นวัตกรรม : โรงเรียนวัดละมุด และโรงเรียนบ้านม้า
นวัตกรรมโรงเรียน โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) รุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564
การพัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ (CBE)
โรงเรียนวัดละมุด (ร.ส.พ.ราษฏร์บำรุง)
การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study) เป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาวิชาชีพ ครู ที่มุ่งเน้นการทางานศึกษาวิจัยร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในการ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียนในบริบทการทำงานจริงในชั้นเรียน และสถานศึกษาของตนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งโรงเรียนวัดละมุด (ร.ส.พ.ราษฏร์บำรุง) ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนาแต่โรงเรียนมีปัญหาสำคัญก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรม ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ นั่นคือ ผู้เรียน มาเรียนไม่สม่ำเสมอ นักเรียนไม่ทบทวนความรู้ คุณครูไม่ค่อยมีเวลาเพราะมีภาระงานที่มาก ทำให้เวลาในการจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ อีกทั้งสภาพแวดล้อม ความเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) รวมถึงโรงเรียนได้รับเสียงรบกวนจากภายนอก เนื่องจากโรงเรียนอยู่ใกล้แม่น้ำป่าสัก ทำให้ได้รับเสียงรบกวนจากเรือที่มีการคมนาคมตลอดเวลาในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นโรงเรียนจึงได้จัดทำนวัตกรรมคือ การนำต้นแบบนวัตกรรมไปทดลองใช้ ผ่านกระบวนการ Lesson Study โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรมดังนี้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้: โรงเรียนลูกช้าง
ชื่อเรื่อง: รู้จักคำนำเรื่อง (สระเอีย สระอัว)
กิจกรรมการเรียนรู้: กระบวนการ STEAM
- ขั้นที่ 1 การตั้งคำถาม (ASK)
- ขั้นที่ 2 ขั้นจินตนาการ (IMAGINE)
- ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนการทำงาน (PLAN)
- ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือปฏิบัติ (CREATE)
- ขั้นที่ 5 ขั้นคิดสะท้อน และออกแบบใหม่ (REFLECT & REDESIGN)
หลังจากการใช้นวัตกรรม โรงเรียนได้รับผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรมเป็นอย่างดีเยี่ยมคือ
- ผู้เรียนอ่านออกเขียนได้
- ผู้เรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น
- ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียน
- ครูได้ตรวจชิ้นงานนักเรียนเป็นรายบุคคล
- ครูได้ใช้สื่อการเรียนรู้และเทคโนโลยีทันสมัย
- โรงเรียนมีสื่อการเรียนรู้
- โรงเรียนมีบรรยากาศในชั้นเรียนกระตุ้นนักเรียน
โรงเรียนบ้านม้า
STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering, Mathematics โดย STEM คือ ระบบการศึกษาที่เน้นการเข้าถึงศาสตร์ 4 ชนิด คือ
- SCIENCE วิทยาศาสตร์ (S),
- TECHNOLOGY เทคโนโลยี (T),
- ENGINEERING วิศวกรรมศาสตร์ (E)
- MATHEMATICS คณิตศาสตร์ (M)
STEAM คือ การนำเอา Art (A) เข้ามาบูรณาการการเรียนรู้เพิ่มเติมจาก STEM และสร้างเด็กนักเรียน STEM ให้คิดแบบสร้างสรรค์มากขึ้น เป็นสิ่งที่โรงเรียนบ้านม้าต้องการให้ผู้เรียนมีคุณภาพแต่ทางโรงเรียนมีปัญหาก่อนเข้าร่วมโครงการพัฒนานวัตกรรม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวในการจัดการเรียนรู้ นั่นคือ
- ผู้เรียน ขาดอุปกรณ์ในการค้นคว้า เช่น โทรศัพท์มือถือ โน๊ตบุ๊ก อินเทอร์เน็ต
- ครู ภาระงานอื่นค่อนข้างเยอะ มีเวลาไม่ตรงกันในการร่วมกันจัดกิจกรรม
- สภาพแวดล้อม สถานการณ์โควิด – 19 ที่ต้องจัดกิจกรรมตามมาตรการต่าง ๆ
โรงเรียนบ้านม้าจึงได้จัดทำนวัตกรรม กิจกรรม STEM to STEAM บูรณาการวิถีท้องถิ่น “พฤกษาสร้างสรรค์” ชื่อหน่วยการเรียนรู้: Leaves of Love โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับนวัตกรรมและวิธีการจัดการเรียนรู้ของนวัตกรรม STEM to STEAM คือ
- วางแผน (Plan)
- สอบถามความต้องการของผู้เรียน (Ask)
- พัฒนานวัตกรรมผ่าน PLC (Development)
- ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ (Expert Review)
- ปรับปรุงแก้ไข (Improve)
- นำไปใช้จริงกับนักเรียน (Test)
- สะท้อนและรายงานผล (AAR and Report)
หลังจากใช้นวัตกรรม STEM to STEAM บูรณาการวิถีท้องถิ่น “พฤกษาสร้างสรรค์” มีผลลัพธ์จากการใช้นวัตกรรมนั่นคือ การหาค่าขนาดอิทธิพล (Effect Size) เพื่อวัดผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับนักเรียนแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาจากแบบทดสอบความคิดสร้างวรรค์ แบบ ก โดยใช้ภาพและภาษาเป็นสื่อ (Torrance, E. Paul. 1966) โดยวัด ความคิดคล่อง ความคิดละเอียดลออ ความคิดริเริ่ม และความคิดยืดหยุ่น
กิจกรรมที่ 1 การวาดภาพให้สมบูรณ์ (10 นาที)
กิจกรรมที่ 2 การใช้เส้น (10 นาที)
กิจกรรมที่ 3 การตั้งคำถาม (10 นาที)
กิจกรรมที่ 4 ประโยชน์ของสิ่งของ (10 นาที)
ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 31 คน
- มีการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย 105.48 มีค่า SD = 4.95
- มีการทดสอบความคิดสร้างสรรค์หลังเรียน มีค่าเฉลี่ย 119.48 มีค่า SD – 7.08
ค่าเฉลี่ย SD = 6.02
ค่า Effect Size อยู่ที่ 2.33
แสดงให้เห็นว่าค่า ES มากกว่า 0.4 นั่นคือผู้เรียนมีพัฒนาที่ดีขึ้นในการเรียนรู้ แปลว่าเครื่องมือนวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ เป็นนวัตกรรมที่ดี มีประสิทธิภาพนั่นเอง
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...