สรุปโครงการ Future School Transformation Program ประจำปี 2567
เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 โครงการ Future School Transformation Program ได้จัดงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2567 ณ เวลา 10.00 - 12.00 น. โดยมีการนำเสนอภาพรวมของโครงการและการดำเนินงานตลอดปีที่ผ่านมา
ซึ่งโครงการ “Future School Transformation Program” ได้รับการสนับสนุนทุนรวมกว่า 7.5 ล้านบาทสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 3 ปี (2567-2569) โดยมุ่งหวังที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาสำหรับเด็กที่ขาดโอกาสในประเทศ
โครงการนี้มีเป้าหมายหลักอยู่ 3 ประการ ได้แก่
1) เพื่อสนับสนุนสื่อการเรียนการสอน 3R ส่งเสริมให้เด็กอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กทุกคนในการต่อยอดการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ
2) เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะในอนาคต (4C : การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) การสื่อสาร (Communication) ผ่านกิจกรรมพื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace และประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือ Starfish Class
3) เพื่อสนับสนุนผู้นำโรงเรียน (School Leaders) ให้มีสมรรถนะในการบริหารจัดการโรงเรียนตามเป้าหมาย มีการพัฒนาวิชาชีพ และการบริหารอย่างยั่งยืนด้วยทักษะอนาคตในด้านต่างๆ เช่น การคิดเชิงนวัตกรรม การแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การส่งเสริมการเรียนรู้สมัยใหม่ และการสร้างชุมชนที่ยั่งยืน จนเกิดเครือข่ายความร่วมมือ และมีเครื่องมือในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบผ่านการสนับสนุนหลักสูตร “Future School Leader”
ภายในงานมีการนำเสนอการสรุปภาพรวม โดย ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร กล่าวถึงความร่วมมือ ผลลัพธ์สำคัญของโครงการ รวมถึงการนำเสนอผลลัพธ์จากโรงเรียน 10 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่:
- โรงเรียนบ้านแม่คะ
- โรงเรียนวัดปรังกาสี
- โรงเรียนบ้านห้วยเกี๋ยง
- โรงเรียนบ้านห้วยเสือ
- โรงเรียนวัดดอนพุดซา
- โรงเรียนบ้านกองม่องทะ
- โรงเรียนบ้านห้วยอื้น
- โรงเรียนศูนย์รวมน้ำใจ
- โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ 9
- โรงเรียนสมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทยอุทิศ
การนำเสนอมีหัวข้อหลัก ได้แก่:
สรุปผลการดำเนินงาน 3R & Makerspace
แผนการดำเนินงานต่อเนื่องในปี 2568
นอกจากนี้ยังมีการสรุปผลภาพรวมของโครงการในปี 2567 จาก ทีม Moral Quotient (MQ)
สรุปการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียน
นวัตกรรม 3R
- โรงเรียนขยายผลนวัตกรรมไปยังระดับปฐมวัย โดยจัดกิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้ภาษาไทย
- นำนวัตกรรมมาใช้ในชั่วโมงภาษาไทยและจัดซ่อมเสริม 1-5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- บูรณาการสื่อบัตรคำ บัตรรูปภาพ และแบบฝึกในทุกชั่วโมงภาษาไทย
- ใช้นวัตกรรมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีการเรียนรู้ช้า เพื่อให้อ่านออกเขียนได้และเรียนทันเพื่อน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนตามระดับพัฒนาการ 3 ระดับ (เร็ว ปานกลาง ช้า) และใช้ผลการประเมินพัฒนาการ 2 ระดับ (ก่อน-หลัง) เพื่อเปรียบเทียบและส่งต่อข้อมูลให้ครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
Makerspace
- จัดรูปแบบการสอนแบบบูรณาการหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ LEARNING BOX, กิจกรรมเสริมหลักสูตร, บูรณาการรายวิชา, มุมกิจกรรมทดลองบ้านวิทยาศาสตร์ (อนุบาล 2-3)
- บูรณาการแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ด้วยกระบวนการ STEAM DESIGN PROCESS โดยบูรณาการวิชาศิลปะ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การงานอาชีพ และคณิตศาสตร์
- ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และการสื่อสาร
- จัดกิจกรรม Makerspace 3-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- นำผลการประเมินสมรรถนะ Starfish Class มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะนักเรียน ปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และจัดชั่วโมงสอนที่เหมาะสมในปีที่ 2
งานสรุปโครงการยังรวมถึงการถอดบทเรียน 3R innovations และ Makerspace ของผู้บริหาร ครูแกนนำ และนักเรียน
และช่วงท้าย ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร ได้กล่าวสรุปกิจกรรมและแนวทางการออกแบบแผนการดำเนินงานสำหรับปีถัดไป พร้อมทั้งกรอบการดำเนินงานของโครงการ Future School Transformation Program ในปี 2568 ซึ่งจะมุ่งเน้นการต่อยอดความสำเร็จจากปีที่ผ่านมาและการขยายผลภายในโรงเรียนให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่าง Octava Foundation และ Starfish Education เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนไทย และส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ในอนาคต
ข่าวที่เปิดอ่านมากที่สุด
“ระเบิดไอเดีย! 30 ทีมเยาวชนไทย ผ่านเข้ารอบ Pitching [Future Youth Thailand] เตรียมโชว์นวัตกรรมการเรียนรู้สุดล้ำ เปลี่ยนอนาคตการศึกษาไทย!”
14.03.25
เยาวชนไทยโชว์ไอเดียสุดล้ำ! กระทรวงศึกษาธิการ จับมือ Starfish Education จัด Pitching Season 1 ปั้นนวัตกรรมเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
26.03.25
สรุปโครงการ Future School Transformation Program ประจำปี 2567
04.04.25
Starfish จัดการประชุมประจำปี 2568 มุ่งพัฒนาองค์กรสู่อนาคต
04.04.25