
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของพระสอนศีลธรรมให้มีความสามารถจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างคุณธรรมแก่นักเรียน เนื่องจากการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นยุคของเทคโนโลยีแบบดิจิตอลส่งผลต่อสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ เด็กและเยาวชนสามารถใช้เทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้มากมาย เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย และเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ทำให้เด็กและเยาวชนไม่สามารถเลือกบริโภคข้อมูลด้วยปัญญา ขณะเดียวกันโดยธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนยังเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจากการปฏิบัติและทดลองทำ โดยเฉพาะการทำกิจการงานที่เป็นเรื่องจริงในชีวิต การจัดการเรียนการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียน เป็นอีกเรื่องที่ต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้เท่าทันกับกระแสของความเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก สำนักงานพระสอนศีลธรรม จึงได้ดำเนินการตามแผนแม่บทสำนักงานพระสอนศีลธรรม พ.ศ. 2560-2564 ยุทธศาสตร์ข้อที่ 3 คือ การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของพระสอนศีลธรรมให้เชี่ยวชาญ (Professional) โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการสอนจากรูปแบบที่ “เน้นสอนเนื้อหาสาระ” มาสู่ “การจัดการเรียนรู้” ที่เน้นความเข้าใจสภาวธรรมของข้อธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเกิดจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน เพื่อเข้าถึงสภาวะของข้อธรรมโดยแท้จริง เป็นสร้างนิสัยและความรู้ความเข้าใจในข้อธรรมนั้น ๆ ให้เป็นของตัวเอง
24 บทความ

ทำไม "การเล่น" จึงสำคัญต่อการเรียนรู้


Meaningful Learning” เรียนรู้อย่างไรให้มีความหมาย


"6 สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสมองของวัยรุ่น"


Passion จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างไร?


ความจริงที่ค่อยๆกัดกร่อนสังคม..สู่ชาติให้ผุพัง
