เสวนาสะท้อนผลการดำเนินงาน 3 ปี : ความสำเร็จของโรงเรียนพัฒนาตนเอง
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เพื่อเด็กทุกคน : บทเรียนจากโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่น 1”
ภายใต้โครงการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)
เสวนาสะท้อนผลการดำเนินงาน 3 ปี : ความสำเร็จของโรงเรียนพัฒนาตนเอง
โครงการบริหารจัดการโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) มุ่งพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ ภายใต้กรอบแนวคิดการบริหารจัดการโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีอิสระในการบริหารจัดการตนเอง และการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 พัฒนาไปสู่หลักสูตรสถานศึกษา โดยการสนับสนุน พัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยเทคนิคและเครื่องมือจากเครือข่ายร่วมดำเนินงานทั้ง 11 เครือข่ายหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการ coaching การสนับสนุนเทคนิคทางวิชาการ การ
กระตุ้นและจัดระบบกระบวนการในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วย การตั้งเป้าหมาย (Goal) ระบบสารสนเทศ (Info) การพัฒนาครูและผู้บริหารด้วยกระบวนการ PLC การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในระดับชั้นเรียน (Classroom) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ด้อยโอกาสและมีความต้องการพิเศษ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนหลากหลายรูปแบบ (Network)
จากการดำเนินโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของแต่ละเครือข่ายได้มีมุมมองต่อการดำเนินงานและความยั่งยืนในการสืบต่อนวัตกรรมต่าง ๆ ดังนี้
นายภาณุวัฒน์ บุญเย็น หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา – จากการดำเนินงานเป็นไปตามต้นแบบที่วางไว้ โดยจุดคานงัดได้มุ่งที่ตารางเรียน ซึ่งจะเห็นได้จากนวัตกรรม 3 ตัวที่เข้าสู่ตารางเรียนจะเป็นตัวกำหนดวิถีที่มั่นคง และมีวง PLC ที่ถูกออกแบบอย่างเป็นระบบในการขับเคลื่อนตรวจ 3 นวัตกรรม และจากการดำเนินการ PLC ของกลุ่มลำปลายมาศ ทำให้เห็นถึงเนื้อเดียวกันของนวัตกรรมกับระบบดูแลช่วยเหลือเด็ก ทั้งนี้ จากการดำเนินงานได้พบปัญหาแทรกซ้อนระหว่างการทำ TSQP ในการโยกย้ายของผู้บริหาร ส่งผลให้เกิดความกังวลถึงความยั่งยืนในการที่โรงเรียนจะสามารถอยู่ต่อได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ถ้าระบบมั่นคงโรงเรียนก็สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ และจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้สูญเสียโรงเรียนในเครือข่ายจำนวนมากจากองค์ประกอบแทรกซ้อนหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นจุดที่ควรให้ความสำคัญในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิทักษะแห่งอนาคต – สำหรับโรงเรียนพัฒนาตนเอง ประการแรกต้องมีความกล้าหาญในการเป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใจในสิ่งที่ทำ ทำให้เป็นโรงเรียนบันดาลใจเพื่อศิษย์ขาดแคลน ด้วยระบบที่สร้างความสุข ความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ระบบการติดตาม และการช่วยเหลือต่างๆ เรื่องที่สองคือ ห้องเรียน high for tuning classroom ภายในโรงเรียน สองส่วนนี้ ถือได้ว่าเป็นคานงัดที่สำคัญที่สุด ทั้งนี้ เครือข่ายสามารถเสริมหนุน เสริมแรง และกระตุ้นให้โรงเรียนดำเนินการตามบริบทของตนเองได้ การคิดค้น พัฒนานวัตกรรมต้นแบบสำหรับโรงเรียนในการเลือกใช้ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของตนเอง โดยวิเคราะห์ปัญหาจากบริบทต่างๆ ของโรงเรียน และช่วยพัฒนาตามปัญหาและสถานการณ์ และทำหน้าที่โค้ชซึ่งเป็นลักษณะของโรงเรียนและเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน
รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น – จากการที่โครงการหรือผู้ทรงคุณวุฒิกำหนดองค์ประกอบถึงมาตรการเชิงคุณภาพ ถือได้ว่าเป็นการออกแบบเชิงองค์ประกอบที่ดี มีความชัดเจนกับโรงเรียนที่จะพัฒนาตนเอง อย่างไรก็ตาม ถ้ามีวิธีการหรือแนวทางของนวัตกรรมจะทำให้สอดคล้องกับมาตราการ กระบวนการ และ Learning Outcome มากขึ้น ส่งผลให้ภาพของโรงเรียนพัฒนาตนเองชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ดร.เจือจันทร์ - ในมุมมองด้านวิธีการของแต่ละภาคีเครือข่ายมีความแตกต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ตัวผู้เรียน ดังนั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ คือ ระบบในการบริหารจัดการ และระบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งโค้ชแต่ละคนมีกลยุทธ์ (Strategy) ที่นำไปสู่โรงเรียนต่างกัน ฉะนั้น ในการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ ผู้บริหารโรงเรียนต้องให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนทั้งโรงเรียน ทั้งนี้ จากประสบการณ์การทำงานพื้นที่ในเชิงรูปธรรม ภาคีเครือข่ายได้มีมุมมองถึงแนวโน้มในการที่จะยกระดับพื้นที่เข้าสู่ระดับส่วนกลาง ดังนี้
รศ.ดร.ธันยวิช วิเชียรพันธ์ หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิทักษะแห่งอนาคต – จากประสบการณ์การทำงานกับเขตพื้นที่ฯ จะเห็นได้ว่า ศึกษานิเทศก์ 1 คนจะต้องมีองค์ความรู้ 3 มิติ คือ สิ่งที่เชี่ยวชาญ ความรู้ในการโค้ชเชิงพื้นที่หลักสูตรและการประกันคุณภาพการศึกษา (SAR) แต่สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อโรงเรียนในการพัฒนาตนเอง คือ ความเข้าใจในเรื่องของมาตรการบริหารโรงเรียนแบบ Host School Approach ซึ่งเป็นการใช้ประสบการณ์ของโค้ชในลักษณะ Coach fellowship และเพิ่มเติมในมิติของการประกันคุณภาพการศึกษาและหลักสูตร โดยการให้ศึกษานิเทศก์ทำความเข้าใจและดำเนินการต่อในรูปแบบของโค้ชและทำการถอดบทเรียนต่อไป อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กังวลคือ นโยบายในการโยกย้ายครู อาจส่งผลให้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกับโรงเรียนน้อย ทั้งนี้ อยากให้ต้นสังกัดมีระเบียบหรือคู่มือในการพัฒนาโรงเรียนเพื่อเป็นการต่อยอดในการพัฒนาโรงเรียนต่อไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการประสานงานที่ครอบคลุมมากขึ้น
รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – สิ่งที่คิดว่าเป็นไปได้ คือ การสร้างโรงเรียนให้อิสระ และโรงเรียนต้องเป็นตัวของตัวเอง การทำให้โรงเรียนสามารถสอนเชิงรุกได้อย่างแท้จริง และสามารถประเมินผลงานตัวเองเชื่อมกับ วPA ได้ โดยมีหลักฐานและข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่า โรงเรียนมีความสามารถในการพัฒนาตนเองอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ การเข้าถึงภาคการศึกษาอย่างมีคุณภาพและเท่าเทียม ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และควรจะมีการวิพากษ์ เพื่อให้ตกผลึกในเรื่องของการพัฒนาการศึกษาได้อย่างแท้จริง
ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม – สำหรับการทำงานร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดที่ผ่านมา ได้มีการพยายามเข้าถึงทุกรูปแบบ แต่เนื่องด้วยปีแรกโครงการยังไม่ได้เป็นที่รู้จัก เรื่องของจดหมายสั่งการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการเข้าทำงานร่วมกับโรงเรียนและเขตพื้นที่ ในส่วนของพื้นที่ ทางมูลนิธิฯ ได้ทำงานร่วมกับเขตพื้นที่ โดยการทำ MOU ร่วมกับแต่ละเขตพื้นที่ การทำงานร่วมกับศึกษานิเทศก์ การสร้างความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่และบริบทของโรงเรียน เนื่องจากการทำงานที่ไม่สอดคล้องกัน ทั้งนี้ วิธีการทำงานของสตาร์ฟิชฯ ยังยึดมั่นในการเข้าสู่โรงเรียนในรูปแบบกัลยาณมิตร ลดความเป็นทางการและความเป็นวิชาการ พยายามประสานติดต่อในรูปแบบของเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการทำงาน จะทำอย่างไรให้โรงเรียนรู้สึกไม่เป็นภาระเพิ่มแต่เป็นการให้ความช่วยเหลือ
เพราะฉะนั้น ในการทำงานร่วมกับศึกษานิเทศน์ โรงเรียนอาจจะต้องมีบทบาทการทำงานร่วมกันในรูปแบบของการเป็น host แม้กระทั่งการทำงานนอกเขตพื้นที่หรือสังกัด ซึ่งจะทำให้เห็นการทำงานในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการโค้ช การให้ข้อมูล ตลอดจนการให้คำแนะนำกับโรงเรียน ถือว่าเป็นการพัฒนาวิชาชีพของทั้งศึกษานิเทศก์ โรงเรียน และมูลนิธิสตาร์ฟิชในการเรียนรู้งานอีกด้วย นอกเหนือจากนั้น การทำให้ระบบคงอยู่ถึงแม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนบุคลากร โรงเรียนอาจจะต้องเน้นในเรื่องของระบบ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลยุทธ์หรือแผนการดำเนินการของโรงเรียนที่จะมุ่งไปในทิศทางใด เพื่อให้เกิดวิธีการหรือระบบใหม่ๆ ในการถ่วงดุลตรวจสอบ ติดตามและพัฒนาในรูปแบบที่ชุมชนต้องการ ฉะนั้น จะทำอย่างไรให้ระบบเป็นชิ้นงานเดียวกัน ตั้งแต่แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติงานประจำปี โดยให้มีความสอดคล้องกับหน้างานจริง ทั้งนี้ โรงเรียนอาจจะต้องมีความกล้าหาญในความเป็นตัวตน การสนับสนุนหรือผลักดันให้เกิดการบูรณาการทั้งหมดในงานที่โรงเรียนทำ และเชื่อมโยงกับนโยบายต่างๆ ที่โรงเรียนจะต้องทำ ตลอดจนการนำ วPA มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาคุณภาพโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนสามารถยึดตัวเองได้ต่อไป
รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น – สำหรับมุมมองการทำงานในพื้นที่ ภาพรวมของระบบครุศึกษา ส่วนที่สถาบันผลิตต้องทำหน้าที่ของตนเอง ส่วนเขตพื้นที่ที่ต้องทำงานกับโรงเรียนในการเป็นฟันเฟืองหน้างาน สามารถเป็นตัวเชื่อมโดยการพยายามนำเอานวัตกรรมเข้าสู่ระบบโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ส่งผลให้โรงเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้
เห็นได้ว่า การที่โครงการ โรงเรียน และเครือข่ายจะสามารถดำเนินงานต่อไปได้ หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอาจจะต้องให้โอกาสโรงเรียนได้พัฒนาตนเองตามความต้องการ ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น หรือการยกระดับโรงเรียนแกนนำ ขยายเป็นโมเดลและสร้างโรงเรียนเหล่านี้ให้เป็นโรงเรียนพัฒนาตนเอง สำหรับการศึกษาดูงานอย่างแท้จริง นั่นคือสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นและเกิดผลอย่างแท้จริงต่อไป
โดย หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิทักษะแห่งอนาคต
หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวหน้าโครงการฯ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา
หัวหน้าโครงการฯ มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม
บทความใกล้เคียง
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 1 การเก็บหลักฐานและจัดการข้อมูล (ครูวิชาการ)
Teachers Hero’s Journey เส้นทางครูฮีโร่ ในยุค new normal
กิจกรรม TSQP Kick Off กลุ่มที่ 2 การนำไปใช้กับผู้เรียน (ครูผู้สอน)
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...