13 วิธี ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนท้ายคาบ

Starfish Academy
Starfish Academy 5757 views • 2 ปีที่แล้ว
13 วิธี ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนท้ายคาบ

ใน 1 คาบเรียน นอกจากคุณครูจะสอนเนื้อหาแล้ว สิ่งสำคัญมากๆ ในบทบาทหน้าที่ของครูก็คือ ‘ตรวจสอบความเข้าใจ’ ของนักเรียนในเรื่องที่สอน เพื่อจะได้ทราบว่า นักเรียน ‘เข้าใจ’ หรือ ‘ลืม’ สิ่งที่เรียนไปหรือไม่ และจะได้หาวิธีในการช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนไม่ทัน หรือไม่เข้าใจได้อย่างเหมาะสม 

Starfish ชวนอ่าน 13 วิธี ตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนท้ายคาบ ที่คุณครูสามารถนำไปปรับใช้ในห้องเรียนได้เลย 

1. ใช้เทคโนโลยี เช่น Quizlet, Kahoot, Google form เข้ามาช่วยในการตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนได้อย่างรวดเร็วขึ้น คุณครูอาจจะตั้งคำถามไว้ก่อนแล้ว หลังจากนั้นก็ให้เข้าไปตอบคำถามเมื่อเรียนเสร็จ 

2. ถามคำถามปลายเปิด ให้อธิบายความคิดของตนเอง เช่น ‘ช่วยอธิบายเพิ่มหน่อยว่าเข้าใจว่าอย่างไร’ 

3. ใช้ท่าทางในการเช็กความเข้าใจ เช่น ถ้าใครตอบ ‘ใช่’ ให้พยักหน้า ถ้า ‘ไม่ใช่’ ให้ยืนกระต่ายขาเดียว วิธีการนี้เป็นวิธีการที่สนุกมากทีเดียว สำหรับการเตรวจสอบความเข้าใจนักเรียนแบบรวดเร็ว 

4. ใช้การ์ดแสดงสีหน้าที่ไล่ระดับความเข้าใจ เช่น ในการ์ดจะประกอบด้วยสีหน้าเศร้า ดีใจ ตื่นเต้น หรือกลัว คุณครูสามารถเลือกสีหน้า (Emoji) ต่างๆ และให้คำนิยามในแต่ละสีหน้าเหล่านั้น เพื่อให้นักเรียนเลือกที่ตรงกับความเข้าใจของตัวเอง

5. ใช้ Exit Ticket ตรวจเช็กความเข้าใจก่อนออกจากห้อง ซึ่งคำถามใน Exit Ticket จะเป็นคำถามเพื่อทบทวนบทเรียน เช่น 5 สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในวันนี้ / 3 สิ่งที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ / 2 สิ่งที่อยากจะเรียนรู้เพิ่มเติม เป็นต้น

6. ใช้ Flash Whiteboard หรือ Mini-whiteboard ที่นักเรียนเขียนคำตอบของตัวเองได้ โดยคุณครูอาจจะตั้งคำถามท้ายคาบ 1-3 คำถามที่ให้นักเรียนได้ทบทวนด้วยตัวเอง

7. เขียนให้เร็ว เขียนให้ไว เป็นวิธีที่คุณครูถามคำถาม แล้วให้นักเรียนเขียนสิ่งที่เข้าใจออกมาให้เร็วที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงถึงความสวยงาม และแลกเปลี่ยนสิ่งที่เขียนกับเพื่อน 

8. แปะชื่อที่สัญญาณไฟ สัญญาณไฟที่มี 3 ระดับ คือ เขียว เหลือง แดง ในตอนท้ายคาบ คุณครูอาจให้นักเรียนเขียนชื่อตัวเองบน Post- it แล้วคิดทบทวนกับตัวเองว่า ระดับความเข้าใจของนักเรียนเป็นสีอะไรตามสัญญาณไฟ แล้วนำชื่อของตัวเองไปแปะที่สัญญาณไฟ หลังจากนั้น คุณครูก็จะสามารถแยกนักเรียนออกเป็นกลุ่มได้ เพื่อวางแผนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่มต่อไป 

9. ใช้การ์ด Yes/No เพื่อเช็กความเข้าใจนักเรียน ถ้าหากนักเรียนตอบใช่ / ไม่ใช่ คุณครูควรขอให้นักเรียนอธิบายเพิ่มเติมด้วย 

10. ใช้การ์ดประเมินตัวเอง คุณครูออกแบบการ์ดที่ให้นักเรียนใช้ประเมินตัวเอง ซึ่งในการ์ดอาจจะมีคำถาม 3 ระดับเพื่อเช็กความเข้าใจ เช่น ระดับ 1 “ไม่เข้าใจเลย ต้องการความช่วยเหลือ” ระดับ 2 “เริ่มเข้าใจแล้ว ต้องฝึกอีกสักนิด” ระดับ 3 “เข้าใจสุดๆ สามารถสอนเพื่อนต่อได้” เพื่อนำมาวางแผนในการสอนต่อไป 

11. กิจกรรม 4 มุม คุณครูให้นักเรียนเคลื่อนไหวร่างกายของตัวเองไปยังมุมทั้ง 4 มุม ต่อคำถามหนึ่งข้อที่ครูถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ซึ่งแต่ละมุมอาจจะแบ่งออกเป็น มุม 1 “ เห็นด้วยสุดๆ ไปเลย” มุม 2 “เห็นด้วยในบางอย่าง” มุม 3 “ไม่เห็นด้วย” มุม 4 “ไม่แน่ใจเลย” ที่นี้คุณครูก็จะเห็นแล้วว่า แนวโน้มความเข้าใจส่วนใหญ่ของห้อง อยู่ที่ระดับไหน 

12. หลอกล่อด้วยเนื้อหาที่ผิด วิธีการนี้คุณครูจะต้องนำเอาเนื้อหาที่นักเรียนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับบทเรียนนั้นๆ หรือจะคาดเดาล่วงหน้าก็ได้ว่า นักเรียนจะเข้าใจเรื่องใดผิด และหลังจากนั้นก็นำมาพูดคุย ตั้งคำถามกับนักเรียนว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร และให้นักเรียนตอบเหตุผล ซึ่งคุณครูจะเห็นได้เลยว่า ถ้านักเรียนที่ไม่เข้าใจเนื้อหาจริงๆ จะถูกหลอกได้ง่ายด้วยวิธีการนี้ ดังนั้น วิธีการนี้จะช่วยให้คุณครูแบ่งกลุ่มเด็กที่เข้าใจจริงๆ และไม่เข้าใจได้อย่างชัดเจน

13. เพื่อนถามเพื่อน คุณครูลองให้นักเรียนเลือกเพื่อน 1 คน หรือให้จับคู่กัน ถ้าหากเพื่อนสามารถสอนเพื่อนได้ ก็แสดงว่านักเรียนคนนั้นมีความเข้าใจในเนื้อหา และอาจจะเป็นตัวช่วยคุณครูในการสอนเพื่อนคนอื่นๆ ต่อไปได้

หวังว่า 13 วิธีนี้จะช่วยให้คุณครูรู้จักนักเรียนมากยิ่งขึ้น และสามารถจัดกิจกรรมการสอนที่ตอบโจทย์นักเรียนรายบุคคลได้อย่างแท้จริง 

แปลและเรียบเรียง

Mulvahill. (2021). 20 Creative Ways to Check for Understanding. bit.ly/3SiNPxF

Briggs. (2017). 21 Ways to Check for Student Understanding. bit.ly/3oN2ZxF

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish Academy

Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
Starfish Academy

Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
EdTech
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

เรียนรู้ 3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ที่นำไปใช้ได้จริงสำหรับการสร้างสื่อการสอน สะดวกต่อการใช้งาน มีประโยชน์สำหรับห้องเรียน ช่วยให้นัก ...

Starfish Future Labz
Starfish Future Labz
3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน
Starfish Future Labz

3 แอปพลิเคชันง่ายๆ ตัวช่วยทำสื่อการสอน

Starfish Future Labz
1577 ผู้เรียน

Related Videos

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
06:40
Starfish Academy

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน

Starfish Academy
511 views • 2 ปีที่แล้ว
ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ บนสมาร์ทโฟน
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
04:12
Starfish Academy

3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว

Starfish Academy
474 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ขั้นตอนอ่านออก เขียนได้ สไตล์ปลาดาว
สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning
02:08
Starfish Academy

สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning

Starfish Academy
18199 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนคณิตให้เป็นเรื่องสนุกด้วย การสอนแบบ active learning
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7753 views • 3 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”