Starfish Education นำทีมจัด Workshop ให้กับเทศบาลเมืองนางรอง ในโครงการ “โรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพทั้งระบบ” (Whole School Approach)

1 ปีที่แล้ว
1135 views
โดย Starfish Academy
Starfish Education นำทีมจัด Workshop ให้กับเทศบาลเมืองนางรอง ในโครงการ “โรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพทั้งระบบ” (Whole School Approach)

ตามที่ เทศบาลเมืองนางรองได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับมูลนิธิสตาร์ฟิชเอ็ดดูเคชั่น โดยเป็นความร่วมมือตามโครงการ Starfish Future Labz ซึ่งเป็นโครงการที่ต้องการส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและนักเรียนได้พัฒนาศักยภาพผ่านนวัตกรรมการศึกษาจำนวน 3 นวัตกรรม ประกอบด้วย

  1. Starfish Labz ใช้สำหรับการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้สอน  
  2. Starfish Class ใช้สำหรับการประเมินสมรรถนะผู้เรียน   
  3. Starfish Portfolio ใช้สำหรับการพัฒนาเป้าหมายชีวิตให้แก่ผู้เรียน

โดยที่จุดมุ่งหวังสำคัญ เพื่อ ให้บุคลากรทางการศึกษาของเทศบาลเมืองนางรองได้ศึกษาเรียนรู้นวัตกรรม ดังกล่าวข้างต้นอย่างแท้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานการศึกษาและสถานศึกษาได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับ “โรงเรียนพัฒนาตนเองอย่างมีคุณภาพทั้งระบบ” (Whole School Approach) ตามโครงการ Starfish Future Labz ทั้งนี้ ทางเทศบาลเมืองนางรองเล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา จึงได้เข้าร่วม Workshop แบบเข้มข้น เพื่อนำไปใช้จริง ในระหว่างวันที่ 5 - 9 มิถุนายน 2566 ณ โรงเรียนบ้านปลาดาว อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

ซึ่งผู้เข้าร่วม Workshop ได้เรียนรู้ศึกษา เรื่องราว ของการพัฒนาหลักสูตร การบริหารจัดการขับเคลื่อนนวัตกรรม และ เทคโนโลยีเพื่อการปฏิรูปโรงเรียนอย่างยั่งยืนโครงสร้างหลักสูตร, นวัตกรรม 3R “แบบบูรณาการ”, กิจกรรมโครงงาน PBL ด้วยกระบวนการ EDICRA จากโรงเรียนบ้านปลาดาว โดยได้นำแนวคิดโครงสร้างการจัดการเรียนการสอนที่เป็น Active Learning และเสริมทักษะชีวิตสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนของตนเอง

นอกจากนี้ยังได้ทำความรู้จักและเข้าใช้งานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ Starfish Labz เพื่อเรียนรู้และนำไปปรับใช้ขยายผลให้กับคณะครู และนักเรียนเพื่อสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และการนำไปนิเทศครูต่อไปรวมถึงการใช้เครื่องมือ Starfish Class ในการประเมินนักเรียนตามสภาพจริงเป็นรายบุคคล เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความสามารถทักษะและสมรรถนะของนักเรียนรายบุคคลทั้งในด้านที่โดดเด่นและด้านที่ต้องพัฒนาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

พร้อมกันนี้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรม Makerspace ซึ่งผู้เข้าร่วม ได้วิเคราะห์สิ่งที่เรียนรู้ ผ่านการตั้งประเด็นคำถามแลกเปลี่ยนกับวิทยากรอย่างสม่ำเสมอ มีการแลกเปลี่ยนปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในห้องเรียนกับผู้เข้าร่วมด้วยกัน และได้วิธีการหรือเครื่องมือที่พร้อมนำไปปรับใช้ได้ทันที นอกจากนี้ยังได้ร่วมถอดบทเรียนเพื่อการต่อยอดการเรียนรู้ โดยเฉพาะกระบวนการเรียนรู้แบบ STEAM design process ที่เป็นรูปแบบกระบวนการคิดวิเคราะห์ (Design Thinking) ในการพัฒนาผู้เรียน

สุดท้ายนี้ ดร.ณัฐวุฒิ เข็มทิศ หัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษา เทศบาลเมืองนางรอง มีความประทับใจเนื่องจากครั้งนี้มาเป็นครั้งที่ 2 มีความรู้สึกว่าเข้าใจในส่วนของ Makerspace ได้เข้าใจถึงแก่นมากขึ้นและมีความชื่นชอบ ในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน ผ่านกระบวนการ STEAM Design Process ความตั้งใจในครั้งนี้ อยากจะนำความรู้ กลับไปพัฒนาและบูรณาการ เข้ากับกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองนางรอง เพื่อยกระดับการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียนสู่ความยั่งยืนต่อไป

Share:
|

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด