5 เครื่องมือครูยุคดิจิทัล สร้างห้องเรียนแบบไฮบริด ผสานการเรียนรู้ออนไลน์ ภายในห้องเรียน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบัน การเรียนในห้องเรียนได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว และหนึ่งในองค์ประกอบใหม่สำคัญที่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างยิ่งก็คือ เทคโนโลยีหรือเครื่องมือครูทางดิจิทัลต่าง ๆ ที่ได้ทำให้ห้องเรียนกลายเป็นแบบ Hybrid การเรียนการสอนถูกผสมผสานอยู่ระหว่างการเรียนภายในห้องเรียนจริง ๆ และการทำกิจกรรมทางการเรียนต่าง ๆ เช่น การส่งการบ้าน, การแชร์ไฟล์ หรือการแบ่งปันความรู้เพิ่มเติมต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ทางดิจิทัลเข้าด้วยกัน
รูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปนี้ แน่นอนว่าหมายถึงความต้องการของสถาบัน คุณครู นักเรียน และตลอดจนผู้ปกครองเองในการสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี อุปกรณ์ หรือเครื่องมือครูใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ โดยเฉพาะเครื่องมือประเภท Virtual Classrom หรือ ห้องเรียนออนไลน์เสมือนจริง ที่ถือว่ามีลักษณะบูรณาการและมักครอบคลุมทุก ๆ ฟีเจอร์สำหรับการเรียน-การสอนแบบ Online มากที่สุดในทุก ๆ บรรดาเครื่องมือครู
แต่ในบรรดาเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มห้องเรียนออนไลน์มากมายในโลกใบนี้ จะมีแพลตฟอร์มใดกันบ้างที่น่าสนใจ สามารถตอบโจทย์คุณครูยุคใหม่ และช่วยเชื่อมเด็ก ๆ ให้รู้สึกใกล้กันยิ่งกว่าเดิม วันนี้ Starfish Labz คัดมาให้แล้วกับ 5 เครื่องมือห้องเรียนดิจิทัล สำหรับคุณครูยุคใหม่
จะมีเครื่องมือใดน่าใช้ น่านำมาเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ๆ และการสอนของเรากันบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
Starfish Labz แนะนำ 5 เครื่องมือครูยุคใหม่ สร้างห้องเรียนแบบไฮบริด ผสานการเรียนรู้ออนไลน์ แม้ตัวกับใจจะอยู่ในห้องเรียน
1. Microsoft Team
มาถึงจุดนี้ Starfish Labz เชื่อว่าคุณครูหลาย ๆ คนก็คงจะพอรู้จักหรืออย่างน้อยที่สุดก็เคยได้ยินชื่อของ Microsoft Teams หรือแพลตฟอร์มห้องเรียน Online จากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อดังอย่าง Microsoft กันแล้ว แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคยรู้จักหรือเคยใช้งาน Microsoft Teams มาก่อนเลยล่ะก็ Starfish Labz ขอแนะนำว่าต้องลองเลยทีเดียวค่ะ
จุดเด่นของ Microsoft Teams คือความสามารถในการจำลองห้องเรียน หรือ Classroom แบบออนไลน์ขึ้นมาได้อย่างเต็มรูปแบบ ภายในแพลตฟอร์มมีสุดยอดฟีเจอร์ เช่น การประชุมวิดีโอคอลหรือการเรียนการสอนกันแบบเห็นหน้า, ฟีเจอร์การสั่งการบ้าน-ส่งงาน, การให้คะแนน, การแชร์ไฟล์เอกสารเนื้อหาให้เด็ก ๆ และรวมถึงกระดานไวท์บอร์ดออนไลน์ที่คุณครูสามารถเขียนสิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนเวลาสอนในห้องเรียนจริง ๆ เลยทีเดียวค่ะ
ค่าใช้จ่าย: มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและโทรศัพท์
ภาษาที่รับรอง: อังกฤษ, ไทย
คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและทดลองใช้งาน Microsoft Team
2. Starfish Class
แม้ Microsoft Teams จะถือว่ารวมทุกฟีเจอร์สำคัญ ๆ ในการเรียนการสอนเอาไว้ด้วยกันเกือบหมดแล้ว แต่หนึ่งในสิ่งที่อาจกล่าวได้ว่ายังคงขาดอยู่ในแพลตฟอร์ม เช่น Microsoft Teams ก็คือ ความสามารถในการเป็นเครื่องมือประเมินทักษะและสมรรถนะของเด็ก ๆ ซึ่งได้กลายเป็นอีกหนึ่งในภารกิจของคุณครูในยุคปัจจุบันที่มีความสำคัญขึ้นมาอย่างปฏิเสธไม่ได้แล้ว โดยเฉพาะในหลาย ๆ สถาบันหรือโรงเรียนต่าง ๆ ที่เริ่มมีการปรับใช้หลักสูตรฐานสมรรรถนะ (Competency-Based Curriculum) และตลอดจนการหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะหรือสมรรถนะอื่น ๆ นอกเหนือจากเพียงแค่เนื้อหาในด้านวิชาการให้กับเด็ก ๆ
โดยนอกเหนือจากความสามารถ ในการช่วยคุณครูประเมินสมรรถนะของเด็ก ๆ อย่างเป็นระบบ ยังสามารถสร้างและกำหนดสมรรถนะที่ต้องการประเมิน ขึ้นมาได้มากมาย และยังมีกราฟิกแสดงผลการประเมินออกมา ช่วยให้คุณครูมองเห็นภาพทิศทางการพัฒนาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกจุดเด่นสำคัญหนึ่งของ Starfish Class ก็คือการถูกออกแบบมาให้เป็นเสมือนห้องเรียนย่อม ๆ บนพื้นที่ออนไลน์ห้องหนึ่งนเสริมจากในพื้นที่ On-Site ตัวแพลตฟอร์มไม่ได้เน้นการเป็น Virtual Classroom ในแบบ Microsoft Teams แต่เน้นการเป็นเสมือนอีกหนึ่ง Virtual Classroom ย่อม ๆ สำหรับการใช้งานควบคู่ไปกับห้องเรียนหลัก ไม่ว่าจะในทั้ง Online หรือ On-Site เป็นหลัก จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเรียนการสอนแบบ Hybrid และตลอดจนแบบ Online
เมื่อสิ้นสุดการประเมินในเทอมหรือช่วงเวลาหนึ่ง ๆ แล้วคุณครูยังสามารถกดสร้างรายงานสมรรถนะของเด็ก ๆ ในรูปแบบ Digital Portfolio ออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำมาใช้เป็นสื่อหรือตัวกลางหลักในการอธิบายให้เด็ก ๆ และผู้ปกครองเข้าใจและมองเห็นถึงทิศทางสมรรถนะหรือความถนัดของเด็ก ๆ ตลอดจนแนวทางการปรับในจุดที่ยังอาจอ่อนและส่งเสริมในจุดที่เด่นของพวกเขาต่อไป
ค่าใช้จ่าย: ฟรีทุกฟีเจอร์และตลอดการใช้งาน
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและโทรศัพท์
ภาษาที่รับรอง: อังกฤษ, ไทย
คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและทดลองใช้งาน Starfish Class
3. Google Classroom
อีกหนึ่ง Online Classroom คล้ายคลึงกับ Microsoft Teams ที่ถูกพัฒนาโดย Google จุดเด่นของ Google Classroom แน่นอนว่าคือ UX/UI ที่เรียบร้อยสะอาดตา ใช้งานง่ายตามสไตล์ Google ภายในแพลตฟอร์ม มีฟีเจอร์หลัก ๆ คล้ายคลึง Microsoft Teams แทบทุกอย่าง ยกเว้นเพียงแค่ในกรณีของการประชุมวิดีโอคอล Google Classroom ไม่ได้มีฟีเจอร์ดังกล่าวอยู่ในตัว แต่จะใช้คู่กับอีกหนึ่งเครื่องมือของ Google นั่นก็คือ Google Meet
ค่าใช้จ่าย: มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและโทรศัพท์
ภาษาที่รับรอง: อังกฤษ, ไทย
คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและทดลองใช้งาน Google Classroom
4. Edulastic
สำหรับคุณครูที่ต้องการมองเห็นภาพทิศทางการสอน การพัฒนา และความก้าวหน้าของเด็ก ๆ อย่างแบบ Insights หรือในแบบที่สามารถนำไปวิเคราะห์และพัฒนาได้กันอย่างเต็มรูปแบบ อีกหนึ่ง Online Classroom ที่ไม่อยากให้พลาดเลยนั่นก็คือ Edulastic หรือ เครื่องมือครู ในการช่วยสร้างห้องเรียนและติดตามประเมินผลคะแนนสอบ ทักษะ สมรรถนะและตลอดจนการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ของเด็ก ๆ นั่นเองค่ะ
จุดเด่นของ Edulastic แน่นอนว่าคือความสามารถในการประมวลผลข้อมูลในเชิงลึกและหลากหลาย ข้อมูลถูกแสดงออกมาทั้งในรูปแบบกราฟิก ช่วยให้คุณครูมองเห็นและเข้าใจทิศทางของข้อมูลได้อย่างสุดคูลและแสนง่าย Edulastic จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับ Starfish Classs มากกว่า นั่นคือไม่มีฟีเจอร์การประชุมวิดีโอคอลแบบ Microsoft Teams หรือ Google Classroom แต่จะเน้นไปที่การบันทึกผลการเรียน การติดตามการส่งงาน และการวิเคราะห์บรรดาผลการติดตามต่าง ๆ ออกมาเป็นรายงานที่คุณครูสามารถนำไปใช้ต่อยอดและพัฒนาได้อย่างดี
ค่าใช้จ่าย: มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้ทั้งบนเดสก์ท็อปและโทรศัพท์
ภาษาที่รับรอง: ในปัจจุบัน ยังคงรับรองเฉพาะเพียงแค่ภาษาอังกฤษ *
คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและทดลองใช้งาน Microsoft Team
5. MoodleCloud
ปิดท้ายลิสต์กันด้วย MoodleCloud สถาบันการศึกษาหรือคุณครูผู้สอนหลาย ๆ คนอาจจะรู้จัก Moodle กันเพียงแค่ในฐานะระบบการจัดการการเรียนรู้ในสไตล์ “เว็บไซต์” เฉพาะเพียงสำหรับโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ในปัจจุบัน Moodle ยังมี MoodleCloud ระบบการเรียนการสอนหรือห้องเรียนออนไลน์สำหรับคุณครูหรือผู้สอนในกลุ่มขนาดเล็กด้วยนะคะ
ใน MoodleCloud สำหรับคุณครูและผู้สอนรายบุคคลนี้ ระบบห้องเรียนยังคงเหมือนเดิมนั่นคือในรูปแบบเว็บไซต์ หรือการเปิดโอกาสให้คุณครูสามารถสร้างเว็บไซต์ย่อม ๆ สำหรับการเป็นแหล่งเชื่อมต่อระหว่างครูและนักเรียน แชร์ไฟล์ และเรียนรู้ทุก ๆ อย่างร่วมกันได้อย่างอิสระ
ภายในระบบของ Moodle ยังมีฟีเจอร์ในการสร้าง Learning Experiences ที่สุดยอดมากมาย ทั้งการบูรณาการ Video Conference เข้ามาแบบใน Microsoft Teams ได้ด้วย ตลอดจนการสร้างหรือปรับให้เว็บไซต์ใช้งานบนมือถือได้ คุณครูผู้สอนท่านใดที่กำลังมองเครื่องมือครู ห้องเรียนออนไลน์ในรูปแบบเว็บไซต์เฉพาะของตัวเองเลยภายใต้ระบบที่เสถียรเชื่อถือได้แน่นอน 100% MoodleCloud จึงอาจเป็นคำตอบที่ถือว่าดีที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ
ค่าใช้จ่าย: สามารถทดลองใช้งานฟรีครั้งแรกได้ 45 วันจากนั้นมีค่าใช้จ่าย
การใช้งาน: สามารถสร้างเว็บไซต์ได้ทั้งในรูปแบบเดสก์ท็อปและโทรศัพท์
ภาษาที่รับรอง: ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
คลิกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและทดลองใช้งาน MoodleCloud
อ้างอิง
Related Courses
Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
Google Sites ช่วยทำเว็บไซต์ได้โดยไม่ต้องรู้วิธีเขียนโค้ด และเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเว็บไซต์โดยไม่ต้องมีความรู้มากในด้าน ...
Google Sites กับการนำมาใช้เพื่อการศึกษาและการประเมินวิทยะฐานะ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกล
การเลือกครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกลมีความสำคัญเพราะเป็นช่องทางที่จะนำความรู้ไปสู่นักเรียน จะมีเครื่องมือไหนบ้างที่เหมาะส ...