะต้องมีการเน้นกระบวนการในการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีขั้นตอน ด้วยเครื่องมือการทำงานที่ชัดเจน โดยควรมีฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในโรงเรียนรวมถึงคณะครูมาเป็นบุคลากรหลัก ในการดำเนินการส่งเสริมดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในด้านต่าง ๆ และต้องเกิดความร่วมมือของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา การทำงานร่วมกันของทุกฝ่ายจะทำให้นักเรียนได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและตรงตามสภาพปัญหาจริงที่สุด รวมถึงตัวนักเรียนก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีจากการได้รับความดูแลช่วยเหลือ การเอาใจใส่ และมีความสุขมากยิ่งขึ้นจากทุกฝ่ายที่ตั้งใจในการให้ความช่วยเหลือนักเรียน
ความประทับใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือนักเรียน
จากที่โค้ชขวัญได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายเห็นได้ว่าโรงเรียนได้ให้ความสำคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียน โรงเรียนมีการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้อยโอกาส หรือที่มีความต้องการพิเศษ โดยโรงเรียนมีการประสานกับผู้ปกครองให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกันกับโรงเรียน ซึ่งเป็นจุดที่ได้เห็นทุกฝ่ายมีเป้าหมายร่วมกัน ในการพัฒนาการเรียนรู้ และร่วมพูดคุยถึงปัญหาเพื่อวางแนวทางแก้ไข ส่งผลดีโดยตรงสู่เด็กนักเรียน ซึ่งเป็นความประทับใจที่โค้ชขวัญได้เห็นและมีส่วนในการทำงานร่วมกันเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างดีที่สุด
จากบทสัมภาษณ์: นางสาวพัชรินทร์ กันธิยะ (โค้ชขวัญ) นักพัฒนาการศึกษา มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของการติดตามการช่วยเหลือนักเรียน
ในมุมมองของโค้ชนัทนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องเกิดจากความร่วมมือของผู้ปกครอง ครู และเครือข่ายองค์กรภายนอก เริ่มจากบทบาทของโรงเรียนต้องมีการกำหนดนโยบายวางแผน ป้องกัน และช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม รายกรณี ส่วนคุณครูจะต้องมีการสำรวจข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลแล้ววิเคราะห์ข้อมูลและจำแนกข้อมูล เพื่อหาวิธีการหรือแนวทางในการป้องกัน เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และมีการประสานจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เข้ามาช่วยเหลือเป็นรายกรณี
ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญอย่างไร
ในการช่วยเหลือนักเรียนโค้ชนัทคิดว่า เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานความแตกต่างตามบริบทและสภาพแวดล้อมของครอบครัวนั้น เช่น เด็กบางคนอาศัยอยู่กับตายาย เด็กบางคน พ่อแม่ก็แยกกันอยู่ เด็กบางคนก็อาศัยอยู่กับผู้อื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่ ฯลฯ ฉะนั้น บทบาทของผู้ปกครองจึงมีส่วนสำคัญในการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ต้องสร้างความไว้วางใจ สร้างพื้นที่ปลอดภัย และต้องคอยสังเกต คอยซักถามพูดคุยกับเด็กเป็นประจำ และผู้ปกครองจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก ๆ มีการสร้างระบบเครือข่ายของผู้ปกครองในการช่วยเหลือดูแลให้ความปลอดภัย มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเพื่อช่วยเหลือดูแลกัน รวมถึงติดต่อสื่อสารเพื่อหาทางแก้ไขเมื่อเกิดปัญหา
คำแนะนำในการประสานงานร่วมกับผู้ปกครองในการช่วยเหลือโรงเรียน
ในมุมของโค้ชนัทนั้นคิดว่าระบบการป้องกันดูแล ช่วยเหลือ ต้องขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนนั้น ๆ ซึ่งโรงเรียนส่วนใหญ่จะมีระบบป้องกัน ดูแลช่วยเหลือ ด้านความปลอดภัยให้กับเด็กอยู่แล้ว โค้ชจะแนะนำในเรื่อง การเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล แล้ววิเคราะห์ ประเมิน สถานการณ์ความเสี่ยงของเด็กแต่ละคน เช่น ถ้าเด็กคนไหนอยู่กับครอบครัวหรือมีสภาพแวดล้อม ที่มีคนดื่มสุราโอกาสที่เด็กจะดื่มสุรามีสูง เพราะเห็นจนชิน และคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น โรงเรียนและครู ผู้ปกครองต้องร่วมมือกันสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ ทั้งภายในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
จากบทสัมภาษณ์: นางสาวศิรินันท์ ช้างน้อยอำไพ (โค้ชนัท) นักพัฒนาการศึกษา มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
บทความใกล้เคียง
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 1 การเก็บหลักฐานและจัดการข้อมูล (ครูวิชาการ)
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
บทบาทของนักการศึกษากับการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียนยุคโควิด-19
Related Courses
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...