ลูกไม่มีเพื่อน ปัญหาใหญ่ของวัยรุ่น ที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ

Starfish Academy
Starfish Academy 11953 views • 2 ปีที่แล้ว
ลูกไม่มีเพื่อน ปัญหาใหญ่ของวัยรุ่น ที่พ่อแม่ต้องเข้าใจ

สำหรับวัยรุ่น เพื่อนคือบุคคลที่สำคัญที่สุด บางครั้งอาจดูเหมือนว่าเพื่อนสำคัญกว่าพ่อแม่เสียอีก ที่เป็นเช่นนี้เพราะวัยรุ่นเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ การมีเพื่อนคือการจำลองสังคมของผู้ใหญ่ ที่วัยรุ่นได้ฝึกคิด ฝึกตัดสินใจเรียนรู้ความผิดพลาดด้วยตนเอง 

แต่ปัญหาก็คือไม่ใช่วัยรุ่นทุกคนจะมีเพื่อน โดยเฉพาะในยุคที่อินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน การใช้เวลาบนโลกออนไลน์มากเกินไปอาจทำให้วัยรุ่นหลายคน ขาดทักษะเข้าสังคมและปรับตัวเมื่ออยู่ในกลุ่มเพื่อนอย่างเหมาะสม หรือวัยรุ่นบางคนอาจไม่เห็นความสำคัญของการมีเพื่อนในชีวิตจริง ไม่ว่าสาเหตุคืออะไร แม้ว่าวัยรุ่นอาจแสดงออกว่าไม่เป็นไร แต่ที่จริงแล้วการไม่มีเพื่อนในวัยรุ่น อาจเป็นปัญหาใหญ่กว่าที่พ่อแม่คิด

การมีเพื่อนในวัยรุ่นสำคัญอย่างไร?

เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม การมีเพื่อนจึงมีความสำคัญทั้งในแง่ของจิตใจและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน กล่าวคือ การมีเพื่อนโดยเฉพาะในวัยรุ่นจะช่วยสร้างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม (Sense of belonging) ทำให้รู้สึกมีคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเอง

นอกจากนี้ การมีเพื่อนยังช่วยสร้างความมั่นใจ ทำให้รู้สึกมั่นคงปลอดภัย เพราะมีคนพูดคุยให้คำปรึกษา ช่วยให้ไม่รู้สึกอ้างว้างเดียวดาย ไม่ต้องกลัวว่าตนเองจะแปลกแยกแตกต่างจากผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกแปลกแยกเป็นสิ่งที่วัยรุ่นมักรู้สึกและกังวล การมีเพื่อนที่มีความคิดคล้ายๆ กัน ชื่นชอบอะไรเหมือนกัน จะช่วยลดความรู้สึกเหล่านี้ได้

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ของการมีเพื่อนคือ วัยรุ่นเป็นวัยลองผิดลองถูก การมีเพื่อนทำให้พวกเขาได้ฝึกใช้ทักษะทางสังคม เพื่อตรวจสอบคุณค่าที่ตนเองยึดถือในชีวิต ค้นหาตัวตนและแนวทางผ่านประสบการณ์ที่ได้ใช้เวลาร่วมกับเพื่อนๆ ซึ่งจะเป็นรากฐานต่อการพัฒนาตัวตนในวัยผู้ใหญ่ต่อไป

ผลกระทบต่อใจเมื่อวัยรุ่นไร้เพื่อน 

ความโดดเดี่ยวไม่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม อาจสร้างความเจ็บปวดในจิตใจอย่างมากให้กับวัยรุ่น ไม่เพียงเท่านั้น ความรู้สึกว่าตนเองถูกปฏิเสธจากเพื่อนๆ ยังส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของวัยรุ่นด้วย

หากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข วัยรุ่นจะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่รู้สึกไร้ค่า ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าได้

อย่างไรก็ตาม พ่อแม่อาจมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลูกก้าวข้ามปัญหานี้ได้ แต่ทั้งนี้อาจต้องค่อยเป็นค่อยไปและไม่ข้ามเส้นไปก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของลูก พ่อแม่ไม่อาจช่วยป้องกันไม่ให้ลูกถูกกีดกันจากเพื่อนๆ ได้ แต่มีอีกหลายวิธีที่พ่อแม่ช่วยให้ลูกก้าวข้ามความรู้สึกโดดเดี่ยวจากการไม่มีเพื่อน รวมทั้งช่วยสร้างความมั่นใจให้ลูกมีทักษะการเข้าสังคมที่ดีได้

พ่อแม่ช่วยอย่างไร เมื่อลูกไร้เพื่อน

  • อย่าบอกให้ลูกเปลี่ยนตัวเอง 

วัยรุ่นมักมีตัวตนที่เปราะบาง และจิตใจที่อ่อนไหว การไม่มีเพื่อนย่อมทำให้พวกเขารู้สึกสงสัยในตนเองมากพออยู่แล้ว หากพ่อแม่บอกให้ลูกปรับปรุงตัว ก็อาจยิ่งตอกย้ำให้วัยรุ่นคิดว่าตัวตนของพวกเขามีปัญหาและเป็นสาเหตุที่เพื่อนๆ ไม่อยากคบหาด้วย ทางกลับกัน ควรพูดถึงคุณลักษณะที่ดีของลูก เช่น ลูกเป็นผู้ฟังที่ดี หากใครได้เป็นเพื่อนก็คงสบายใจเพราะลูกจะคอยรับฟังปัญหาของเพื่อนๆ ได้ หรือ ลูกดูแลคนรอบข้างได้ดี หากได้ไปเที่ยวกับเพื่อน เพื่อนคงประทับใจที่ลูกช่วยดูแล การระบุข้อดีของลูกคือขั้นตอนแรกที่พ่อแม่จะช่วยให้วัยรุ่นเห็นคุณค่าในตนเอง เพื่อสร้างความมั่นใจในขั้นต่อไป

  • ชวนลูกทำกิจกรรมหลากหลาย

เมื่อลูกรับรู้ว่าตนเองมีข้อดี จุดเด่นด้านใด และมีความมั่นใจในตนเองพอสมควรแล้ว ควรส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมหลากหลายทั้งในและนอกโรงเรียน เช่น การเข้าชมรม ไปค่ายอาสา ฯลฯ ควรเลือกกิจกรรมที่ลูกสนใจจะช่วยให้ลูกมีความสุข และเป็นตัวของตัวเอง การพาลูกไปอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมกับผู้คนใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เป็นแนวทางที่ดีที่ช่วยสร้างมิตรภาพใหม่ๆ

  • บอกให้รู้ว่ามิตรภาพบังคับไม่ได้

มิตรภาพก็เหมือนความสัมพันธ์รูปแบบอื่นๆ ที่ต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ หากพยายามบังคับ หรือฝืนใจ อาจทำให้เกิดปัญหาและความขัดแย้งตามมาภายหลัง มิตรภาพที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องฝืนตัวเอง มักเป็นมิตรภาพที่ไม่ยั่งยืน หากรู้สึกว่าลูกวัยรุ่นกำลังอยู่ในมิตรภาพที่เป็นพิษ เช่น ถูกเพื่อนหลอกใช้ หรือต้องเปลี่ยนตัวเองมากมายเพื่อให้เป็นที่ยอมรับ ควรชี้ให้ลูกเห็นว่ามิตรภาพดีๆ ยังมีโอกาสเกิดขึ้นอีกมาก เพียงแค่ลูกกล้าเป็นตัวเอง

  • ประเมินการใช้เวลาของลูกในแต่ละวัน

บางครั้งกิจกรรมที่ลูกทำในแต่ละวัน อาจหมดไปกับการอยู่คนเดียว เช่น เล่นเกมออนไลน์ เล่นโทรศัพท์ ใช้อินเทอร์เน็ตนานๆ จนทำให้ไม่ได้ออกไปพบเจอผู้คนจริงๆ ในชีวิต หากรู้สึกว่าลูกไม่มีเพื่อน เป็นเพราะลูกเก็บตัว ใช้เวลาคนเดียว เรียนหนัก หรือเล่นหน้าจอมากเกินไป พ่อแม่ควรประเมินการใช้เวลาของลูก และช่วยปรับตารางเวลาในแต่ละวันให้สมดุล เพื่อให้ลูกมีโอกาสออกไปทำกิจกรรมที่ได้พบเจอเพื่อนฝูง ผู้คนในสังคมมากขึ้น

สุดท้ายแล้วการถูกปฏิเสธจากเพื่อนๆ อาจสร้างความเจ็บปวดทางใจได้ไม่ต่างจากถูกทำร้ายร่างกาย การตอบสนองของพ่อแม่จึงมีความสำคัญ พ่อแม่ไม่ควรทำให้วัยรุ่นรู้สึกว่าการไม่มีเพื่อนเป็นเรื่องเล็กน้อย ขณะเดียวกันก็ไม่ควรตีโพยตีพายใหญ่โต พ่อแม่ควรควบคุมอารมณ์ เป็นผู้ฟังที่ดี และหาทางสนับสนุนให้กำลังใจ คำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ จากพ่อแม่ในเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้ลูกเติบโตจากประสบการณ์ และก้าวผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ในที่สุด

แหล่งอ้างอิง (Sources):

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1417 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1226 ผู้เรียน
หลักการใช้ชีวิต
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

คุณธรรมเป็นพื้นฐานทางจิตใจ นำไปสู่การกระทำที่ดีและถูกต้อง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยสร้างให้เด็กพร้อมที่จะเผชิญโลก และสังคมปัจจุ ...

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้
ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง

สอนคุณธรรมให้ลูก พ่อแม่ก็ทำได้

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง
พัฒนาการเด็ก
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่

การสร้างการเรียนรู้สำหรับครูและผู้ปกครองในการพัฒนากระบวนการคิดให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กในระหว่างอยู่ที่โรงเรียนและบ้านเพื่อเพิ่มป ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่
Starfish Academy

ฝึกกระบวนการคิด ในห้องเรียนยุคใหม่

Starfish Academy
7357 ผู้เรียน

Related Videos

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
178 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
382 views • 3 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
80 views • 2 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”