สอนอย่างไรให้ (ครู) Active
ก่อนที่ครูจะสอนเด็กๆ ให้เกิดการเรียนรู้ที่ Active มากขึ้น ครูจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่ Active และน่าสนใจ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งกิจกรรม Workshop ในครั้งนี้ ภายใต้หัวข้อ “สอนอย่างไรให้ (ครู) Active” จะเป็นแนวทางในการช่วยครูให้สอนได้อย่าง Active ด้วยเทคนิคที่หลากหลายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของเด็กให้เพิ่มมากขึ้น
สำหรับเป้าหมายในกิจกรรมครั้งนี้ คือ การทำความเข้าใจ Active Teacher คืออะไร การปรับบุคลิก เปลี่ยน Mindset ให้ชีวิต (ครู) Active ทั้งหน้ากล้องและหน้าชั้นเรียน การปรับอุปกรณ์ ฉากเพื่อการสอนออนไลน์ที่ดีขึ้น การกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา : เทคนิคการใช้ iPad ร่วมกับ Mac เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์ผ่าน Zoom การ Update การใช้ Application พื้นฐานที่เป็นปัจจุบันใน Feature ที่ลึกขึ้น เพื่อการจัดการเรียนรู้ทั้งออนไลน์และออนไซต์สำหรับครูที่ Active และการสร้างอวตารแบบใหม่ๆ ด้วย LoomAi
Active Teaching เกิดจากครูที่มีความเข้าใจ ในทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs) ซึ่งเป็นแนวคิดที่นักจิตวิทยาเสนอว่า มนุษย์จะถูกกระตุ้นให้เติมเต็มความต้องการขั้นพื้นฐานในลำดับต้น ก่อนที่จะมีการพัฒนาความต้องการนี้ออกไปจากด้านล่างสู่ด้านบน แบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ กายภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง ความรักหรือการเป็นเจ้าของ ความเคารพ และการบรรลุความหมายหรือความสมบูรณ์ของชีวิต และจากกิจกรรมในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่า การบรรลุความหมายหรือความสมบูรณ์ของชีวิตในการเป็นครูนั้น ก็คือการเป็นครูที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ โดยเริ่มจากการจัด ปรับอุปกรณ์ ฉาก การตั้งค่ากล้อง การแชร์สไลด์ให้เหมาะสม เพื่อการสอนออนไลน์ที่ดีขึ้น และการปรับบุคลิก เปลี่ยน Mindset ให้ชีวิต (ครู) Active ทั้งหน้ากล้องและหน้าชั้นเรียน โดยมีแนวคิดดังนี้
- ครูไม่ต้องรู้ทุกเรื่อง ครูที่บอกว่ารู้ทุกเรื่อง “อันตราย”
- แต่ครูต้องรู้ใน “วิชาที่ตนสอน” พร้อมปรับเปลี่ยนเรียนรู้ไปกับศิษย์
- ฝึกหายใจเข้าทางจมูก หายใจออกทางปาก (พูด) เท่านั้น
- เสียงสำคัญกว่าภาพเชื่อมคำพูด “ควบคุมเวลา” ปานกลางค่อนข้างเร็วอย่าช้า มีเวลาให้พูดซ้ำและทบทวน
- การใช้เสียงของครู ความเร็วในการพูด เว้นช่วงเพื่อสร้างความตื่นเต้น น้ำเสียงชัดถ้อยชัดคำ เสียงดังค่อยและสูงต่ำ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของศิษย์
- ใช้เทคนิค สบตา อย่านึก คิดลึก อย่าอ้า (การอุทานเวลาที่กำลังใช้ความคิด) ควบคุม เวลา อย่าช้า วัยรุ่นเซ็ง
ซึ่งในการกระตุ้นการมีส่วนร่วมในการเรียนออนไลน์ ครูไม่จำเป็นต้องยึดติด App ใดเป็นพิเศษ ครูสามารถใช้ App ได้อย่างหลากหลาย จากการจัดกลุ่ม App เช่น การใช้ Ipad มี App AR VR Metaverse การค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง Kahoot Hologo Classdojo ฯลฯ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับการเรียนรู้ ทั้งนี้ ครูต้องรู้ก่อนว่า Learning Outcome ของApp เหล่านี้คืออะไร ในทางกลับกันยังมี App ในกลุ่มที่หลากหลาย เช่น กลุ่ม Creativity and Productivity กลุ่ม Workflow and Cloud Storage และกลุ่ม Collaboration ครูสามารถเลือกใช้ฟรีและเหมาะกับครูได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์
สำหรับเทคนิคการใช้ iPad ร่วมกับ Mac เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนออนไลน์ผ่าน Zoom ซึ่งปัจจุบันสามารถใช้ Zoom เพื่อการศึกษาในลักษณะของ Synchronous ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องหลักๆ สำคัญ 5 ส่วน คือ Teaching and Learning, Virtual Classes, Student Engagement, Professional Development และCommunity Engagement ทั้งนี้ ครูสามารถใช้ Zoom สำหรับการสอนในรูปแบบ Synchronous Online Courses ได้ ซึ่งมีเทคนิคการใช้ iPad ร่วมกับ Zoom ดังนี้
1) การใช้ Raise hand (ยกมือ) และการเปิด All emoji จะทำให้ครูได้มี Feature ที่หลากหลาย เช่น ปุ่ม Yes No Slower หรือ Faster ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถบอกครูผู้สอนได้จากการกดปุ่ม อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นผู้เรียนได้ โดยการ Set up ใน www.zoom.us เลือก “Setting” เลือก “Meeting reactions” คลิก “All emojis”
2) การปิดไมค์ ปิดเสียง โดยการเลือก “ON” ที่ “Mute all participants when they join a meeting”
3) การใช้ iPad กับโปรแกรม Zoom ที่สามารถใช้ได้กับ Apple Pencil / Keyboard โดยการใช้ผ่าน App Notability ซึ่งมีวิธีการใช้ที่หลากหลายและมีข้อดี คือ
- 3.1) สามารถขยายรูปภาพที่อยู่ใน File .pdf ให้นักเรียนดูในแต่ละส่วนของภาพด้วยความรวดเร็ว
- 3.2) สามารถอธิบายกระบวนการต่างๆ โดยการวาดหรือเขียนทับลงบนเอกสารFile .pdf
- 3.3) สามารถ Highlight ได้หลากหลายสี และลบออกด้วยความรวดเร็วเมื่อใช้ Apple Pencil
- 3.4) สามารถข้ามไปยังหน้าที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วโดยแตะ Slide หน้าที่ต้องการไปใน All pages
- 3.5) สามารถแทรกภาพที่ถ่ายจาก iPad เข้าสู่ File .pdf ที่เปิดบน App Notability ได้ทันที
4) การใช้ Feature การเคลื่อนย้ายมหัศจรรย์ สิ่งนี้จะช่วยให้ครูสามารถ Active การสอนได้มากขึ้น ทั้งนี้ แนะนำให้ครูสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ Apple Teacher หรือ Apple Learning Center ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้การสอนแบบ Active ได้อย่างหลากหลายมากขึ้น
สำหรับการ Update การใช้ Application พื้นฐานที่เป็นปัจจุบันใน Feature ที่ลึกขึ้น เพื่อการจัดการเรียนรู้ทั้งออนไลน์และออนไซต์สำหรับครูที่ Active เช่น
- 1) App Kahoot
- 2) App Padlet ซึ่งสามารถใช้ได้ฟรี 3 Padlet ทั้งนี้มี Feature ปกติ ทั้ง Map Canvas และ Timeline
- 3) การใช้ Quizizz มีโหมด Lesson, Drawing, Audio response และ Video response ในการทำรูปแบบบทเรียนออนไลน์ และการสร้าง Quiz และเด็กสามารถตอบกลับในรูปแบบของวิดีโอได้อีกด้วย
- 4) Wordwall สามารถเข้าใช้งานผ่าน wordwall.net/th ได้ 5 รูปแบบฟรี เช่น Randomwheel, Open the box เป็นต้น
- 5) Spatial.io สามารถพิมพ์ Sticky Note ได้
- 6) การใช้ Clips สามารถสร้างรูปแบบอวตารจาก Emoji ได้ และการสร้างอวตารแบบใหม่ๆ ด้วย LoomAi โดยการเข้าเว็บไซต์ loomai.com/loomielive หรือโหลด App LoomAi Avatar Creator ทั้งนี้ สามารถทำเป็นสติกเกอร์ไลน์ หรือรูปถ่ายภาพนิ่งได้
อย่างไรก็ตาม ชีวิตของเราต้อง Active และในครั้งนี้ การ Active จริงๆ อยู่ที่ครู ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ ถือได้ว่าครบถ้วนทั้งเทคนิคและวิธีการ ครูได้เรียนรู้และเข้าใจถึง Active Teaching มากขึ้น รวมไปถึงเครื่องมือในการสร้างอวตารให้ครูสามารถนำกลับไปใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น เพื่อให้เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ และเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
ผศ.ดร.รัฐสภา แก่นแก้ว
ผู้ช่วยผอ. ศูนย์มีเดีย ด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทความใกล้เคียง
Active Teacher ตอน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ เมื่อครูเปิดโอกาสให้เด็กเป็น Active Learner
Active Teacher ตอน ไม่หยุดเรียนรู้ เพื่อก้าวข้ามความท้าทาย
Active Teacher ตอน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ขยายขอบเขตการเรียนรู้อย่างไม่จำกัดด้วย Starfish Labz
Related Courses
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
Micro Learning - เครื่องมือประเมินผู้เรียน
เครื่องมือครูในการประเมินผู้เรียนประกอบไปด้วย แอปพลิเคชัน 4 แอปพลิเคชัน คือ Kahoot Plicker , Quizzes , และ Cla ...
5 กระดานบอร์ดออนไลน์ช่วยสร้างห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
เรียนรู้เทคนิคการนำ 5 กระดานบอร์ดออนไลน์ Idroo, Miro, Classroomscreen, Whiteboard.fi และ HeyHi Whiteboa ...