PLC Happy Hour "รวมพลคนชอบแชร์"
PLC Happy Hour Live Special โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง หัวข้อ “รวมพลคนชอบแชร์”
การพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบนั้น ผู้บริหาร คุณครู นักการศึกษา ผู้ปกครอง หรือ นักเรียน จะต้องร่วมมือกันในเพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ในการเป็นแกนนำในการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนทั้งระบบในการปรับกระบวนการคิด เพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์ตั้งเป้าหมาย แนวทางการประเมินเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งรวมถึงการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโรงเรียนและชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งนี้เพราะการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาย่อมจะช่วยขับเคลื่อน ให้การบริหารจัดการศึกษาดำเนินไปตามความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน ช่วยให้สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากชุมชน ซึ่งส่งผลให้ผู้ปกครองและชุมชนสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา และให้ความร่วมกับสถานศึกษาในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจ การมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่การศึกษาปัญหา การวางแผนดำเนินการ การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา และการประเมินร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนให้กิจกรรมนั้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดหลักการมีส่วนร่วม คือ หลักร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผิดชอบ ของแต่ละภาคส่วน ดังนี้
บทบาทของนักเรียน คุณครูได้ให้นักเรียนเรียนได้ลงมือกระทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ผ่านการทำการทำกิจกรรม การลงมือปฏิบัติจริงในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ ไปจนถึงค้นคว้าในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือถนัดด้วยตนเอง เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจและมีความสุขในการเรียนโดยใช้กระบวนการของกระบวนการ STEAM Design Process เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ผ่านการทำ คือขั้นที่ 1 การตั้งคำถาม (ASK) ขั้นที่ 2 ขั้นจินตนาการ (IMAGINE) ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนการทำงาน (PLAN) ขั้นที่ 4 ขั้นลงมือปฏิบัติ (CREATE และขั้นที่ 5 ขั้นคิดสะท้อน และออกแบบใหม่ (REFLECT & REDESIGN)
บทบาทของผู้ปกครอง โรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนพัฒนาเด็ก ร่วมกับทางโรงเรียน เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ การให้ข้อเสนอแนะในการจัดการศึกษาในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน โรงเรียนมีกิจกรรมให้ความรู้พ่อแม่ ผู้ปกครอง นักเรียน ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในทุกกิจกรรม โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีส่วนร่วมในการประเมินผลนักเรียน ติดต่อให้ข้อเสนอแนะข้อมูลต่างๆอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมวันสำคัญต่างๆที่โรงเรียนได้จัดขึ้น เช่น กิจกรรมการทำบุญรตักบาตร กิจกรรมวันแม่ กิจกรรมวันสำคัญต่างๆของโรงเรียน เป็นต้น
บทบาทของชุมชน ความร่วมมือระหว่างชุมชนและโรงเรียน ในบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการเข้ามาพัฒนาโรงเรียน สนับสนุน อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาโรงเรียน เช่น การให้ทุนการศึกษา การจัดการเรื่องอาหารกลางวัน การพัฒนาอาคารสถานที่ เนื่องจากงบประมาณในการพัฒนาโรงเรียนอาจจะยังไม่เพียงพอ คณะกรรมการสถานศึกษา โดยผู้นำคือผู้ใหญ่บ้านจะได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน ซึ่งบทบาทของผู้นำชุมชนมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนอย่างครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการเรียนรู้ การปฏิบัติตน และการประสบความสำเร็จในชีวิต ยิ่งไปกว่านั้น บทบาทของชุมชนในการให้ความร่วมมือกับโรงเรียน มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาโรงเรียนและนักเรียนอย่างยั่งยืน
บทบาทของคุณครู ในการเรียนการสอนคุณครูจะมีบทบาทในการเป็นเป็นผู้นำโดยกำหนดประเด็นปัญหาให้นักเรียนหาวัสดุอุปกรณ์ และวิธีการให้นักเรียนดำเนินการตามที่ครูวางแผนและออกแบบไว้ คุณครูจะลดบทบาทตนเองลง ทำให้นักเรียนมีบทบาทมากขึ้น หรือแม้แต่ให้คุณครูเป็นเพียงผู้คอยช่วยเหลือและสนับสนุนโดยให้อิสระในทุกๆ ด้านกับนักเรียน ให้นักเรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากขึ้น ได้มีการวางแผน ออกแบบได้ด้วยตัวเอง เมื่อผลงานของนักเรียนออกมาก็จะได้รู้บทบาทและหน้าที่ของตนเอง และความสำเร็จของกิจกรรมที่ตนเองได้ทำเสร็จแล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันนั้น จะช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียน มีทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่21 ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง
บทบาทของผู้บริหาร ในฐานะผู้อำนวยการโรงเรียน มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกในทุกด้านของโรงเรียนให้เกิดความสำเร็จ มีความราบรื่น มีประสิทธิภาพเพื่อไปสู่เป้าหมาย ที่สำคัญจะต้องหาวิธีการพัฒนาคุณครูให้มีการพัฒนาตนเอง ให้มีองค์ความรู้ใหม่ๆในการมาสอนนักเรียน ในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณครู เช่น เชิญผู้มีความรู้มาให้ความรู้ให้กับคุณครู หรือพาคุณครูไปศึกษาดูงานโรงเรียนต่างๆเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับคุณครู เพื่อนำความรู้มาพัฒนานักเรียน โดยการใช้กระบวนการ STEAM Design Process เป็นเครื่องมือในการพัฒนา วางแผน จัดการเรียนการสอน โดยผู้บริหารจะต้องเตรียมสถานที่ หรือจัดซื้อ จัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆให้เพียงพอในการอำนวยความสะดวกให้กับคุณครู เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการ STEAM Design Process ให้เกิดความสำเร็จนั่นเอง เพราะสิ่งสำคัญที่สุดจะต้อง
1. ยึดหลักการมีส่วนร่วม
2.จะยึดการทำงานเป็นทีม
3. ยึดหลักมาตรฐานการประกันคุณภาพสถานศึกษาเป็นหลัก
4.จะดำเนินการเพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
เห็นได้ว่าการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ในการพัฒนาโรงเรียนล้วนมีความสำคัญ และมีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน และนักเรียนเพื่อการประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้น การพัฒนาโรงเรียนจึงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ความสำคัญและตระหนักในเรื่องของการช่วยเหลือครูผู้สอน ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเอง ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.StarfishLabz.com
ผอ.ยงยุทธ์ วงค์ชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสันกลางเหนือ
ครูรำพึง งามตา ครูโรงเรียนวัดขี้เหล็ก
คุณเกษรินทร์ เป็งจันทร์ ผู้ปกครองนักเรียนบ้านปลาดาว
นางสาวหอม ลายใส นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่คะ
คุณพัทรพล เขียวอัศวะ ผู้ใหญ่บ้านโรงเรียนวัดบ้านม้า
ครูลลิตา ภักดีวานิช ครูโรงเรียนวัดบ้านม้า
Related Courses
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญห ...
Environmental Education (EE)
The goal of the course is to explain to educators what environmental education is, what its goal ...