นวัตกรรม : โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ และโรงเรียนบ้านแม่เมย
นวัตกรรมโรงเรียน โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) รุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสุขภาวะขั้นพื้นฐานของผู้เรียน (Wellbeing)
โรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์
แนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ไปใช้ในการเชื่อมโยง และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของผู้เรียน รวมไปถึงการพัฒนาทักษะ เป็นแนวทางการเรียนรู้แบบบูรณาการนี้คือ STEAM ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดในการจัดการศึกษาแบบสะเต็ม และกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ โดยยึดเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองต่าง ๆ มาสร้างไอเดีย หรือแนวทางในการแก้ไขปัญหา นำมาทดสอบและพัฒนาเพื่อให้ได้แนวทาง หรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์นั้น ๆ โดยกระบวนการที่จะให้ผู้เรียนได้นำไปใช้ในการเรียนรู้ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ คือ กระบวนการ STEAM Design Process ซึ่งโรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ต้องการพัฒนานักเรียนในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ แต่จากข้อมูลพื้นหลังพบ ปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรมที่สำคัญเนื่องจากทางโรงเรียนเจ้าฟ้าอุบลรัตน์เป็นโรงเรียนประจำ 90% และอีก 10% คือเด็กในชุมชนสามารถไปกลับได้ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าเด็กนักเรียนมักจะเป็นเหากันบ่อยๆ จึงได้นำนวัตกรรม”เราชนะเหา”โดยกระบวนการ STEAM Design Process ดังนี้
นวัตกรรม “กิจกรรมเราชนะเหา” มีรายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรม และวิธีการจัดการเรียนรู้โดยนํากระบวนการ STEAM Design Process มาจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในทุกระดับชั้น เพื่อส่งเสริมการดูแลในเรื่องสุขภาวะของผู้เรียนการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข มีวินัย มีความซื่อสัตย์ มีจิตสาธารณะ เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น โรงเรียนมีการจัดรูปแบบการพัฒนาสุขภาวะทางกายและจิต โดยการใช้รูปแบบของการบันทึกสุขภาพของผู้เรียนในทุกเช้าก่อนเข้าห้องเรียน และมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง และกิจกรรมได้ส่งเสริมด้านความรู้ทักษะที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
หลังจากใช้นวัตกรรม กิจกรรมเราชนะเหาแล้วได้ผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรมเป็นที่น่าพอใจ ดังนี้
- ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในโรงเรียน ที่สามารถนำมาใช้ในการหมักเหา ผ่านการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงโดยการลงมือทำโดยใช้กระบวนการ STEAM DESIGN PROCESS เป็นการ ฝึกให้นักเรียน เป็นผู้นำกล้าแสดงออก รู้จักการคิดวิเคราะห์ ทำให้นักเรียนเกิดทักษะ การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนในชั้นเรียน ได้เรียนรู้จักการดูแลรักษาเหา และรู้จักรักษาความสะอาดส่วนบุคคล ให้ถูกสุขภาวะ
- เป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพร ได้เห็นคุณค่าของสมุนไพรธรรมชาติ ตระหนักถึงผลกระทบของการใช้สารเคมี
- นำไปใช้กับนักเรียนหอพัก พบว่า จากการตรวจผมของนักเรียน จำนวนเหามีปริมาณที่ลดลง และไข่เหาฝ่อ นักเรียนมีสขภาพหนังศีรษะที่ดี มีความสะอาด สุขภาวะทางกายดีขึ้น
โรงเรียนบ้านแม่เมย
กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ทางปัญญา ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ผ่านสื่อหรือกิจกรรมการเรียนรู้ นั่นคือกระบวนการ ACTIVE LEARNING ที่มีครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยกระบวนการคิดขั้นสูง คือ ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่าจากสิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโรงเรียนบ้านแม่เมยได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในการพัฒนานักเรียน แต่โรงเรียนมีปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรมซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียน นั่นคือ
- ผู้เรียน นั่นคือนักเรียนไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้เนื่องจากสถาณการณ์โควิด
- ครู ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้เนื่องจากสถาณการณ์โควิด
- สภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศที่แห้งแล้ง ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก ผลไม้ และสมุนไพรในท้องถิ่น
โรงเรียนจึงได้จัดทำนวัตกรรม คือ “โครงการพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพกายและใจของผู้เรียนผ่านกิจกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผัก ผลไม้ และสมุนไพรในท้องถิ่น” ชื่อหน่วยการเรียนรู้ “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผัก ผลไม้ในท้องถิ่น” ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรมและวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการที่สำคัญ คือ
- STEAM DESIGN PROCESS คือ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เริ่มต้นจากปัญหา นำไปสู่การแก้ไขปัญหา ผ่านการคิด ค้นคว้าหาคำตอบ หลังจากนั้นจึงวางแผน อย่างละเอียด มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความคิด ลงมือปฏิบัติ ทดสอบและปรับปรุงแก้ไข
- ACTIVE LEARNING คือกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการสร้างสรรค์ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้มากกว่าเนื้อหาวิชา เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
หลังจากโรงเรียนได้ใช้นวัตกรรม มีผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรมที่สามารถสรุปได้ดังนี้
- โรงเรียนสามารถใช้องค์ประกอบ 9 ด้านเพื่อการปฏิรูปโรงเรียน และ 6 มาตรการเพื่อการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เป็นฐานเพื่อการพัฒนานวัตกรรมผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในโรงเรียนได้
- ครูได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดทำนวัตกรรม และสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้อย่างเป็นระบบ
- เกิดเครือข่ายเผยแพร่ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา
บทความใกล้เคียง
Active Teacher ตอน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ขยายขอบเขตการเรียนรู้อย่างไม่จำกัดด้วย Starfish Labz
กิจกรรมฐานสมรรถนะกับห้องเรียนออนไลน์
ยกระดับการเรียนรู้โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา ด้วย 3 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการศึกษา จาก Starfish Education
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...